Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/758
Title: | การสอบสมิทธิภาพทั่วไปทางภาษาอังกฤษ ครั้งที่ 2 ปี พ.ศ. 2535 ในโครงการ การสร้างและพัฒนาคุณภาพแบบทดสอบสมิทธิภาพทั่วไปทางภาษาอังกฤษและระบบการทดสอบที่เกี่ยวข้อง : รายงานการวิจัย |
Other Titles: | General English proficiency testing: Phase II, 1991 |
Authors: | อัจฉรา วงศ์โสธร ศิริพร พงษ์สุรพิพัฒน์ |
Email: | [email protected] [email protected] |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สถาบันภาษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สถาบันภาษา |
Subjects: | ภาษาอังกฤษ--การทดสอบความสามารถ ความสามารถทางภาษา |
Issue Date: | 2535 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Series/Report no.: | ในโครงการการสร้างและพัฒนาคุณภาพแบบทดสอบสมิทธิภาพทั่วไปทางภาษาอังกฤษและระบบการทดสอบที่เกี่ยวข้อง |
Abstract: | งานวิจัยเรื่อง "การสอบสมิทธิภาพทั่วไปทางภาษาอังกฤษ ครั้งที่ 2 ปี 2534" เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ "การสร้างและพัฒนาคุณภาพแบบทดสอบสมิทธิภาพทั่วไปทางภาษาอังกฤษและระบบการทดสอบที่เกี่ยวข้อง" ซึ่งเป็นโครงการที่ฝ่ายวิชาการและสถาบันภาษาของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดขึ้นร่วมกัน วัดตถุประสงค์ของการดำเนินงานระยะที่ 2 พ.ศ. 2534 มีดังนี้ 1. เพื่อพัฒนาข้อทดสอบสมิทธิภาพทั่วไปทางภาษาอังกฤษด้านการฟัง การอ่าน และการเขียนเพิ่มมากขึ้นจากข้อทดสอบที่ได้จากการสร้างขึ้นในการวิจัยระยะที่ 1 และให้ได้แบบทดสอบ 4 ฉบับ ที่คู่ขนานกันในด้านเนื้อหาและสถิติโดยใช้ตารางวิเคราะห์เช่นเดียวกัน 2. เพื่อวิเคราะห์และปรับปรุงแบบทดสอบทั้งฉบับและเป็นรายข้อ 3. เพื่อพัฒนาแบบทดสอบให้เป็นมาตรฐานและนำเก็บไว้ในคลังข้อทดสอบโดยใช้คอมพิวเตอร์ ประชากรเชิงนิยาม ในการวิจัยครั้งนี้คือนิสิตชั้นปีที่ 1 ถึงนิสิตบัณฑิตศึกษาและบุคคลภายนอกทั่วไปที่มีพื้นความรู้ตั้งแต่ระดับปริญญาตรีขึ้นไปที่มีความสนใจและสมัครสอบ เพื่อวัดระดับสมิทธิภาพทั่วไปทางภาษาอังกฤษด้วยตนเอง ซึ่งมีผู้มีสิทธิสมัครสอบจำนวน 2,334 คน พลวิจัยคือผู้ที่ได้เข้าทดสอบแบบทดสอบสมิทธิภาพทั่วไปทางภาษาอังกฤษ จำนวน 481 คน คิดเป็นร้อยละ 20.57 ของผู้มีสิทธิสมัครสอบทั้งหมด และบุคคลภายนอกจำนวน 87 คน เข้ารับการทดสอบแบบทดสอบสมิทธิภาพทั่วไปทางภาษาอังกฤษฉบับปรับปรุง แบบทดสอบสมิทธิภาพทั่วไปทางภาษาอังกฤษทั้ง 4 ฉบับ เป็นแบบทดสอบอิงเกณฑ์ประกอบด้วยข้อสอบปรนัย 480 ข้อ อัตนัย 12 ข้อ ผ่านการวิเคราะห์เป็นรายข้อและทั้งฉบับเพื่อหาค่าความยากง่าย อำนาจจำแนก ค่าความเที่ยง และค่าอำนาจในการทำนาย ผู้วิจัยใช้การวิเคราะห์แบบประเพณีนิยม เพื่อปรับปรุงคัดเลือก ตัวลวง และใช้การวิเคราะห์รายข้อตามแบบทฤษฎีความสามารถแฝงด้วยวิธี Rasch Model เพื่อให้ได้ข้อทดสอบที่มีค่าความยากง่ายคงที่สำหรับเก็บไว้ในคลังข้อสอบ ผลการวิจัยสรุปได้ว่า (1) ได้แบบทดสอบปรนัยวัดทักษะฟัง อ่าน และเขียน จำนวน 4 ฉบับ มีค่าความเที่ยงดีมาก 2 ฉบับ และดี 2 ฉบับ แบบทดสอบปรนัยมีค่าความเที่ยงแบบ KR[subscript 20]= .854-.910 และ Phi = .822-.896 ค่าอำนาจในการทำนาย 48.00-58.50 และได้แบบทดสอบอัตนัยวัดความสามารถทางการเขียนที่อยู่ในเกณฑ์พอใช้ได้ - ดี (R[subscript xy] = .594-.840) (2) ได้ข้อทดสอบแบบปรนัยวัดสมิทธิภาพทั่วไปทางภาษาอังกฤษที่มีคุณภาพดีมากถึงพอใช้ได้ 471 ข่อ (3) ได้ข้อทดสอบแบบอัตัยวัดสมิทธิภาพททางการเขียนที่มีคุณภาพดีถึงพอใช้ได้ 12 ข้อ และ (4) ได้ข้อทดสอบแบบปรนัยวัดสมิทธิภาพทั่วไปทางภาษาอังกฤษ ซึ่งได้มาตรฐานเข้าเกณฑ์ของ Tasch Model 414 ข้อ |
Other Abstract: | The research project entitled "General English Preficiency Texting: Phase II, 1991" is part of a project coordinated by the Academic Affairs Division and Chulalongkorn University Language Institute to develop standardized tests of general English proficiency and related testing systems. The objectives of the research were as follows: 1.to generate more test items than those in the Phase I research by using the same test table of specifications 2. to analyze and improve the constructed test items item by item as well as by form 3. to standardize the tests and enter them into the computerized test-item banking system. The population of the research numbering 2,334 were Chulalongkorn University students from first year to graduate level, and the general public with at least a Bachelor's degree who voluntarily enrolled for the tests. The subjects in the first administration of the four forms of the tests numbered 481 or 20.57% of the population. The subjects in the second administration taking the revised version of the tests numbered 87. The tests constructed, administered, analyzed, and revised are criterion-referenced tests of general English proficiency consisting of 480 objective-type and 12 subjective-type items. The classical model of test item analysis was used for item revision while the Rasch model was for item banking. The study led to (1) the development of 480 objective items testing the listening, reading and writing skills grouped in four parallel test forms with reliability indices ranging from acceptable to high (KR 20 = .854 - .910, Phi coefficients = .820 - .896), the efficiency of prediction E= 48.00 - 58.50; and 12 subjective items measuring the skills of writing with acceptable to high reliability indices (r[subscript xy = .554 -.840); (2) the 471 standardized objective test items; (3) 12 standardized subjective test items and (4) 414 objective test items which fir the Rasch model item analysis. |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/758 |
Type: | Technical Report |
Appears in Collections: | Lang - Research Reports |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Ajchara(2535).pdf | 10.99 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.