Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/75412
Title: | มาตรการทางกฎหมายเพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชนในเขตเศรษฐกิจพิเศษ |
Authors: | ฝนทิพย์ กระจ่างจันทร์ |
Advisors: | ทัชชมัย ฤกษะสุต |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์ |
Advisor's Email: | [email protected] |
Subjects: | กฎหมายกับการพัฒนาเศรษฐกิจ เศรษฐกิจชุมชน |
Issue Date: | 2562 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | เอกัตศีกษาฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหามาตรการทางกฎหมายที่เหมาะสมในการ ส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชนในเขตเศรษฐกิจพิเศษของประเทศไทย ด้วยวิธีการศึกษาและวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการรวบรวมข้อมูลเชิงเอกสารทั้งแบบปฐมภูมิและทุติยภูมิ เกี่ยวกับร่างพระราชบัญญัติเขต เศรษฐกิจพิเศษ พ.ศ. ... และประเด็นปัญหาเกี่ยวกับเศรษฐกิจชุมชน ความเป็นมา แนวคิด และ ตัวอย่างของเศรษฐกิจชุมชน มาตรการในการส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชนในเขตเศรษฐกิจพิเศษของ สาธารณรัฐประชาชนจีน รวมทั้งปัญหาและผลกระทบของการไม่มีการส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชนในเขต เศรษฐกิจพิเศษของไทย แล้วจึงได้น าข้อมูลที่ได้ศึกษามารวบรวม และวิเคราะห์ โดยการศึกษา มาตรการต่างๆ ในการส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชนในเขตเศรษฐกิจพิเศษของสาธารณรัฐประชาชนจีน และน ามาตรการของสาธารณรัฐประชาชนจีนมาปรับใช้ให้เหมาะสมกับบริบทของประเทศไทย จากการศึกษาพบว่า “ร่างพระราชบัญญัติเขตเศรษฐกิจพิเศษ พ.ศ. ...” ที่รัฐบาลมีความ พยายามจะประกาศใช้ ถูกต่อต้านจากภาคประชาชนโดยเฉพาะคนในพื้นที่ สาเหตุมาจากการที่ ประชาชนในท้องถิ่นถูกริดรอนอำนาจและสิทธิในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวมถึงวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของคนในชุมชน รวมถึงการที่ประชาชนไม่รู้สึกถึงการมีส่วนร่วมและการ เป็นเจ้าของ โดยมีประเด็นปัญหาที่สำคัญ 3 ประการคือ (1) ปัญหาจากการกำหนดนโยบายที่ไม่ได้ตั้ง ต้นจากชุมชน (2) ปัญหาจากการบริหารงานแบบรวมศูนย์อำนาจ ชุมชนไม่มีอำนาจการตัดสินใจ (3) ปัญหาจากการขาดการมีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่ต่อการกำหนดนโยบายที่เป็นของตนเอง จากปัญหาที่กล่าวมานี้ทำให้กฎหมายเขตเศรษฐกิจพิเศษของประเทศไทยยังไม่ถูกประกาศใช้ โดยผลการศึกษาพบว่า สาธารณรัฐประชาชนจีนเป็นประเทศที่ประสบความสำเร็จในการ จัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษเป็นอย่างมาก โดยปัจจัยแห่งความสำเร็จ คือ (1) รัฐบาลมีนโยบายการ ดำเนินงานลักษณะจากล่างขึ้นบน (Top - Down) (2) มีรูปแบบการบริหารงานแบบกระจายอำนาจ (Decentalization) และ (3) มีนโยบายให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายที่เป็นของตนเอง นอกจากนี้แล้ว ภายใต้กฎหมายเขตเศรษฐกิจพิเศษของสาธารณรัฐประชาชนจีนยังมีบทบัญญัติในการ คุ้มครองแรงงานในพื้นที่ รวมถึงมีมาตรการที่สามารถสร้างความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจระหว่าง เศรษฐกิจท้องถิ่นและเศรษฐกิจในประเทศได้เป็นอย่างดี จึงท าให้การส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชนในเขต เศรษฐกิจพิเศษของสาธารณรัฐประชาชนจีนประสบความส าเร็จอย่างสวยงาม เมื่อเปรียบเทียบกับ ประเทศไทยแล้ว ผู้เขียนจึงได้เสนอแนวทางในการส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชนในเขตเศรษฐกิจพิเศษของ ประเทศไทย โดยปรับเปลี่ยนมาตรการของรัฐ ดังนี้(1) กลไกในการกำหนดนโยบาย (2) กลไกในการ บริหารงาน (3) กลไกในการมีส่วนร่วมของชุมชน โดยรัฐบาลเป็นผู้ก ากับดูแล เพื่อช่วยลดการต่อต้าน จากภาคประชาชน และช่วยส่งเสริมให้เศรษฐกิจชุมชนในเขตเศรษฐกิจพิเศษประสบความส าเร็จ |
Description: | เอกัตศึกษา (ศศ.ม)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2562 |
Degree Name: | ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | กฎหมายเศรษฐกิจ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/75412 |
URI: | http://doi.org/10.58837/CHULA.IS.2019.143 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.58837/CHULA.IS.2019.143 |
Type: | Independent Study |
Appears in Collections: | Law - Independent Studies |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
6186189034.pdf | 2.06 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.