Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/77469
Title: การพิสูจน์อัตลักษณ์ของพืชสมุนไพรไทยที่ใช้ชื่อพ้อง "โคคลาน" โดยแถบรหัสดีเอ็นเอ ร่วมกับเทคนิคการตรวจวิเดราะห์การหลอมเหลวความละเอียดสูง
Other Titles: Authentication of the Thai medicinal plants sharing the same common name "Kho Khlan" by DNA barcoding coupled with high resolution melting (Bar-HRM) analysis
Authors: วิภาวี พิเชฐกูล
สุธาทิพย์ แก้วทองเลี่ยม
Advisors: สุชาดา สุขหร่อง
Other author: คณะเภสัชศาสตร์
Advisor's Email: [email protected]
Subjects: รหัสพันธุกรรม
Genetic code
การตรวจพืช
Plant inspection
Issue Date: 2561
Publisher: คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: "โคคลาน" เป็นสมุนไพรที่มีสรรพคุณแก้อาการปวดเมื่อย พบในรูปแบบที่เป็นเครื่องยาสมุนไพรที่ถูกลดขนาด เป็นขั้นเล็กหรือเป็นผง หรืออาจพบเป็นส่วนประกอบในตำรับยา อย่างไรก็ตามมีสมุนไพรสามชนิดที่ใช้ชื่อว่า "โคคลาน" ได้แก่ Croton coudatus Geiseler และ Mallotus repandus (Rottler) Mull. Arg. ซึ่งเป็นพืชที่อยู่ใน วงศ์ Euphorbiaceae อีกชนิดหนึ่งเป็นพืชที่อยู่ในวงศ์ Menispermaceae คือ Anamita cocculus (L.) Wight & Arn. ซึ่งมีสาร picrotoxin เป็นองค์ประกอบทางเคมีที่เป็นพิษ ทำให้ทางเดินหายใจอุดต้นและมีอาการทางระบบ ประสาท ในตำรายาไทยนิยมใช้สมุนไพรโคคลานชนิด C. caudatus และ M. repandus เป็นสมุนไพรแก้ปวดเมื่อย ดังนั้นจึงจำเป็นต้องตรวจพิสูจน์อัตลักษณ์พืซสมุนไพร "โคคล าน" เพื่อใช้ให้ถูกต้นและเกิดความปลอดภัยแก่ผู้ใช้ ใน การศึกษานี้จึงใช้ข้อมูลทางพันธุกรรมชนิดแถบรหัสดีเอ็นเอในการตรวจระบุเอกลักษณ์ โดยประสบความสำเร็จในการ อ่านแถบรหัสดีเอ็นเอบาร์โค้ด 4 บริเวณ ได้แก matK, rbcL, tinH-psbA intergenic spacer และ Internal transcribed spacer (ITS) โดยลำดับนิวคลีโอไทต์ของดีเอ็นเอบริเวณ matK, rocL, trnH-pstA intergenic spacer และ ITS ของ C. caudatus เท่ากับ 1521, 1428, 445 และ 627 คู่เบส สมุนไพร M. repandus มีลำดับนิวคดีโอ ไทด์เท่ากับ 1521, 1428, 783 และ 635 คู่เบส และ A. COcCulus มีลำดับนิวคลิโอไทด์เท่ากับ 1536, 1428, 640 และ 548 คู่เบส ตามลำดับ เพื่อความสะดวก รวดเร็ว และถูกต้องมากยิ่งขึ้น จึงพัฒนาเป็นเครื่องหมายดีเอ็นเอชนิด แถบรหัสดีเอ็นเอร่วมกับเทคนิคการตรวจวิเคราะห์การหลอมเหลวความละเอียดสูง (DNA Barcode - High Resolution Melting, Bar-HRM) ซึ่งเป็นเทคนิคการเพิ่มปริมาณดีเอ็นเอบริเวณแถบรหัสดีเอ็นเอร่วมกับเทคนิดการ ตรวจวิเคราะห์การหลอมเหลวความละเอียดสูง ในการศึกษานี้ ได้เลือกศึกษาบริเวณยีน rOCL ตำแหน่งที่ 890 - 998 ซึ่งมีจำนวน 109 คู่เบส ผลการศึกษาคือสามารถแยกความแตกต่างของพืชทั้งสามชนิดได้โดยการตรวจวิเคราะห์เส้น โค้งการหลอมเหลว (melting curve analysis) โดยสังเกตค่าการหลอมเหลว (melting temperature, Tm) ที่ แตกต่างกัน โดยค่าเฉลี่ยของ Tm ของ C. caudatus, M. repandus และ A.cocculus เท่ากับ 78.80 土 0.10, 79.60 + 0.10 และ 79.25 + 0.1 5 องศาเซลเชียส ตามลำดับ ดังนั้นการใช้แถบรหัสดีเอ็นเอร่วมกับเทคนิคการตรวจวิเคราะห์ การหลอมเหลวความละเอียดสูงจึงสามารถพิสูจน์อัตสักษณ์และแยกความแตกต่างของพืชสมุนไพรที่มีซื่อห้องว่า "โตคลาน" ทั้งสามชนิดได้ รวมทั้งสามารถประยุกต์ใช้เทคนิคนี้ในการตรวจสอบและควบคุมคุณภาพผลิตภัณฑ์ สมุนไพรขนิดอื่นได้ต่อไป
Other Abstract: "Kho Khlan" is a herb which is used for pain relieving. It is normally found as crude drug that has been reduced in size or processed into powder form. Besides, it is used as a component in many Thai herbal formulations. However, in Thailand, there are three species which have been known as 'Kho Khlan', The first two species, Croton caudatus Geiseler and Mallotus repandus (Rottler) Mull. Arg. Which belong to Euphorbiaceae family whereas the third species, Anamirta cocculus (L.) Wight & Am., is a member in Menispermaceae family. The issue is that A cocculus contains picrotoxin which causes respiratory obstruction and toxicity to nervous system. Normally, C. caudatus and M. repandus are the two herbs used as a main component in Thai herbal formulations for pain relieving. So, it is important to authenticate Thai medicinal plants sharing the same common name "Kho Khian* to use the right herb(s) and ultimately ensure the consumer safety. In this study, DNA barcoding was used to authenticate the three species of 'Kho Khlan' in Thailand. The nucleotide sequence readings of the 4 regions, including matk, rbcL, tmH- psbA intergenic spacer and internal transcribed spacer (ITS), were successful for DNA barcode creation. The sizes of the 4 regions of C. caudatus were 1521, 1428, 445 and 627 base pairs, corresponding. Nucleotide sequences of M. repandus were 1521, 1428, 783 and 635 base pairs and that of 1536, 1428, 640 and 548 base pairs in A. cocculus. For more convenience, rapidity and accuracy, obtained DNA barcodes of the three species were further developed into the DNA Barcode-High Resolution Melting (Bar-HRM). This technique is to analyze a segment of interested DNA by multiplication of DNA coupled with melting curve analysis. In this study, a part of rbcL gene at nucleotide position from 890th to 998th (109 base pairs) was used for Bar-HRM. The results showed that there was a difference in melting temperature (Tm) among the three species called "Kho Khlan" by melting curve analysis. The mean of melting temperature (Tm) of C. caudatus, M. repandus and A cocculus were 78.80 ± 0.20,79.80±0.10 and 79.33 ±0.13c, respectively. Therefore, using of DNA barcode coupled with melting curve analysis can confidently authenticate and differentiate Thai medicinal plants sharing the same common name "Kho Khlan". In the Future, these complied methods are potentially applied for controlling and investigation of Thai herb products.
Description: โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาเภสัชศาสตร์บัณฑิต สาขาการค้นพบและพัฒนายา คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2561
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/77469
Type: Senior Project
Appears in Collections:Pharm - Senior projects

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pharm_SeniorProject_3.17_2561.pdfไฟล์โครงงานทางวิชาการฉบับเต็ม2.85 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.