Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/764
Title: การประเมินผลความต่อเนื่องและความเหมาะสมของหลักสูตรภาษาอังกฤษที่ใช้ในคณะต่าง ๆ ในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย : รายงานการวิจัย
Other Titles: An evaluation of the continuation and appropriateness of English curricula used in different faculties in Chulalongkorn University
Authors: สุพัฒน์ สุกมลสันต์
Email: [email protected]
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สถาบันภาษา
Subjects: ภาษาอังกฤษ--หลักสูตร
ภาษาอังกฤษ--การศึกษาและการสอน (อุดมศึกษา)
Issue Date: 2547
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์หลักของการวิจัยครั้งนี้ เพื่อประเมินผลหลักสูตรรายวิชาภาษาอังกฤษต่าง ๆ ของสถาบันภาษาจำนวน 39 รายวิชาในระดับมหภาคใน 9 มิติ และ 34 ด้าน และเพื่อประเมินความสอดคล้องของแต่ละหลักสูตรรายวิชาด้านสภาวะแวดล้อม ปัจจัยนำเข้า กระบวนการ และผลลัพธ์ว่ามีมากน้อยเพียงใด พลวิจัยในการประเมินประกอบด้วยนิสิตที่ลงทะเบียนเรียนภาษาอังกฤษรายวิชาต่าง ๆ ของสถาบันภาษาในปีการศึกษาในปีการศึกษา พ.ศ. 2545 จำนวนตั้งแต่ 7 ถึง 1,929 คน ซึ่งได้จากการสุ่มอย่างง่ายเมื่อกำหนดให้ความเชื่อมั่นร้อยละ 95 และความคลาดเคลื่อนในการสุ่มไม่มากกว่าร้อยละ 5 เครื่องมือในการวิจัยได้แก่แบบสอบถามแบบ Likert Scale ชนิดมาตรวัด 7 ระดับที่มีความตรงเชิงเนื้อหา = 0.93 และความเที่ยง = 0.956 เพื่อสอบถามความคิดเห็นของพลวิจัย แล้วทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรม SPSS ด้วยสถิติบรรยาย และ X[square] test ผลของการประเมินโดยสรุปเป็นดังนี้ 1. ผลการประเมินหลักสูตรรายวิชาต่าง ๆ ใน 9 มิติ คือ 1) หลักสูตรรายวิชาต่าง ๆ มีความจำเป็นต่อผู้เรียนมาก 2) ความต่อเนื่องของหลักสูตรรายวิชาต่าง ๆ มีค่อนข้างมาก 3) หลักสูตรมีความเหมาะสมค่อนข้างมาก 4) ความสอดคล้องของกิจกรรมการเรรียนการสอนกับปัจจัยต่าง ๆ มีในระดับค่อนข้างมาก 5) ปริมาณการใช้ภาษาอังกฤษในการเรียนการสอนมีในระดับค่อนข้างมาก 6) ความหลากหลายของปัจจัยนำเข้าและกระบวนการเรียนการสอนมีค่อนข้างมาก 7) การเรียนการสอนแบบให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางมีค่อนข้างมาก 8) ผูเรียนมีเจตคติที่ดีต่อหลักสูตรรายวิชาต่าง ๆ ค่อนข้างมาก 9) ผู้เรียนมีความพึงพอใจ ได้รับประโยชน์ และประสบผลสำเร็จในการเรียนหลักสูตรรายวิชาต่าง ๆ โดยเฉลี่ยค่อนข้างมาก 2. โดยทั่ว ๆ ไป รายวิชาต่าง ๆมีความสอดคล้อง ปัจจัยนำเข้า กระบวนการและผลลัพธ์ค่อนข้างสูง โดยเฉลี่ยแล้วผู้เรียนมีความเห็นว่าภาษาอังกฤษมีความสำคัญและจำเป็นมาก ปัจจัยต่าง ๆ ที่จำเป็นในการเรียนการสอนของหลักสูตรรายวิชาต่าง ๆ อยู่ในระดับดีค่อนข้างมาก กระบวนการเรียนการสอนอยู่ในระดับดีค่อนข้างมาก และผลลัพธ์ที่ได้จากหลักสูตรก็อยู่ในระดับดีค่อนข้างมาก เช่นเดียวกัน
Other Abstract: The main purpose of this study were to evaluate 39 English courses offered by the Language Institute at a macro-level 9 dimensions and 34 aspects, and to evaluate the contigency of context, input, process and output of each course. The subjects in the study, ranging from 7 to 1,1129 were those who registered to study in the mentioned courses in th eacademic year 2002. They were simply randomized from the whole population by SPSS Prgram (Statistical Package for the Social Sciences) when the reliability in sampling was set at 95% and sampling error was not more than 0.05%. The research instrument was a set of 7-level Likert scale opinionnaires asking the subjects for their opinions about each course in the dimensions and aspects mentioned above. They were given to the subject about a week before the end of each semester. The data from the opinionnaires were analyzed by means of descriptive statistics and chi-square tests.The findings can be summarized as follows. 1 Generally speaking , it was found in the 9 dimensions that: 1) all courses were still in need, 2) the continuation of coure contents was rather high, 3)the courses were rather appropriate for the learners, 4) the contigency between learning activities andn other factors was rather high, 5) teachers and students used English language in class rather frequently, 6) There was rather a variety of activities in input an dprocess, 7) rather many learner-centered learning activities were used, 8) the students had rather high positive attitudes towards the courses, and 9) the students were rather highly satisfied with the course outcome. 2. Generally speaking, the contingencies of context, input, process, and product factors of the courses were rather high. On average, the students thought that English language was very important and necessary for them. Necessary input and process factors for learning and teaching different courses were rather ready and appropriate. Consequently, the products of the courses were rather very satisfactory.
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/764
Type: Technical Report
Appears in Collections:Lang - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Supat(eng).pdf23.93 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.