Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/754
Title: การประเมินราคาทางศุลกากร การตรวจสอบสินค้าก่อนส่งออก และอุปสรรคทางด้านเทคนิค : อุปสรรคแฝงทางการค้า
Authors: อิศรา ศานติศาสน์
Email: [email protected]
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเศรษฐศาสตร์
Subjects: ข้อตกลงทั่วไปว่าด้วยภาษีศุลกากรและการค้า
การประเมินราคาทางศุลกากร
การตรวจสอบสินค้าก่อนส่งออก
ภาษีศุลกากร
สินค้า--มาตรฐาน
Issue Date: 2539
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การเปลี่ยนแปลงการประเมินราคาทางศุลกากร (Customs Valuation, CV) มีปลกระทบที่สำคัญในเชิงการคุ้มกันทางการค้าหลาย ๆ ประการ คล้ายคลึงกับมาตรการทางภาษีศุลกากร การตรวจสอบสินค้าก่อนส่งออก (Pre-Shipment Inspection, PSI) มีจุดมุ่งหมายที่จะทำให้ราคาซื้อขายมีความเป็นธรรมมากขึ้น และอุปสรรคทางด้านเทคนิค (technical Barriers to Trade, TBT) เกิดจากการกำหนดมาตรฐานสินค้าที่อาจจะแปรเป็นอุปสรรคต่อการค้าระหว่างประเทศ ระบบการประเมินราคาทางศุลกากรของประเทศไทยในปัจจุบันวางรากฐานอยู่บนการเลือกใช้ราคาสูงสุดจากหลาย ๆ ราคา ซึ่งเทียบได้กับการเพิ่มอัตราภาษีศุลกากร จึงมีบทบาทในเชิงการเพิ่มระดับการคุ้มกันอุตสาหกรรมภายในประเทศ เป็นเครื่องมือในการส่งเสริมการผลิตเพื่อการทดแทนการนำเข้าและการเลือกปฏิบัติต่อผู้ประกอบการกลุ่มต่าง ๆ ซึ่งส่างผลในเชิงประสิทธิภาพ สร้างช่องโหว่ในการปฏิบัติงานและทำให้เกิดค่าใช้จ่ายในการอุทธรณ์ราคาซึ่งส่งผลต่อต้นทุนในการนำเข้าสินค้าและส่งผลกระทบต่อข้อมูลการค้าระหว่างประเทศ ตลอดจนรายด้ของรัฐจากภาษีนำเข้า ดังนั้นการเปลี่ยนแปลงไปสู่ระบบการประเมินราคาของแกตต์ซึ่งให้มีการประเมินราคาศึลกากรจากราคาซื้อขายจึงน่าจะลดความรุนแรงของผลกระทบดังกล่าวลง อย่างไรก็ตาม การนำราคาซื้อขายมาใช้ในการประเมินราคาก็ยังขึ้นอยู่กับเงื่อนไขจำนวนหนึ่ง ยิ่งไปกว่านั้น รายละเอียดหลาย ๆ ประการที่มีอยู่ในวิธีการประเมินราคาทางศุลกากรของแกตต์ก็เป็นประเด็นที่มีผลกระทบที่น่าสนใจ การตรวจสอบสินค้าก่อนส่งออก แม้จะไม่ใช่ประเด็นปัญหาของประเทศไทย แต่ก็เป็นประเด็นที่สำคัญสำหรับประเทศด้วยพัฒนาหลาย ๆ ประเทศที่ต้องการความมั่นใจว่าสินค้าที่ตนนำเข้ามาจากกประเทศที่พัฒนาแล้วมีคุณภาพตามที่ได้ตกลงไว้และมีราคาซึ่งสามารถตรวจสอบได้ ยิ่งไปกว่านี้ ประเทศเหล่านั้นยังต้องการใช้การตรวจสอบสินค้าก่อนส่งออกเป็นเครื่องมือในการควบคุมการใช้จ่ายเงินตราต่างประเทศ การไหลออกของเงินทุนที่มีอยู่จำกัด และระดับราคาสินค้านำเข้า ซึ่งได้รับการโต้แย้งจากประเทศที่พัฒนาแล้วว่าการตรวจสอบสินค้าก่อนส่งออกจะทำให้เกิดความเสียหายต่อเสรีภาพในการประกอบธุรกิจและกระทบกระเทือนต่อกลไกราคา อย่างไรก็ตาม แม้แกตต์จะมีข้อตกลงเกี่ยวกับเรื่องนี้ แต่ก็มีประเด็นที่ชี้ให้เห็นว่ความหวังของประเทศด้อยพัฒนาที่จะใช้การตรวจสอบสินค้าก่อนส่งออกเป็นครื่องมือในการตรวจสอบและควบคุมราคาสินค้านำเข้าอาจไม่เป็นผลดังที่ได้คาดหวังไว้ ข้อตกลงเกี่ยวกับอุปสรรคทางด้านเทคนิคมิได้ห้ามการที่ประเทศใดประเทศหนึ่งจะกำหนดมาตรฐานทางเทคนิคขึ้นมา แต่สนับสนุนการสร้างมาตรฐานที่เป็นสากลและเน้นการเผยแพร่รายละเอียดเกี่ยวกับมาตรฐานให้เป็นที่รู่ในระหว่างฝ่ายต่าง ๆที่เกี่ยวข้อง โดยให้ฝ่ายต่าง ๆ ได้มีโอกาสได้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับมาตรฐานดังกล่าว นอกจากนี้ยังได้กำหนดให้ประเทศผู้กำหนดมาตรฐานยินยอมให้มีช่วงระยะเวลาหนึ่งสำหรับประเทศอื่นในการปรับตัวในการผลิตสินค้าให้ได้ตามมาตรฐาน โดยทั่วไปแล้ว ข้อตกลงนี้ขึงช่วยให้ผลเสียของการกำหนดมาตรฐานทางเทคนิคและกระบวนการตรวจสอบมาตรฐานที่มีต่อการค้าระหว่างประเทศลดน้อยลง บทสรุปนี้ได้รับการยืนยันด้วยข้อมูลความคิดเห็นของผู้ประกอบการส่งออกสินค้าของไทยบางประเภท
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/754
Type: Technical Report
Appears in Collections:Econ - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Isara(imp).pdf6.88 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.