Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/7311
Title: ผลกระทบของการลงทุนทางตรงจากต่างประเทศต่อประสิทธิภาพแรงงานในอุตสาหกรรมการผลิตในประเทศไทย
Other Titles: The impact foreign direct investment on labour productivity in Thai manufacturing industry
Authors: ณภัทร ตันติจารุภัทร์
Advisors: จุฑา มนัสไพบูลย์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเศรษฐศาสตร์
Advisor's Email: [email protected]
Subjects: การลงทุนของต่างประเทศ -- ไทย
แรงงาน -- ไทย
Issue Date: 2548
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: เนื่องจากอุตสาหกรรมการผลิตของไทยมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นทุกปี ทำให้มีการลงทุนทางตรงจากต่างประเทศในสัดส่วนที่เพิ่มมากขึ้น ซึ่งน่าจะส่งผลดีต่อภาคอุตสาหกรรม จากการที่ได้รับประโยชน์จากการส่งผ่านเทคโนโลยี ทักษะการผลิตและการจัดการจากประเทศผู้ลงทุน อันจะทำให้ประสิทธิภาพการผลิตตลอดจนประสิทธิภาพแรงงานมีค่าสูงขึ้น แต่จาก การศึกษาในประเทศกำลังพัฒนาบางแห่งพบว่า ผลประโยชน์จากการส่งผ่านนี้มีปริมาณที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับปัจจัยภายในของแต่ละประเทศ ในการศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาผลกระทบของการลงทุนทางตรงจากต่างประเทศต่อประสิทธิภาพแรงงานในอุตสาหกรรมการผลิตของไทย โดยใช้ข้อมูลทุติยภูมิระดับหมวดอุตสาหกรรมของภาคอุตสาหกรรมการผลิตจากสำนักงานสถิติแห่งชาติจำนวน 23 หมวดอุตสาหกรรม ศึกษาในปี พ.ศ. 2540-2546 โดยวีธีเชิงปริมาณโดยการคาดประมาณด้วยกำลังสองน้อยสุดเพื่อศึกษาผลกระทบของการลงทุนทางตรงจากต่างประเทศต่อประสิทธิภาพแรงงาน และวิธีการเชิงพรรณนาเพื่ออธิบายถึงสัดส่วนการร่วมทุนและสภาพอุตสาหกรมในแต่ละหมวดอุตสาหกรรม ผลการศึกษาในเชิงปริมาณ พบว่า อัตราการเปลี่ยนแปลงประสิทธิภาพแรงงานที่มีต่ออัตราการเปลี่ยนแปลงของสัดส่วนโรงงานที่มีการร่วมทุนจากต่างประเทศต่อโรงงานทั้งหมด มีผลการเปลี่ยนแปลงในทิศทางตรงกันข้าม ส่วนอัตราการเปลี่ยนแปลงประสิทธิภาพแรงงานที่มีต่ออัตราการเปลี่ยนแปลงสัดส่วนทุนต่อแรงงาน, สัดส่วนแรงงานที่มีทักษะต่อแรงงานผลิต และสัดส่วนรายรับต่อจำนวนโรงงาน มีผลการเปลี่ยนแปลงในทิศทางเดียวกัน สอดคล้องกับผลการศึกษาเชิงพรรณนาที่พบว่า หมวดอุตสาหกรรมที่มีสัดส่วนทุนต่อแรงงาน, สัดส่วนแรงงานที่ทักษะต่อแรงงานผลิต และสัดส่วนรายรับต่อโรงงาน ในสัดส่วนที่สูง จะมีประสิทธิภาพแรงงานสูง แต่สัดส่วนโรงงานที่มีการร่วมทุนต่อโรงงานทั้งหมดไม่มีความสัมพันธ์กับประสิทธิภาพแรงงาน จากผลการศึกษาที่พบว่าสัดส่วนการร่วมทุนจากต่างประเทศมีความสัมพันธ์ในทางตรงกันข้ามกับประสิทธิภาพแรงงาน อาจเนื่องมาจากภาคอุตสาหกรรมไม่ได้รับประโยชน์อย่างเต็มที่จากการลงทุนทางตรง ดังนั้นภาครัฐควรมีนโยบายที่จะลดข้อจำกัดในการส่งผ่านเทคโนโลยี การหาตลาดรองรับกำลังการผลิต และภาคเอกชนมีการสนับสนุนการฝึกอบรมการเพิ่มทักษะการผลิตของแรงงาน อันจะนำไปสู่ประสิทธิภาพการผลิตโดยรวมและประสิทธิภาพแรงงานที่สูงขึ้น
Other Abstract: Foreign direct investment (FDI) has various effects on economy of the host country. Especially, that in developing country. Theoretically, FDI also has spillovers on manufacturing industry. The objective of this study is to study the impact of foreign direct investment on labour productivity. The data used in this study mainly based on collecting by NSO during 1997-2003. Descriptive analysis is used to explain overall perspective of FDI transferred to the manufacturing. Multiple regression analysis (OLS) in used to analyze the impact on labour productivity. The finding of the model shows that the rate of change in labour productivity toward the rate of change in FDI causes the change in opposite direction. The rate of change in labour productivity toward the rate of change in capital intensity, firm size and labour quality cause the changes in same direction. Descriptive analysis also shows that manufacturing sub sectors with high capital intensity, large firm size and many skilled labours will have high labour productivity but there is no consistence between FDI and labour productivity. From this study, The government should reduce restricition of technology transfer in order to increase more benefit from FDI to manufacturing sector. Moreover, private sector should support labour training. These policies lead to increasing in labour productivity.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548
Degree Name: เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เศรษฐศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/7311
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2005.375
ISBN: 9745326941
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2005.375
Type: Thesis
Appears in Collections:Econ - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
naphat.pdf1.28 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.