Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/7615
Title: การวิเคราะห์คุณลักษณะไทย คุณค่า และกระบวนการถ่ายทอดศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัวแบบไทย : กระบี่กระบอง
Other Titles: An analysis of Thai characteristics, values and transmission process of Thai martial arts : Krabi-Krabong
Authors: สุจิตรา สุคนธทรัพย์
Advisors: กรรณิการ์ สัจกุล
สุวัฒนา สุวรรณเขตนิคม
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
[email protected]
Subjects: กระบี่กระบอง
การป้องกันตัว
วัฒนธรรมไทย
ไทย -- ความเป็นอยู่และประเพณี
Issue Date: 2540
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาคุณลักษณะไทย คุณค่า และกระบวนการถ่ายทอดศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัวแบบไทย วิเคราะห์เชิงคุณภาพในด้านคุณลักษณะไทย คุณค่า และกระบวนการถ่ายทอดศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัวกระบี่กระบอง และนำเสนอกระบวนการถ่ายทอด คุณลักษณะไทย คุณค่าในศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัวกระบี่กระบอง โปรแกรมการวิจัยประกอบด้วย การศึกษาเชิงประวัติศาสตร์ การศึกษาภาคสนาม จำนวน 6 สนาม และการประชุมกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ ผลการวิจัยพบว่า (1) พัฒนาการของการต่อสู้ป้องกันตัวแบบไทยมี 3 ระยะ คือ ยุคการรบและการทหารแบบโบราณ ยุคเริ่มการรบและการทหารสมัยใหม่ และยุคการรบและการทหารสมัยใหม่ คุณลักษณะไทยที่ปรากฏประกอบด้วย องค์รวมของความกตัญญูกตเวที ความวิริยะ ความมีขันติ ความสามัคคี และพรหมวิหารสี่ คุณค่าประกอบด้วย คุณค่าในวิชา คือใช้ในการป้องกันตัว คุณค่าในผู้เรียน คือ รักชาติ ภูมิใจในความเป็นไทย และคุณค่าในสังคมคือ การมีวินัย เสียสละเพื่อส่วนรวม กระบวนการถ่ายทอดที่สำคัญประกอบด้วย การจัดประสบการณ์ตรงให้กับผู้เรียนโดยครูต้นแบบที่มีคุณภาพ ด้วยการสอนทักษะพร้อมไปกับการอบรมบ่มนิสัยผู้เรียน (2) ปัจจุบันพบว่า คุณลัษณะไทยในศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัวกระบี่กระบอง ประกอบด้วย ความกตัญญูกตเวที ความวิริยะ ความมีขันติ ความสามัคคี และพรหมวิหารสี่ แต่เป็นลักษณะแยกส่วน คุณค่าที่พบมีคุณค่าในวิชา เป็นการแสดงที่เป็นเอกลักษณ์ของไทย คุณค่าในผู้เรียนคือ มีสติ มีไหวพริบ และคุณค่าในสังคมคือ การมีวินัย แต่คุณค่าดังกล่าวไม่ครบถ้วนสมบูรณ์ กระบวนการถ่ายทอดประกอบด้วย การจัดประสบการณ์ตรงให้แก่ผู้เรียน ครูต้นแบบที่มีความชำนาญในกระบี่กระบอง สอนเน้นเฉพาะทักษะ (3) ในอนาคตกระบวนการถ่ายทอดศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัวกระบี่กระบอง ควรจัดประสบการณ์ตรงที่มีความหมายให้กับผู้เรียน สอนทั้งทักษะและอบรมบ่มนิสัย โดยยึดหลักไตรสิกขา ครูต้นแบบมีคุณภาพ คุณลักษณะไทยที่ปรากฏควรเป็นลักษณะของ "สุนทรียธรรม" และจัดให้มีคุณค่าสมบูรณ์ ทั้งคุณค่าในวิชา คือใช้ในการป้องกันตัว คุณค่าในผู้เรียนคือ รักความเป็นไทย รักชาติ และคุณค่าในสังคมคือ การมีวินัย การเสียสละเพื่อส่วนรวม
Other Abstract: To study the Thai characteristics, values and the transmission process of Thai martial arts, to do a qualitative analysis of Thai characteristics, values and the transmission process of Krabi-Krabong, and to present the transmission process of the Thai characteristics, and values and the transmission process of Krabi-krabong. The research program composed of a historical study, a field study, in 6 sites and the group dission of experts. The findings of this research were as follows: 1) The development of Thai martial arts fell into 3 periods: (1) a war time and ancient war strategy period, (2) a period marked by the advent of new warfare and a new military strategy, and (3) a period of new warfare and a new military strategy. The Thai characteristics include embodiment of Katunyukatavatee (gratitude), Viriya (diligence), Khanti (patience), Samukkee (solidarity) and Phromviharnsi (the four noble states of mind). Values in knowledge of self defence, in the learners as evidenced by nationalism, pride in the Thai identity, social values as featured by a sense of discipline, and sacrifice for a common interest. The main transmission process comprised the reenactment of real-life experience for learners by transferring a quality model master of Krabi-Krabong in terms of skills and a desirable conduct on the part of the learners. 2) It had been shown that the Thai characteristics of krabi-Krabong comprised such qualities as Katunyukatavatee, Viriya, Khanti, Samukkee and phromviharnsi, all of which were isolated one from another. Values in knowledge as evidenced by the Thai identity were such values in the learners as mindfulness, wit and such social values as a sense of discipline, all of which were only partial. The transmission process includes the reenactment of real-life experience for the learners by imparting a model well-versed in Krabi-Krabong with emphasis on skills. 3) In the future, the transmission process of Krabi-Krabong should focus on the reenactment of meaningful real-life experience for the learners; imparting both skills and a desirable conduct, based on Tri-sikka (the threefold method of training in morality, concentration, and wisdom). The model master in the learning process must be of quality. The Thai characteristics should be relevant to "Suntareyatum" and the integrity of all components in terms of values in knowledge, namely, the martial arts, values in the learners, pride in the Thai identity, nationalism and such social values as a sense of discipline and sacrifice for the common interest.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2540
Degree Name: ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: พัฒนศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/7615
ISBN: 9746383752
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Suchitra_Su_front.pdf1.08 MBAdobe PDFView/Open
Suchitra_Su_ch1.pdf1.27 MBAdobe PDFView/Open
Suchitra_Su_ch2.pdf2.51 MBAdobe PDFView/Open
Suchitra_Su_ch3.pdf1.09 MBAdobe PDFView/Open
Suchitra_Su_ch4.pdf8.85 MBAdobe PDFView/Open
Suchitra_Su_ch5.pdf5.58 MBAdobe PDFView/Open
Suchitra_Su_ch6.pdf1.91 MBAdobe PDFView/Open
Suchitra_Su_ch7.pdf2.7 MBAdobe PDFView/Open
Suchitra_Su_back.pdf2.17 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.