Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/75440
Title: | บทบาทของเอนไซม์เอสเทอเรสในพลาสมาต่อกระบวนการเมทาบอลิซึมของเคอร์คิวมินไดเอทิลไดซัคซิเนทในพลาสมาของมนุษย์ |
Other Titles: | The Role of Plasma Esterases on Metabolism of Curcumin Diethyl Disuccinate in Human Plasma |
Authors: | นันทนัช เอี่ยมหิรัญไกรลาศ พรจิต คงสุผล |
Advisors: | พรชัย โรจน์สิทธิศักดิ์ |
Other author: | คณะเภสัชศาสตร์ |
Advisor's Email: | [email protected] |
Subjects: | เคอคูมิน Curcumin การเผาผลาญ Metabolism |
Issue Date: | 2559 |
Publisher: | คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | เคอร์คิวมินไดเอทิลไดซัชิเนทเป็นโปรดรักของเคอร์คิวมินที่มีความคงตัวในบัฟเฟอร์ฟอสเฟต pH 7.4 และฤทธิ์ต้านเซลล์มะเร็งสูงกว่าเคอร์คิวมิน อีกทั้งสามารถปลดปล่อยเคอร์คิวมินในพลาสมาได้ นอกจากนี้ การศึกษาเภสัชจลนศาสตร์ของเคอร์คิวมินไดเอทิลไดซัคซิเนทในหนูแรทแสดงให้เห็นว่าสารนี้สามารถกระจายเข้าสู่เนื้อเยื่อได้ดีและช่วยเพิ่มระดับของเคอร์คิวมินในพลาสมาได้ เคอร์คิวมินไดเอทิลไดซัคชิเนทจึงมีความน่าสนใจในการนำไปพัฒนาต่อเป็นยา ทั้งนี้ การศึกษาเมทาบอลิซึมในพลาสมาของสารที่มีหมู่เอสเทอร์นั้นเป็นหัวข้อการศึกษาเภสัซจลนศาสตร์ในหลอดทดลองหัวข้อหนึ่งที่มีความจำเป็นสำหรับกระบวนการพัฒนายาใหม่ ในงานวิจัยนี้จึงทำการศึกษากระบวนการเมทาบอลิซึมเคอร์คิวมินไดเอทิลไดซัคซิเนทในพลาสมาของมนุษย์ซึ่งทำได้โดยวิเคราะห์หาปริมาณของเคอร์คิวมินไดเอทิลไดซัคซิเนทที่เหลืออยู่หลังจากบ่มในพลาสมาของมนุษย์ ณ เวลาต่างๆกัน ด้วยเทคนิค High-Performance Liquid Chromatography (HPLC) จากนั้น คำนวณหาค่าคงที่อัตราการเกิดปฏิกิริยาและค่าครึ่งชีวิตของเคอร์คิวมินไดเอทิลไดซัคชิเนทในพลาสมา ผลการศึกษาพบว่า เคอร์คิวมินไดเอทิลไดซัคซิเนทเกิดปฏิกิริยาไฮโดรไลชิสในพลาสมาของมนุษย์ได้อย่างรวดเร็วโดยมีค่าคงที่อัตราการเกิดปฏิกิริยาเท่ากับ 0.1293 นาที-1 และค่าครึ่งชีวิตในพลาสมาเท่ากับ 5.36 นาที โดยเคอร์คิวมินไดเอทิลไดซัคซิเนทสลายตัวในพลาสมได้ไวกว่าในบัฟเฟอร์ฟอสเฟต pH 7.4 ซึ่งก่อนหน้านี้ได้มีรายงานค่าครึ่งชีวิตที่ 7.66 ชั่วโมง ผลการทดลองนี้แสดงให้เห็นว่าเอนไซม์ในพลาสมาซึ่งคาดว่าเป็นเอนไซม์เอสเทอเรสมีบทบาทในการเร่งปฏิกิริยาการสลายตัวของเคอร์คิวมินไดเอทิลไดซัคชิเนท โดยข้อมูลที่ได้จากงานวิจัยนี้ร่วมกับข้อมูลจากการศึกษาทางเภสัชจลนศาสตร์อื่นๆจะเป็นประโยชน์ในการพัฒนาเคอร์คิวมินไดเอทิลไดซัคซิเนทเป็นยาต่อไป |
Other Abstract: | Curcumin diethyl disuccinate is a prodrug of curcumin with better stability and anti-cancer activity comparing to curcumin. It releases active parent curcumin in plasma, which is a desired property of prodrug. In pharmacokinetic studies in rats, it had superior tissue distribution in several organs and increased the plasma level of curcumin. Therefore, curcumin diethyl disuccinate has potential for further development as an anticancer agent. An evaluation of plasma metabolism of ester prodrugs is an important part of in vitro pharmacokinetic screening in drug development process. Therefore, the aim of this study is to investigate in vitro metabolism of curcumin diethyl disuccinate in human plasma. The amounts of remaining in plasma at different time intervals were determined by HPLC and kinetic parameters including hydrolysis rate constant and half-life were subsequently calculated. The results revealed that curcumin diethyl disuccinate can be rapidly metabolized in human plasma with the hydrolysis rate constant and half-life of 0. 1293 min-1 and 5.36 min, respectively. In comparison with previously reported half-life in phosphate buffer pH 7.4 of curcumin diethyl disuccinate at 7.66 h, the degradation of curcumin diethyl disuccinate in human plasma was significantly higher than that in phosphate buffer. The results suggest the involvement of plasma esterases in the hydrolytic process. The information obtained from this study accompanied with other pharmacokinetic studies will be useful for further development of CDD as a drug candidate. |
Description: | โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาเภสัชศาสตร์บัณฑิต สาขาวิชาการค้นพบและพัฒนายา คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2559 |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/75440 |
Type: | Senior Project |
Appears in Collections: | Pharm - Senior projects |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Pharm_SeniorProject_3.1_2559.pdf | ไฟล์โครงงานทางวิชาการฉบับเต็ม(3.1-2559) | 945.74 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.