Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/7551
Title: การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีขยายความคิดของเรเกลลูท เพื่อส่งเสริมความแม่นยำด้านเนื้อหาความรู้ ความชำนาญในการปฏิบัติงาน และความสามารถในการถ่ายโยงการเรียนรู้ของผู้เรียนในระดับอุดมศึกษา
Other Titles: Development of an instructional model based on Reigeluth's elaboration theory for enhancing content accuracy, task expertise and transfer of learning abilities of higher education level students
Authors: วิภาวรรณ วงษ์สุวรรณ์
Advisors: ทิศนา แขมมณี
สร้อยสน สกลรักษ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: [email protected]
ไม่มีข้อมูล
Subjects: การเรียนรู้
ระบบการเรียนการสอน
ภาษาไทย -- การศึกษาและการสอน (อุดมศึกษา)
การถ่ายโยงการฝึกอบรม
Issue Date: 2548
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 2 ประการคือ เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีขยายความคิด เพื่อส่งเสริมความแม่นยำด้านเนื้อหาความรู้ ความชำนาญในการปฏิบัติงาน และความสามารถในการถ่ายโยงการเรียนรู้ของผู้เรียนในระดับอุดมศึกษา และเพื่อประเมินประสิทธิผลของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีขยายความคิด โดยการเปรียบเทียบความแม่นยำด้านเนื้อหาความรู้ และความชำนาญในการปฏิบัติงานของผู้เรียนกลุ่มทดลอง ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบที่พัฒนาขึ้น กับผู้เรียนกลุ่มควบคุมที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ และเปรียบเทียบความสามารถในการถ่ายโยงการเรียนรู้ของผู้เรียนกลุ่มทดลองก่อนและหลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่างเป็นนิสิตคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จำนวน 75 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองจำนวน 45 คน และผู้เรียนกลุ่มควบคุมจำนวน 30 คน ใช้เวลาในการทดลองสอน 6 สัปดาห์ การวิเคราะห์ข้อมูลทำโดยการเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยความแม่นยำ ด้านเนื้อหาความรู้ของกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม โดยใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วม (ANCOVA) การเปรียบเทียบความชำนาญในการปฏิบัติงานของกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม โดยใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวน (ANOVA) และการเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยความสามารถในการถ่ายโยงการเรียนรู้ของกลุ่มทดลอง ก่อนและหลังการทดลอง โดยใช้สถิติ t-test และการวิเคราะห์เนื้อหาจากบันทึกการเรียนรู้ของผู้เรียน ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. รูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้นมีหลักการ 3 ประการคือ การขยายความคิด การเชื่อมโยงมโนทัศน์ในการเรียนรู้ และการถ่ายโยงการเรียนรู้ วัตถุประสงค์ของรูปแบบการจัดการเรียนรู้คือ เพื่อส่งเสริมความแม่นยำด้านเนื้อหาความรู้ ความชำนาญในการปฏิบัติงาน และความสามารถในการถ่ายโยงการเรียนรู้ ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้มีขั้นตอนใหญ่ๆ 2 ขั้น ได้แก่ 1) ขั้นเตรียมการ เป็นขั้นตอนในการเตรียมและจัดลำดับเนื้อหาตามทฤษฎีขยายความคิด และการเตรียมแนวคิดนำ 2) ขั้นสอน มีขั้นตอนย่อย 4 ขั้นตอน ได้แก่ 2.1) ขั้นนำ คือนำเข้าสู่บทเรียน การเสนอแนวคิดนำ และการให้ผู้เรียนระบุความรู้เดิมที่สัมพันธ์กับสิ่งที่จะเรียน 2.2) ขั้นขยายความคิดของผู้เรียนจากฐานความรู้เดิม และฝึกปฏิบัติจนทำได้ 2.3) ขั้นให้ผู้เรียนฝึกปฏิบัติจนชำนาญ เป็นขั้นตอนที่ให้ผู้เรียนฝึกปฏิบัติจนชำนาญ และขยายการเรียนรู้โดยอิสระ และ 2.4) ขั้นจัดประสบการณ์ให้ผู้เรียนถ่ายโยงการเรียนรู้ เป็นขั้นตอนที่ให้ผู้เรียนสรุปสาระที่ได้เรียนรู้ เชื่อมโยงความรู้เดิมกับความรู้ใหม่ และเชื่อมโยงความรู้ที่ได้เรียนรู้ไปสู่บริบทใหม่ ส่วนการวัดและประเมินผลทำทั้งในระหว่างการจัดการเรียนรู้และหลังการจัดการเรียนรู้ 2. การทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้นกับกลุ่มทดลอง โดยการเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุมแสดงให้เห็นว่า หลังการทดลองกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยความแม่นยำด้านเนื้อหาความรู้ และความชำนาญในการปฏิบัติงานสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยความสามารถในการถ่ายโยงการเรียนรู้หลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพจากบันทึกการเรียนรู้ของผู้เรียนกลุ่มทดลองแสดงให้เห็นว่า การเรียนรู้ตามรูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้นช่วยส่งเสริมให้ผู้เรียนเชื่อมโยงเนื้อหาสาระแต่ละหัวข้อในวิชาที่เรียน เนื้อหาสาระของวิชาต่างๆที่เกี่ยวเนื่องกัน และนำไปสิ่งที่เรียนรู้ไปเชื่อมโยงในชีวิตประจำวันได้ดี และยังช่วยพัฒนาผู้เรียนในด้านต่างๆ ได้แก่ ด้านความสามารถในการสังเคราะห์และสรุปความ ด้านการถ่ายโยงการเรียนรู้ ด้านความสามารถในการให้เหตุผล และด้านความชำนาญในการปฏิบัติงาน
Other Abstract: The two purposes of this research were to develop an instructional model based on Reigeluth's elaboration theory for enhancing content accuracy, task expertise and transfer of learning abilities of higher education level students; to evaluate the effectiveness of the developed instructional model by comparing content accuracy and task expertise of undergraduate students who learned through this instructional model with those who learned through the regular instructional method; and by comparing transfer of learning abilities of students who learned through this instructional model before and after implementing the developed instructional model. The subjects were 75 undergraduate students of Faculty of Education, Chulalongkorn University. These subjects were divided into two groups; 45 students were experimental group and 30 students were control group. The duration of experiment was 6 weeks. The data were analyzed by using ANCOVA for comparing the content accuracy; using ANOVA for comparing task expertise; and using t-test for comparing transfer of learning abilities. Moreover, students' learning logs were analyzed by using content analysis. The findings of this study were as follows 1. The developed instructional model consisted of 3 principles which emphasized on the elaboration knowledge, the combination of learning concepts, and the transferring of learning. The objectives of this model were to enhance content accuracy, task expertise; and transfer of learning abilities. The two main stages of instructional processes were 1) the preparation stage, the stage of selecting and sequencing subject matters including the preparing of an advance organizer; 2) the teaching stage, consisting of 4 substages which were 2.1) presenting an advance organizer and specifying the prior knowledge; 2.2) presenting new knowledge and practicing tasks; 2.3) practicing for mastering the skills and expanding of knowledge; 2.4) transferring of knowledge applying new knowledge to the new contexts. For the learning evaluation, both formative and summative evaluations were implemented. 2. After implementing the developed instructional model it was found that content accuracy and task expertise of the experimental group were significantly higher than those of the control group at .05 level; and the post-test score of the transfer of learning ability of the experimental group was significantly higher than that of the pre-test score at .05 level. 3. From students' learning logs, it was found that this model enhanced students skills in integrating the subject matters learned and skills in using and applying their knowledge in real lives. Moreover, this instructional model also developed students' skills in synthesizing, summarizing, transferring of knowledge, giving reasons, and performing tasks.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548
Degree Name: ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: หลักสูตรและการสอน
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/7551
ISBN: 9741738536
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
wipawan.pdf2.84 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.