Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/7525
Title: การนำเสนอรูปแบบการฝึกอบรมบนเว็บเพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้เป็นทีม สำหรับนักเทคโนโลยีการศึกษา
Other Titles: A Proposed web-based training model for developing team learning skills for educational technologists
Authors: นิษฐา พุฒิมานรดีกุล
Advisors: อรจรีย์ ณ ตะกั่วทุ่ง
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: [email protected]
Subjects: นักเทคโนโลยีทางการศึกษา
การเรียนการสอนผ่านเว็บ
การฝึกอบรม
การเรียนรู้เป็นทีม
Issue Date: 2548
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับรูปแบบการฝึกอบรมบนเว็บ เพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้เป็นทีมสำหรับนักเทคโนโลยีการศึกษา 2) ศึกษาผลของการใช้รูปแบบการฝึกอบรมบนเว็บเพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้เป็นทีม สำหรับนำเทคโนโลยีการศึกษา และ 3) นำเสนอรูปแบบการฝึกอบรมบนเว็บเพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้เป็นทีม สำหรับนักเทคโนโลยีการศึกษา วิธีดำเนินการวิจัยมี 4 ขั้นตอนคือ ขั้นที่ 1 สร้างรูปแบบการฝึกอบรมบนเว็บ ขั้นที่ 2 ศึกษาความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับรูปแบบการผึกอบรมบนเว็บ ขั้นที่ 3 ทดลองใช้รูปแบบการฝึกอบรมบนเว็บ และขั้นที่ 4 นำเสนอรูปแบบการฝึกอบรมบนเว็บเพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้เป็นทีม สำหรับนักเทคโนโลยีการศึกษา กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วย 2 กลุ่ม กลุ่มแรกเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านนักเทคโนโลยีการศึกษา ด้านการฝึกอบรมบนเว็บ ด้านการเรียนรู้แบบโครงการ และด้านการเรียนรู้เป็นทีม จำนวน 17 ท่าน และกลุ่มที่สองซึ่งทดลองใช้รูปแบบคือ เจ้าหน้าที่ฝ่ายสารสนเทศการศึกษา ศูนย์คอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร จาก 3 วิทยาเขตคือ วิทยาเขตวังท่าพระ-ตลิ่งชัน วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ และวิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี จำนวน 25 คน ที่แบ่งกลุ่มออกเป็นทีมๆ ละ 5 คน จำนวน 5 ทีม ฝึกอบรมตามรูปแบบที่พัฒนาขึ้นเป็นระยะเวลา 3 สัปดาห์ ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลการศึกษาความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับรูปแบบการฝึกอบรมบนเว็บ เพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้เป็นทีมสำหรับเทคโนโลยีการศึกษาพบว่า ผู้เชี่ยวชาญโดยส่วนใหญ่มีความเห็นว่าองค์ประกอบของการฝึกอบรม และขั้นตอนการฝึกอบรมมีความเหมาะสม โดยการปฐมนิเทศและปัจฉิมนิเทศการฝึกอบรมควรจัดภายในห้องฝึกอบรม และควรให้ผู้เข้าฝึกอบรมได้พบกันแบบเผชิญหน้าอย่างน้อย 3 ครั้งในช่วงเวลาการฝึกอบรม 2. ผลการทดลองใช้รูปแบบการฝึกอบรมพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีคะแนนทักษะการเรียนรู้เป็นทีม และประสิทธิภาพในการทำงานเป็นทีมสูงกว่าก่อนการฝึกอบรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และกลุ่มตัวอย่างร่วมมือกันทำงานเป็นทีมในระดับมาก 3. รูปแบบการฝึกอบรมเว็บ เพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้เป็นทีมสำหรับเทคโนโลยีการศึกษา ประกอบด้วย 3 ส่วนคือ 1) องค์ประกอบการฝึกอบรม 10 องค์ประกอบ ได้แก่ เป้าหมายของการฝึกอบรม ชนิดของการเรียนรู้ในการฝึกอบรมหลักสูตรฝึกอบรม บทบาทผู้เข้ารับการฝึกอบรม บทบาทของผู้ดำเนินการฝึกอบรม บทบาทผู้เชี่ยวชาญและผู้สนับสนุนการฝึกอบรม วิธีการปฏิสัมพันธ์ผ่านเว็บ เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และระบบเครือข่าย ปัจจัยสนับสนุนการฝึกอบรมผ่านเว็บ การประเมินผลการฝึกอบรม 2) ขั้นตอนการฝึกอบรม ประกอบด้วย ขั้นตอนก่อนการฝึกอบรมได้แก่ ลงทะเบียนบนเว็บฝึกอบรม และปฐมนิเทศ ขั้นดำเนินการฝึกอบรมตามการเรียนรู้แบบโครงการ 6 ขั้นตอน ได้แก่ ค้นหาปัญหาหรือกำหนดภารกิจงาน รวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล วางแผนดำเนินงาน ดำเนินงาน สรุปผลการดำเนินงาน ขั้นตอนประเมินผลการฝึกอบรมได้แก่ การประเมินทักษะการเรียนรู้เป็นทีม ประสิทธิภาพในการทำงานเป็นทีม และการมีส่วนร่วมในการทำงานเป็นทีมบนเว็บ 3) กิจกรรมการฝึกอบรมบนเว็บได้แก่ ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ กระดานข่าว ห้องสนทนา การค้นหาบนเครือข่าย และการถ่ายโอมแฟ้มข้อมูล และกิจกรรมในห้องฝึกอบรม ได้แก่ การปฐมนิเทศการฝึกอบรม การวางแผนดำเนินการโครงการ และการปัจฉิมนิเทศการฝึกอบรม
Other Abstract: To 1) study the opinions of experts concerning the web-based training model for developing team learning skills for educational technologists, 2) study the effects of the web-based training model for developing team learning skills for educational technologists, and 3) propose the web-based training model for developing team learning skills for educational technologists. The research methods comprised of four steps: Step 1: develop the WBT Model, Step 2: study the expert opinions concerning WBT Model, Step 3: implement the WBT Model, and Step 4: propose the WBT Model for developing team learning skills for educational technologists. The samples comprised of two groups. The first group consisted of 17 experts in educational technologists, web-based training, project-based learning, and team learning. The second group consisted of 25 education information department officers in Computer Center, Silpakorn University from three campuses: Thapra-Talingchan Campus, Sanamchan Campus and Phetchburi Campus. They were divided into five teams with five members performed activities based on web-based training model for developing team learning skills for 3 weeks. The results of the research were 1. The experts perceived that WBT components and process were appropriate and the orientation and the post-training activities should conduct in a training room. During the training, the trainees should have at least three face-to face activities. 2. It was found that the subjects trained from WBT Model had statistically significant at .05 level team learning skills scores and team performance scores higher than pre-test scores. The subjects participated in team working activities in high level. 3. The WBT model for developing team learning skills for educational technologists comprised of three categories 1) The 10 training components: goal, learning type, curriculum; trainee{7f2019}s role, facilitator's role, experts/supporter's role, computer and internet, interaction on web, support resources, and training evaluation. 2) The training steps: the pre-training step including a registration on web and an orientation in a training room, the training process step based on six project-based learning activities including identify a problem or task, gather information and conduct analyses, develop an action plan, implement a project, review a project, and present a project; and the post-training step including an evaluation of team learning skills, the efficiency of team performance and team participation. 3) The training activities on web are e-mail, web board, chat room, search, link, file transfer; and activities in training room are orientation, develop an action plan, and formal advice before completing the training.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: โสตทัศนศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/7525
ISBN: 9741419007
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
nittha.pdf3.44 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.