Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/731
Title: | ผลกระทบของการขยายตัวของกลุ่มประชาคมยุโรปที่มีต่อการส่งออก ผลผลิตการเกษตร : ศึกษาเปรียบเทียบระหว่างไทยกับประเทศอาเซียนอื่น ๆ : รายงานผลการวิจัย |
Other Titles: | Effects of the EC enlargements on agricultural exports : a comparative study between Thailand and other ASEAN countries |
Authors: | ชัยวุฒิ ชัยพันธุ์ |
Email: | [email protected] |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเศรษฐศาสตร์ |
Subjects: | ประชาคมยุโรป สินค้าเกษตร เกษตรกรรมกับรัฐ กลุ่มประเทศอาเซียน การกีดกันทางการค้า |
Issue Date: | 2532 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ที่สำคัญ 2 ประการ คือ 1. ศึกษาผลกระทบจองการขยายตัวของกลุ่มประชาคมยุโรปต่อสภาวะทางเศรษฐศาสตร์มหภาคของไทยและประเทศอาเซียนอื่น ๆ 2. ศึกษาผลกระทบของนโยบายดังกล่าวที่มีต่อการตัดสินใจในระดับผู้ประกอบการ ในสาขาเกษตรนั้น ถือได้ว่ากลุ่มประชาคมได้เข้าใกล้แนวคิดการเป็นตลาดร่วมดังที่ได้กำหนดไว้ในสนธิสัญญากรุงโรมได้มากที่สุด การขยายตัวของกลุ่มประชาคมนั้นย่อมหมายถึงการขยายขอบเขตของตลาดออกไป การศึกษานี้พยายามที่จะวิเคราะห์ผลการเปลี่ยนแปลงต่อการผลิตและการค้าสินค้าเกษตรกรรมระหว่างกลุ่มประชาคมอาเซียน การวิเคราะห์เริ่มต้นด้วยการศึกษาการพัฒนาของนโยบายที่สำคัญของกลุ่มประชาคม จากนั้นได้วิเคราะห์โครงสร้างการค้า ความชำนาญเฉพาะอย่าง และการแข่งขันระหว่างประเทศอาเซียน ตามด้วยศักยภาพของการขยายตัวทางการค้า และผลของการส่งออก สุดท้ายได้วิเคราะห์ความต้องการและโอกาสในการปรับตัวในระดับผู้ประกอบการ จากการวิเคราะห์ในระดับมหภาคมีข้อสรุปที่น่าสังเกต 4 ประการ 1. ประเทศสมาชิกของอาเซียนมีโครงสร้างการส่งออกแตกต่างกันในการค้ากับกลุ่มประชาคม 2. การค้าสินค้าเกษตรระหว่างอาเซียนกับกลุ่มประชา มีลักษณะการค้าในสินค้าประเภทเดียวกันน้อยกว่าการค้ากับโลก 3. โครงสร้างการส่งออกของอาเซียนไปยังกลุ่มประชาคมต่างไปจากโครงสร้างกานำเข้าของกลุ่มประชาคมจากตลาดโลก 4. ศักยภาพการขยายการค้าของอาเซียนเกิดขึ้นทางด้านการส่งออกเป็นส่วนใหญ่ การวิเคราะห์ผลกระทบต่อการตัดสินใจในระดับผู้ประกอบการนั้นให้ข้อสรุปว่า กลยุทธการลงทุนร่วมกับต่างประเทศจะเป็นกลยุทธที่สำคัญที่สุดในการขยายการค้าในตลาดกลุ่มประชาคม |
Other Abstract: | This study has two main objectives: 1. to study the effects of the EC enlargements on the macroeconomic condition of Thailand and other members of ASEAN. 2. to study the effects of the above policy on the decision making at the firm level. For the agricultural sector, the EC has come closer to the concept of a common market envisaged by the Treaty of Rome. The enlargements have evidently increased the size of the market. This study tries to access changes in production and trade in agricultural goods between the Community and ASEAN countries. The analysis begins with reviewing major policy developments of the EC. After that the structure of trade, specialization and international competitiveness of ASEAN countries are analyzed. Also potential trade and export effects of EC enlargements are evaluated. The final chapter assesses, adjustment needs and opportunities in adjustments at the firm level. From the macro economic point of view, four features are particularly noteworthy: Firstly, ASEAN member countries have rather different export structure in their trade with the EC. Secondly, agricultural trade of ASEAN countries with the EC generally overlaps. However, the degree of overlapping is lower than their world trade. Thirdly the structure of ASEAN countries; exports to the EC and the structure of the EC imports from the rest of the world are dissimilar. Finally, potential trade expansion by ASEAN countries may concentrate mainly on the export side. The analysis of the impact on decision making at the firm level revealed that joint venture with foreign firms will be the most favorable strategy of Thai firms as far as market expansion in the Community is concerned. |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/731 |
Type: | Technical Report |
Appears in Collections: | Econ - Research Reports |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Chaiwoot(EC).pdf | 9.78 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.