Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/7530
Title: | ความสัมพันธ์ระหว่างบทบาทที่หลากหลาย สุขภาวะทางจิต ทักษะและผลการปฏิบัติงานของผู้บริหารมหาวิทยาลัยของรัฐ : การประยุกต์ใช้โมเดลสมการโครงสร้างแบบอิทธิพลย้อนกลับพหุกลุ่ม |
Other Titles: | Relationships between multiple roles, psychological well-being, skills and performance of government university administrators : an application of multi-sample, non-recursive structural equation model |
Authors: | พิศสมัย อรทัย |
Advisors: | นงลักษณ์ วิรัชชัย ยุวดี ฦาชา |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
Advisor's Email: | [email protected] ไม่มีข้อมูล |
Subjects: | บทบาททางสังคม ความสามารถทางการบริหาร ผู้บริหารสถาบันอุดมศึกษา ความผูกพันต่อองค์การ |
Issue Date: | 2548 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ศึกษา 1) เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของความผูกพันต่อบทบาทที่หลากหลาย สุขภาวะทางจิต ทักษะการบริหารจัดการ และผลการปฏิบัติงานด้านการบริหารจัดการระหว่างผู้บริหารที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา และกลุ่มสาขาวิชาแตกต่างกัน และศึกษาอิทธิพลของความผูกพันต่อบทบาทชีวิตที่หลากหลาย ที่มีต่อสุขภาวะทางจิตและทักษะการบริหารจัดการของผู้บริหารมหาวิทยาลัยของรัฐ 2) พัฒนาและตรวจสอบความตรงของโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุแบบอิทธิพลย้อนกลับ ระหว่างความผูกพันต่อบทบาทที่หลากหลาย สุขภาวะทางจิต ทักษะการบริหารจัดการ และผลการปฏิบัติงานด้านการบริหารจัดการของผู้บริหารมหาวิทยาลัยของรัฐ และ 3) ทดสอบความไม่แปรเปลี่ยนของโมเดลสมมุติฐานวิจัยระหว่างเพศ อายุ ระดับการศึกษา และกลุ่มสาขาวิชาของผู้บริหาร กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้บริหารภาควิชา/เทียบเท่าจำนวน 167 คน ได้มาจากการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน จากมหาวิทยาลัยของรัฐ ในกรุงเทพมหานคร 8 แห่ง เครื่องมือวิจัยเป็นแบบสอบถาม 3 ชุด สำหรับผู้บริหารภาควิชา/เทียบเท่า คณบดีและอาจารย์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยาย การวิเคราะห์ความแปรปรวน การวิเคราะห์ความแปรปรวนตัวแปรพหุนาม การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ด้วยโปรแกรม SPSS 11.5 การวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้างเพื่อตรวจสอบความตรงและความไม่แปรเปลี่ยน ของโมเดลสมมุติฐานวิจัยระหว่างเพศ อายุ ระดับการศึกษา และกลุ่มสาขาวิชาของผู้บริหารด้วยโปรแกรม LISREL 8.52 ผลการวิจัยที่สำคัญสรุปได้ว่า 1) ผู้บริหารที่ระดับอายุต่างกัน มีค่าเฉลี่ยของความผูกพันต่อบทบาทที่หลากหลาบ และผลการปฏิบัติงานด้านการบริหารจัดการไม่แตกต่างกัน แต่มีค่าเฉลี่ยของสุขภาวะทางจิตและทักษะการบริหารจัดการแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยผู้บริหารที่มีระดับอายุน้อยกว่าหรือเท่ากับ 50 ปี มีเป้าหมายในชีวิตสูงกว่าแต่มีความพึงพอใจในชีวิตและทักษะที่สัมพันธ์กับคนต่ำกว่าผู้บริหารที่มีระดับอายุ 51-60 ปี ส่วนผู้บริหารที่มีเพศ ระดับการศึกษา และกลุ่มสาขาวิชาต่างกัน มีค่าเฉลี่ยของความผูกพันต่อบทบาทที่หลากหลาย สุขภาวะทางจิต ทักษะการบริหารจัดการ และผลการปฏิบัติงานด้านการบริหารจัดการไม่แตกต่างกัน 2) ความผูกพันต่อบทบาทชีวิตที่หลากหลายทำนายสุขภาวะทางจิตในด้านความภาคภูมิใจในตนเอง และทักษะการบริหารจัดการในด้านทักษะระหว่างบุคคลกับทักษะที่สัมพันธ์กับงาน ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยอธิบายความแปรปรวนได้ 20.6% 24.2% และ 23.9% ตามลำดับ 3) โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุแบบอิทธิพลย้อนกลับระหว่างความผูกพันต่อบทบาทที่หลากหลาย สุขภาวะทางจิต ทักษะการบริหารจัดการ และผลการปฏิบัติงานด้านการบริหารจัดการของผู้บริหารมหาวิทยาลัยของรัฐที่พัฒนาขึ้นมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (ค่าไค-สแควร์ = 113.213 ; องศาความเป็นอิสระ = 115; ค่า P = .530; GFI = .932; AGFI = .888) ตัวแปรอิสระในโมเดลทั้ง 3 ตัวอธิบายความแปรปรวนในตัวแปรผลการปฏิบัติงานด้านการบริหารจัดการได้ร้อยละ 14.5 และ 4) โมเดลสมมุติฐานวิจัยของผู้บริหารที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา และกลุ่มสาขาวิชาแตกต่างกัน มีความไม่แปรเปลี่ยนในด้านรูปแบบโมเดล แต่มีความแปรเปลี่ยนของค่าพารามิเตอร์เมทริกซ์อิทธิพลเชิงสาเหตุระหว่างตัวแปรภายในแฝง (BE) และพารามิเตอร์อื่นๆ ยกเว้นค่าพารามิเตอร์เมทริกซ์อิทธิพลเชิงสาเหตุระหว่างตัวแปรภายในแฝง (BE) ที่ไม่มีความแปรเปลี่ยนระหว่างกลุ่มผู้บริหารที่มีระดับการศึกษาต่างกัน |
Other Abstract: | To 1) compare the averages of multiple role commitment, psychological well-being, managerial skills and performance between groups of administrators with different gender, age, educational levels, and fields and to study the effects of multiple life role commitment on psychological well-being and managerial skills of the government university administrators 2) develop and validate the non-recursive model displaying relationships between multiple role commitment, psychological well-being, managerial skills and performance of government university administrators, and 3) test the invariance of the hypothetical models across groups of administrators with different gender, age, educational levels and fields. The multi-stage sample consisted of 167 heads of department or equivalent from eight government universities in Bangkok. The research instruments were 3 questionnaires for department head, dean and staff member. Data analysis were descriptive statistics, anova, manova, and multiple regression analysis using SPSS 11.5. Structural equation model analysis using LISREL 8.52 to validate and to test the invariance of the hypothetical model across groups of administrators with different gender, age, educational levels, and fields. The major findings were 1) There were no significant differences in means of multiple role commitment and managerial performance but there were statistically significant difference in means of psychological well-being and managerial skills between groups of administrators with different age. The younger group (<=.50) had higher average of purposes in life but they had lower average of life satisfaction and people-related skills as compared to the older group (51-60). There were no significant differences in means of multiple role commitment, psychological well-being, managerial skills and performance between administrators with different gender, educational levels, and fields. 2) multiple life role commitment significantly predicted psychological well-being in the aspect of self-esteem and predicted managerial skills in the aspect of interpersonal skills and task-related skills with R2 equal to 20.6, 24.2 and 23.9, respectively. 3) the developed non-recursive model displaying relationships between multiple role commitment, psychological well-being, managerial skills and performance of government university administrators fitted nicely to the empirical data (chi-square = 113.213; df = 115; P = .530; GFI = .932; AGFI = .888). The three independent variables in the model could explain 14.5% of managerial performance 4) The hypothetical models were invariant in term of model form but they were invariant in term of causal effects between latent endogenous variables and other parameters across groups of administrators with different gender, age, educational level, and fields excepting the causal effects between latent endogenous variables were invariant across groups of administrators with different educational level. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548 |
Degree Name: | ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาเอก |
Degree Discipline: | วิธีวิทยาการวิจัยการศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/7530 |
ISBN: | 9745329193 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
pisamai.pdf | 6.37 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.