Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/73577
Title: | การศึกษารูปแบบการตั้งถิ่นฐานของผู้ใช้แรงงานในโรงงานอุตสาหกรรม อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ |
Other Titles: | Settelment pattern of industrial labours in Phra Pradaeng district, Samut Prakan province |
Authors: | สุรพงศ์ อัศวานันท์ |
Advisors: | ดารณี ถวิลพิพัฒน์กุล |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Advisor's Email: | [email protected] |
Subjects: | การตั้งถิ่นฐาน -- ไทย -- สมุทรปราการ การย้ายถิ่นของแรงงาน -- ไทย -- สมุทรปราการ Land settlement -- Thailand -- Samut Prakan Migrant labor -- Thailand -- Samut Prakan |
Issue Date: | 2535 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาว่า แรงงานที่เข้ามาทำงานในโรงงานอุตสาหกรรม อำเภอพระประแดงมีการพักอาศัยอย่างไร เนื่องจากโรงงานอุตสาหกรรมไม่สามารถจัดหาที่พักได้พอเพียง กับผู้ใช้แรงงานทุกคน เพียงแต่จัดหาที่อยู่อาศัยได้เพียงส่วนหนึ่ง โดยผู้ใช้แรงงานที่เหลือต้องหาที่พักอาศัยเอง นอกจากนี้ยังได้ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างแหล่งที่อยู่อาศัยกับที่ทำงานของผู้ใช้แรงงาน ตลอดจนการดำเนิน ชีวิตทั่วไปของผู้ใช้แรงงาน ผลการวิจัยพบว่า ผู้ใช้แรงงานที่ทำงานในโรงงานอุตสาหกรรมส่วนใหญ่เป็นผู้ที่มาจากชนบทจึง ไม่มีที่อยู่อาศัยของตนเอง ต้องเฝ้าบ้านอาศัยอยู่ในลักษณะของ บ้านไม้ชั้นเดียว, บ้านไม้สองชั้น, บ้านไม้ยกพื้นสูง, ห้องแถวไม้, ห้องแบ่งให้เช่า, บ้านครึ่งตึกครึ่งไม้ และหอพักโรงงานอุตสาหกรรม โดยจ่ายค่าเฝ้า ในช่วง 300 - 1,000 บาทต่อเดือน สภาพที่อยู่อาศัยส่วนใหญ่มีสภาพพอใช้ ทางเดินในที่อยู่อาศัยมักเป็น สะพานไม้หรือทางคอนกรีต การบริการไพรน้ำมีบริการได้ทั่วถึง ส่วนการบริการประปามีบริการในพื้นที่เทศบาล และสุขาภิบาล พื้นที่ที่อยู่ด้านนอกต้องซื้อน้ำประปา หรือใช้น้ำบาดาลหรือน้ำคลอง ผู้ใช้แรงงานจะเลือกที่อยู่ อาศัยที่มีราคาถูก ที่อยู่ใกลโรงงานมากกว่าที่จะพิจารณาถึงสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัย ดังนั้น สภาพแวดล้อมที่ อยู่อาศัยของผู้ใช้แรงงานจึงมีสภาพที่ค่อนข้างเสื่อมโทรม ปัญหาที่พบมากที่สุดคือ ปัญหาน้ำท่วม และน้ำเน่า - เหม็น ที่อยู่อาศัยของผู้ใช้แรงงานจะอยู่ห่างจากที่ทำงานภายในระยะรัศมี 1 กิโลเมตร เพื่อประหยัดค่า ใช้จ่ายในการเดินทางไปทำงาน การซื้ออาหารมักซื้ออาหารสำเร็จรูปจากร้านค้า หรือตลาดใกลที่อยู่อาศัย การรักษาพยาบาลมักไปรับบริการจากคลีนิคที่อยู่ใกล้กับที่อยู่อาศัย การพักผ่อนมักอยู่กับบ้านหรือทำงานพิเศษ ความล้มพันธ์กับเพื่อบ้านมักเป็นการทำบุญ หรือการจัดงานเลี้ยง และปัญหาระหว่างเพื่อนบ้านคือ การส่งเสียงรบกวนในเวลาค่ำคืน ความเป็นอยู่ของผู้ใช้แรงงานจึงมีสภาพที่ค่อนข้างเสื่อมโทรมทางจิตใจและการ ดำเนินชีวิต. |
Other Abstract: | The objective of this research is to study the housing and living conditions of labours working in the factories within Phra Pradaeng District, especially those who are not provided by factory's domotory. In addition, the relationship between locations of labours accommodation and their working places is also studied. The finding in the study reveal that most of the labours working in the factories come from rural areas and have no accommodation of their own. Therefore, it is necessary for them to live in rented accommodation which appear in many forms: one-storey wooden house, two-storey wooden house, raised-floor wooden house, wooden row house, room for rent, house made from wood and concrete and factory' domitory. The rent of these accommodation ranges from 300 - 1,000 baht per month. Most of the rented accommodation are in decent to fair condition. Electricity service covers all of the area, but the water supply service area is limited to cover only the manicipality and sanitary districts. The tenants elsewhere have to buy water or use either underground or canal water. Prices and location nearby factory are more: attractive to labours compares to environment. As a result the choose to live in the accomodation with lower price near the factory than in those with better surrounding. The working place of the labours is within 1 kilometre from their accommodations. Most of the labours buy cooked food from shops or markets near their accommodations. Private clinics near the accommodations provide health care service for these labours. Merit making and having parties are the main activities that foster the relationship between laboues and their neighbours. The major problem with neighbours is loud noise made by neighbours which disturb the night. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ผ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2535 |
Degree Name: | การวางแผนภาคและเมืองมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | การวางแผนภาคและเมือง |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/73577 |
ISBN: | 9745816728 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Surapong_as_front_p.pdf | 1.12 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Surapong_as_ch1_p.pdf | 1.14 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Surapong_as_ch2_p.pdf | 1.17 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Surapong_as_ch3_p.pdf | 3.33 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Surapong_as_ch4_p.pdf | 7.41 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Surapong_as_ch5_p.pdf | 1.27 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Surapong_as_back_p.pdf | 896.7 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.