Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/72918
Title: การออกแบบเบื้องต้นสำหรับกระบวนการผลิตไคติน และสารปรุงแต่งกลิ่นรสกุ้งจากเศษกุ้ง
Other Titles: Preliminary design of chitin and sharimp flavor production process from shrimp waste
Authors: รัตมณี หาญวณิชศักดิ์
Advisors: วิวัฒน์ ตัณฑะพานิชกุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: [email protected]
Subjects: อุตสาหกรรมกุ้ง
กุ้งแช่แข็ง
ของเสียจากสัตว์ -- การนำกลับมาใช้ใหม่
ไคติน
ไคโตแซน
สารให้กลิ่นรส
Shrimp industry
Frozen shrimp
Animal waste -- Recycling
Chitin
Chitosan
Flavoring essences
Issue Date: 2540
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้ได้ทำการออกแบบเบี้องตันสำหรับกระบวนการผลิตไคตินและสารปรุงแต่งกลิ่นกุ้ง โดยได้แบ่งงานวิจัยเป็น 3 ขั้นตอน ขั้นแรกเป็นการศึกษาหาภาวะที่เหมาะสมของการใช้เอนไซม์นิวเทรส โดยแปรอุณหภูมิในการย่อยสลายโปรตีนเป็น 4 ระดับ คือ ที่ 45, 50, 55 และ 60 องศาเซลเซียส พบว่า ที่อุณหภูมิ 55 องศาเซลเซียส มีการย่อยเกิดขึ้นมากที่สุด เมื่อเปรียบเทียบกับที่อุณหภูมิอื่น ๆ และจากการแปรปริมาณเอนไซม์ที่ใช้เป็น 5 ระดับ คือ 0.04, 0.06, 0.08, 0.10 และ 0.12 % โดยน้ำหนัก และเวลาในการย่อย 4 ระดับ คือ 30, 60, 90 และ 120 นาที พบว่า ปริมาณเอนไซม์และเวลาที่ใช้ในการย่อยมีผลต่อปริมาณไทโรซีนที่ได้ กล่าวคือ เมื่อใช้เอนไซม์และเวลาในการย่อยมากขึ้น จะมีแนวโน้มให้ค่าไทโรซีนเพิ่มขึ้น ภาวะที่เหมาะสมที่เลือกได้ คือ การใช้ปริมาณเอนไซม์ 0.08 % โดยน้าหนัก ใช้เวลาการย่อย 60 นาที ขั้นตอนที่สอง เป็นการศึกษาสำรวจและดัดเลือกกระบวนการแยกไคตีน โดยในงานวิจัยนี้ได้เลือกเอาภาวะที่เหมาะสมจากงานวิจัยที่มีผู้ศึกษามาก่อน มา ประยุกต์กับการผลิตในอุตสาหกรรม โดยใช้สารละลายกรดและด่างซ้ำ ภาวะที่เหมาะสมในการกำจัดแร่ธาตุ คือ การใช้สารละลายกรดไฮโดรคลอริกความเข้มข้น 1 M กัดราส่วนปริมาณเปลือกกุ้งต่อปริมาณกรด เท่ากับ 1:10 ใช้เวลา 1 ชั่วโมง ที่อุณหภูมิห้อง ภาวะที่เหมาะสมในการกำจัดโปรตีน คือ การใช้สารละลายด่างโซเดียมไฮดรอกไซด์กวามเข้มข้น 2 M อัตราส่วนปริมาณเปลือกกุ้งต่อปริมาณด่าง เท่ากับ 1:10 ใช้เวลา 2 ชั่วโมง ที่อุณหภูมิ 55 องศาเซลเซียส และในขั้นตอนสุดท้าย เป็นการคำนวณเบื้องต้นและประเมินค่าใช้จ่ายของกระบวนการในระดับอุตสาหกรรม จากวัตถุดิบกุ้งวันละ 20,000 กิโลกรัม จะได้เปลือกกุ้งบด 2,600 กิโลกรัม เมื่อนำมาผลิตจนได้เป็นผลิตภัณฑ์สุดท้าย จะได้ไคติน 468 กิโลกรัม และโปรตีนไฮโดรเลเสด 2,028 กิโลกรัม โครงการนี้มีค่าลงทุนสำหรับโครงการทั้งหมด (total investment project) ที่ 37.477 ล้านบาท มีจุดคุ้มทุนที่ยอดขาย 172,800 กิโลกรัมต่อปี และใช้เกณฑ์การตัดสินใจว่าควรจะยอมรับโครงการลงทุนหรือไม่ โดยใช้วิธีระยะเวลาคืนทุนมูลค่าปัจจุบันสุทธิ อัตราผลตอบแทนของโครงการ และดัชนีกำไร ซึ่งจากการวิเคราะห์พบว่า เท่ากับ 4 ปี, 100.148 ล้านบาท, 52.1 % และ 3.04 บาท ตามลำดับ ดังนั้น สรุปได้ว่าเป็นโครงการที่น่าสนใจที่จะลงทุนและทำการออกแบบโดยละเอียดต่อไป
Other Abstract: This research makes a preliminary design of chitin and shrimp flavor production process by dividing the research into 3 stages. Firstly, the optimum protein hydrolysis condition using enzyme neutrase was found by testing at 4 temperature levels that is, 45, 50, 55 and 60 degree Celsius. It was found that the temperature at 55 degree Celsius yielded the maximum hydrolysis when compared to the other temperatures. Testing at 5 enzyme dosing levels, that is, 0.04, 0.06, 0.08, 0.10 and 0.12% w/w and at 4 time periods, that is, 30, 60, 90 and 120 minutes, revealed that the enzyme dosing and time had significant effect on the tyrosine concentrate. When they increase, the tyrosine also increases. The chosens optimum conditions are enzyme dosing 0.08 % w/w, time 60 minutes. Secondly, variouschitin production processes were reviewed. This research then selected the optimum condition for industrial production using acid and caustic solutions. The optimum demineralization condition is a ratio of shrimp waste : 1-M HC1 equaling 1:10, time 1 hr at ambient temperature. The optimum deproteination condition is a ratio of shrimp waste : 2-M NaOH equaling 1:10, time 2 hrs at 55 degree Celsius. Finally, preliminary industrial process design and investment cost estimation were carried out. Raw shrimp 20,000 kgs/day yields shrimp waste 2,600 kgs/day. When processed to the finished product, there will be chitin 468 kgs and hydrolysate 2,028 kgs. The project requires a total investment of 37.477 MB. Economic analysis reveals that this project had a breakeven point equal to sales of 172,000 kgs/year. Next the following criteria for economic feasibility are used, that is, payback period, net present value, internal rate of return and profitability index. It was found that these criteria equaled 4 years, 100.148 MB, 52.1 % and 3.04 baht respectively. Therefore it is concluded that this project should be interesting to invest in and to proceed with detailed design.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2540
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมเคมี
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/72918
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.1997.307
ISBN: 9746379992
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.1997.307
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Ratmanee_ha_front.pdfหน้าปกและบทคัดย่อ444.44 kBAdobe PDFView/Open
Ratmanee_ha_ch1.pdfบทที่ 178.25 kBAdobe PDFView/Open
Ratmanee_ha_ch2.pdfบทที่ 21.13 MBAdobe PDFView/Open
Ratmanee_ha_ch3.pdfบทที่ 3119.8 kBAdobe PDFView/Open
Ratmanee_ha_ch4.pdfบทที่ 42.44 MBAdobe PDFView/Open
Ratmanee_ha_ch5.pdfบทที่ 584.84 kBAdobe PDFView/Open
Ratmanee_ha_back.pdfบรรณานุกรมและภาคผนวก1.24 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.