Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/72292
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | วาทินี อมรไพศาลเลิศ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2021-02-15T07:37:03Z | - |
dc.date.available | 2021-02-15T07:37:03Z | - |
dc.date.issued | 2563 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/72292 | - |
dc.description.abstract | การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบสมรรถนะที่ประกอบด้วย ความรู้ ทัศนคติ และทักษะ และศึกษาความวิตกกังวลของครูในระดับประถมศึกษาที่มีต่อการจัดการปัญหาพฤติกรรมในชั้นเรียน ประชากรในการศึกษาครั้งนี้ได้แก่ ครูระดับประถมศึกษาในโรงเรียนรัฐบาล ในเขตกรุงเทพมหานคร ขนาดตัวอย่างวิจัยจำนวน 420 คน ใช้การสุ่มแบบหลายขั้นตอน จากนั้นผู้วิจัยส่งแบบสอบถามเกี่ยวกับสมรรถนะและความกังวลของครูไปยังตัวอย่างวิจัย โดยมีตัวอย่างวิจัยตอบกลับทั้งหมด 314 คน (ครูทั่วไป 248 คน ครูการศึกษาพิเศษ 66 คน) คิดเป็นอัตราการตอบกลับ 74.4% วิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานด้วยสถิติเชิงบรรยาย และเปรียบเทียบความแตกต่างของครูจำแนกตามลักษณะโรงเรียนและตำแหน่งงานด้วยสถิติการวิเคราะห์ความแปรปรวนสองทาง (Two way ANOVA) และวิเคราะห์อิทธิผลสมรรถนะของครูในการจัดการปัญหาพฤติกรรมในชั้นเรียนต่อความวิตกกังวลด้วยสถิติการวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุ (Multiple Regression) ผลการวิจัยพบว่าครูทั่วไปและครูการศึกษาพิเศษรับรู้ว่าตนเองมีสมรรถนะด้านความรู้ ด้านทัศนคติและด้านทักษะในการจัดการปัญหาพฤติกรรมของนักเรียนไม่แตกต่างกัน ครูส่วนใหญ่ทั้งครูการศึกษาพิเศษและครูทั่วไปรายงานว่าพวกเขาเลือกใช้เทคนิคการป้องกันปัญหาพฤติกรรมกว่าการเทคนิคการตอบสนองเชิงบวกและลบในการจัดการปัญหาพฤติกรรมในชั้นเรียน นอกจากนี้ในด้านความวิตกกังวล ผลการวิจัยพบว่าทั้งครูการศึกษาพิเศษและครูทั่วไปมีความวิตกกังวลในด้านต่าง ๆ ไม่แตกต่างกัน ครูส่วนใหญ่รายงานว่ารู้สึกว่าตนเองมีความรู้และทักษะไม่เพียงพอในการจัดการปัญหาพฤติกรรม โดยมีความวิตกกังวลด้านความช่วยเหลือสนับสนุนจากผู้อื่น โดยเฉพาะจากผู้ปกครองของนักเรียนมากที่สุด นอกจากนี้พบว่าสมรรถนะของครูส่งผลทางบวกและลบต่อความวิตกกังวลของครูแต่ส่งผลน้อย ผลการวิจัยครั้งนี้สนับสนุนว่าทั้งครูการศึกษาพิเศษและครูทั่วไปยังต้องการการพัฒนาทางวิชาชีพในการช่วยเหลือพฤติกรรมด้วยวิธีเชิงบวก (Positive Behaviour Support) ต่อไป | en_US |
dc.description.abstractalternative | The study reported here aims to explore and compare the current teacher competencies, consisting of knowledge, attitudes and skills, in behaviour management practices among Thai elementary schools. It also investigates their concerns about dealing with the behaviour problems of the students in their classrooms. 420 of teachers from public schools in Bangkok were multistage randomly selected and invited to participate in the study. 314 teachers (248 general teachers and 66 special education teachers) were returned the questionnaire on competencies and concerns towards students’ behaviour problems and the response rate was 74.76%. Descriptive statistic was used for analysising general data. Two way ANOVA was used to compare teacher competencies and concerns between types of teachers and types of schools. Mutiple regression was used to investigate the effects of competencies to concerns. Results found that special education teachers had no different in having knowledge, attitude and skills in dealing with students with behavior problems when comparing to general teachers. Most participants, including both special education teachers and general teachers, reported that they tended to use preventative strategies more than positive reactive strategies and negative reactive strategies in managing the behaviour problems in their classrooms. Similarly to concerns, both special education teachers and general teachers reported that they did not believe their knowledge and skills to be sufficient in dealing positively with behaviour problems demonstrated by students in their classrooms. The need for supports from parents/families was reported as a major concern for both general and special education teachers. This study also found that teacher competencies has positive and negative effects to teachers’ concerns but very little. The results of this study confirm that these teachers in two classroom settings require further professional development in positive behaviour support. | en_US |
dc.description.sponsorship | งานวิจัยนี้ได้รับทุนสนับสนุนจากกองทุนรัชดาภิเษกสมโภช (ทุนอาจารย์ใหม่) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | ครู -- ความเครียดในการทำงาน | en_US |
dc.subject | ครูสอนเด็กที่เป็นปัญหา | en_US |
dc.subject | พฤติกรรมผิดปกติในเด็ก | en_US |
dc.subject | เด็กที่เป็นปัญหา | en_US |
dc.title | การรับรู้ด้านสมรรถนะและความกังวลของครูไทยระดับประถมศึกษาที่มีต่อการจัดการพฤติกรรมของนักเรียนที่มีปัญหาพฤติกรรมในชั้นเรียน | en_US |
dc.title.alternative | Perceived competencies and concerns of elementary Thai teachers towards dealing with students with behavior problems in classrooms | en_US |
dc.type | Technical Report | en_US |
dc.email.author | [email protected] | - |
Appears in Collections: | Edu - Research Reports |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Watinee Am_Res_2563.pdf | ไฟล์รายงานวิจัยฉบับเต็ม | 2.21 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.