Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/73158
Title: | นาฏกรรมไทยกับนโยบายการปกครอง พ.ศ. 2468-2516 |
Other Titles: | Thai performing arts and public policy 1925-1973 |
Authors: | มณิศา วศินา |
Advisors: | สวภา เวชสุรักษ์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะศิลปกรรมศาสตร์ |
Advisor's Email: | [email protected] |
Subjects: | ศิลปะการแสดง -- ไทย การเมืองกับวัฒนธรรม ศิลปกรรมกับการปฏิวัติ Performing arts -- Thailand Politics and culture Art and revolutions |
Issue Date: | 2561 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มุ่งศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างนาฏกรรมกับการปกครอง และการประกอบสร้างนาฏกรรมตามนโยบายการปกครอง โดยเน้นที่ผู้นำที่มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคม และนาฏกรรมไทย ระหว่าง พ.ศ. 2468-2516 ผู้วิจัยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสาน ในการค้นคว้าและรวบรวมเอกสารทั้งชั้นต้น และชั้นรอง การสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ การสังเกตการณ์จากสื่อ และสนทนากลุ่มย่อยกับผู้ทรงคุณวุฒิตามศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง ผลการศึกษา พบว่า นาฏกรรมกับการปกครองมีความสัมพันธ์กัน 6 ประการ คือ ความหมาย รูปแบบ เนื้อหา สาระสำคัญ บทบาท และการเปลี่ยนแปลง นาฏกรรมเป็นเครื่องมือหนึ่งที่แสดงสัมพันภาพให้เห็นอย่างเป็นรูปธรรม ทั้งต่อบุคคล สังคม และการปกครอง ผู้นำจึงใช้คุณสมบัติพิเศษของนาฏกรรม คือ การโน้มน้าวจิตใจ เพื่อเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมสังคม ค่านิยม และอุดมการณ์ตามที่ตนคาดหวัง เมื่อสังคมเกิดจุดวิกฤตสู่การปฏิวัติการปกครอง และวัฒนธรรม จึงเกิดการล้มล้างนาฏกรรมเดิม และสร้างนาฏกรรมเพื่อเผยแพร่นโยบายของผู้นำใหม่ แต่ปรากฏการณ์ของนาฏกรรมไทยตามนโยบายการปกครอง ระหว่าง พ.ศ. 2468-2516 มีการเปลี่ยนแปลง 8 ระยะ คือ 1. พระราชมรดกนาฏกรรม รัชกาลที่ 6 2. นาฏกรรมเพื่อการอนุรักษ์ 3. ยุตินาฏกรรมหลวง และสร้างกระแสนาฏกรรมราษฎร 4. การสร้างภาพลักษณ์ประเทศด้วยนาฏกรรมราษฎร 5. นาฏกรรมต้านคอมมิวนิสต์ (1) สร้างกระแสนาฏกรรมราชสำนัก 6. การสร้างภาพลักษณ์ประเทศด้วยนาฏกรรมหลวง7.นาฏกรรมต้านคอมมิวนิสต์ (2) 8. นาฏกรรมเพื่อการเรียกร้องประชาธิปไตย รูปแบบของนาฏกรรมไทยตามนโยบายการปกครองมี7ประเภทคือ 1. โขน 2. ละคร 3. รำ ระบำ 4. เพลง 5. การแสดงพื้นบ้าน 6. บัลเลต์ 7. ภาพยนตร์ เนื้อหาของนาฏกรรมตามนโยบายการปกครอง มี 3 ประเภท คือ ประวัติศาสตร์ ศาสนา และวีถีชีวิต ซึ่งแสดงลักษณะผู้นำ สถานการณ์ของปัญหา แนวคิด และแนวทางปฏิบัติพัฒนาสังคม การประกอบสร้างนาฏกรรมตามนโยบายการปกครอง เป็นการสร้างสรรค์นาฏกรรมจากข้อมูลพื้นฐานที่สอดคล้องกับผู้นำ เหตุการณ์ของสังคม นโยบายการปกครอง และวัตถุประสงค์ของที่สร้างงาน ซึ่งนำมาสู่แนวคิด รูปแบบ เนื้อหา สาระสำคัญ วิธีการสร้าง มี 2 วิธี คือ การคิดขึ้นใหม่ และ การปรับจากที่มีอยู่เดิม ด้วยการสอดแทรกแนวคิด แนวปฏิบัติของผู้นำในบทประพันธ์การแสดง และองค์ประกอบอื่น ๆ ผลผลิตของนาฏกรรมเป็นเครื่องมือสะท้อนตัวตนผู้นำ สังคม การเผยแพร่มี 2 วิธี คือ โน้มน้าว ชี้นำ เชิญชวน และกำหนด บังคับให้ปฏิบัติตามจนเป็นกิจวัตร และประเพณี เพื่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมสังคม และปลูกฝังค่านิยม อุดมการณ์ นำไปสู่สังคมใหม่ตามที่ผู้นำต้องการ นาฏกรรมเป็นเครื่องมือสื่อสารที่มีพลังในการโน้มน้าว เชิญชวน ชี้นำจิตใจบุคคล กลุ่มบุคคล สังคมให้คิดและปฏิบัติตามนโยบายการปกครอง ดังนั้นผู้นำจึงควรศึกษานาฏกรรมเพื่อความเข้าใจ และเลือกใช้เครื่องมือสื่อสารที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนาพฤติกรรม ค่านิยม อุดมการณ์ของบุคคล และสังคม ได้อย่างมีประสิทธิภาพ |
Other Abstract: | This dissertation aims to study the relationship between performing arts and government, as well as the creation of performing arts which were based on the government policy. The leaders had an influential impact on social changes and Thai performing arts from 1925 to 1973. Mixed methods were used for the research and collection of primary and secondary document, interview with professionals, observation from the media, and focus group discussion with experts in relevant fields. The results showed that Thai performing arts and the government were related in 6 aspects: meaning, form, content, essence, function, and change. Performing arts was used to express relations of persons, society, and government in a concrete way. Therefore, the leaders tended to use the special characteristic of the performing arts in order to persuade and adjust citizen’s beliefs, values and behaviors. Whenever the social crises arose and might lead to the turmoil, Thai elites would often abolish the old performing arts and create the new one instead. The relationship between the performing arts of Thailand and public policies can be divided into 8 periods; 1. Performing arts heritage from King Rama VI, 2. Performing arts for conservation, 3.The end of the royal performing arts and the beginning of citizen performing arts, 4. National image creation with citizen performing arts, 5. Anti-communism performing arts (1) and the revival of royal performing arts, 6. National image creation with royal performing arts, 7. Anti-communism performing arts (2), 8. Performing arts for the democracy movement. Thai performing arts based on the public policy was consisted of 7 forms: 1. Khon, 2. Dance drama, 3. Dance, 4. Music, 5. Folk performance, 6. Ballet, 7. Films. The contents of the performing arts based on the public policy revolved around 3 fields: history, religion, and lifestyle, which represented characteristics of the leaders, the situation of problems, concepts, and practices for social development. The performing arts, which was created to serve the public policies correspond to base on the public policy, was created from the primary information that corresponded to the leaders, social events, public policy, and purposes. Those led to the creation of concepts, forms, content, and essence. The methods of creation can be divided into 2 types: innovative creation and original adaptation, with the insertion of ideas and practices of leaders in the compositions and other elements. The product of performing arts was a reflection of the identity of the leaders and society. The dissemination of performing arts had been done in 2 forms: the first was to persuade, induce, and invite, and the second was to enforce concepts and ideas into routines and tradition, in order to change social behavior and instilling values and ideals for a new society as the leaders saw fit. Performing arts is a powerful communication tool that can persuade, induce, and direct the minds of individuals, groups of people, and society to follow public policy. Therefore, leaders should understand the performing arts thoroughly in order to be able to effectively apply this influential communication tool in the development of behavior, values, and ideals of people and society. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ศศ.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2561 |
Degree Name: | ศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาเอก |
Degree Discipline: | นาฏยศิลป์ไทย |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/73158 |
URI: | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2018.821 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.58837/CHULA.THE.2018.821 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Fine Arts - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Fin_5986831635_Thesis_2018.pdf | 6.37 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.