Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/7741
Title: การประยุกต์ใช้การวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติก และการวิเคราะห์อิทธิพลในการศึกษา ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความคาดหวังในการศึกษาต่อ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษา ในเขตการศึกษา 11
Other Titles: The application of logistic regression analysis and path analysis to study factors affecting elementary school students continuing education expectation in educational region eleven
Authors: ภิญโญ วรรณสุข
Advisors: นงลักษณ์ วิรัชชัย
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: [email protected]
Subjects: ผู้สำเร็จการศึกษาขั้นประถม -- ไทย
การศึกษาต่อเนื่อง -- ไทย
การวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติก
การวิเคราะห์อิทธิพล
Issue Date: 2540
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมาย เพื่อประยุกต์ใช้การวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติก และการวิเคราะห์อิทธิพลร่วมกันในการสร้างและตรวจสอบความตรงของโมเดลความคาดหวังในการศึกษาต่อของนักเรียนชั้นประถมศึกษา เพื่อเปรียบเทียบความเหมาะสมของการวิเคราะห์อิทธิพลระหว่างการใช้ค่าลอการิทึมของอัตราส่วนแต้มต่อกับค่าที่ได้จากการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณเป็นตัวแปรผลในโมเดล และศึกษาว่าตัวแปรที่เป็นสาเหตุในโมเดลแต่ละตัว พยากรณ์ความน่าจะเป็นของความคาดหวังในการศึกษาต่อ ในรูปอัตราส่วนแต้มต่อได้มากน้อยต่างกันอย่างไร กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาคือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2540 จำนวน 500 คน สุ่มเลือกมาจากประชากรในเขตการศึกษา 11 เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรม SPSS/PC+ โปรแกรม PRELIS 2.10 และโปรแกรม LISREL 8.10 ผลการวิจัยสรุปได้ว่า โมเดลความคาดหวังในการศึกษาต่อที่พัฒนาขึ้นสามารถอธิบายความแปรปรวนในตัวแปรความคาดหวังในการศึกษาต่อของนักเรียนได้ร้อยละ 90.9 มีความตรงและกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์อย่างสมบูรณ์ด้วยค่าไค-สแควร์ เท่ากับ 2.139 ความน่าจะเป็นเท่ากับ 0.343 ที่องศาอิสระ 2 ค่าดัชนีวัดความกลมกลืนเท่ากับ 0.999 ตัวแปรความมุ่งหวังของผู้ปกครองที่จะให้บุตรได้รับการศึกษาขั้นสูง ระดับการศึกษาของผู้ปกครอง รายได้ของผู้ปกครอง และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน มีอิทธิพลทางตรงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติต่อตัวแปรความคาดหวังในการศึกษาต่อของนักเรียน และตัวแปรพยากรณ์ทุกตัวมีอิทธิพลทางอ้อมและผลรวมอิทธิพลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ การวิเคราะห์อิทธิพลโดยใช้ค่าลอการิทึมของอัตราส่วนแต้มต่อมีความเหมาะสมมากกว่าการใช้ค่าที่ได้จากการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ตัวแปรที่สามารถพยากรณ์อัตราส่วนแต้มต่อของความคาดหวังในการศึกษาต่อของนักเรียน เรียงลำดับความสำคัญจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ตัวแปรผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน รายได้ของผู้ปกครองมากกว่า 60,000 บาท ผู้ปกครองอาชีพเกษตรกรรม ความมุ่งหวังของผู้ปกครองที่จะให้บุตรได้รับการศึกษาขั้นสูง และระดับการศึกษาของผู้ปกครอง ตามลำดับ
Other Abstract: The purposes of this research were to apply logistic regression analysis together with path analysis in developing and validating the elementary school students' continuing education expectation model, in comparing the appropriation between the path analysis using the odds ratio and the predicted expectation scored from the multiple regression as dependent variable, and in studying the extent to which the predictors in the model could predict the odds ratio between the expectation of continuing/not continuing education. The research sample consisted of 500 students randomly selected from prathom suksa 6 students in the academic year 2540 from educational region eleven. Data were collected by means of questionnairs and analyzed through SPSS/PC+, PRELIS 2.10 and LISREL 8.10 programs. The research results indicated that the developed model of continuing education expectation could accounted for 90.9% of variance in the students' continuing education expectation, and it was perfectly valid and fit to the empirical data with chi-square of 2.139 at 2 df, p=0.343, GFl=0.999. Parental expectation for furthering their children education, parental education and income, and student achievement had significant direct effects on students' continuing education expectation. All predictors were found to have significant indirect and total effects. Path analysis with log odds ratio, rather than with predicted expectation scores, was more appropriate. The predictors, ranked in the consecutive order of contribution in predicting odds ratio of continuing education expectation, were student achievement, parental yearly income greater than 60,000 Baht, parental agricultural occupation, prental expectation for furthering their children education, and parental education, respectively.
Description: วิทยานิพนธ์(ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2540
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิจัยการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/7741
ISBN: 9746388177
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pinyo_Va_front.pdf1.1 MBAdobe PDFView/Open
Pinyo_Va_ch1.pdf1.3 MBAdobe PDFView/Open
Pinyo_Va_ch2.pdf2.64 MBAdobe PDFView/Open
Pinyo_Va_ch3.pdf1.11 MBAdobe PDFView/Open
Pinyo_Va_ch4.pdf2.18 MBAdobe PDFView/Open
Pinyo_Va_ch5.pdf1.35 MBAdobe PDFView/Open
Pinyo_Va_back.pdf1.92 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.