Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/77731
Title: ความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานที่สร้างสรรค์ขึ้นตามสัญญาจ้างแรงงาน
Other Titles: The ownership of copyright in works created in employment relationships
Authors: สิพิม วิวัฒนวัฒนา
Email: [email protected]
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์
Subjects: สัญญาจ้างแรงงาน
กฎหมายลิขสิทธิ์
Issue Date: 2564
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้ศึกษาปัญหาการกาหนดผู้มีลิขสิทธิ์ในงานที่สร้างสรรค์ขึ้นภายใต้สัญญาจ้างแรงงาน ตามมาตรา 9 แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ซึ่งกาหนดให้ลิขสิทธิ์ในงานที่ลูกจ้างได้สร้างสรรค์ขึ้นเป็นของลูกจ้างผู้สร้างสรรค์ แต่นายจ้างมีสิทธินางานนั้นออกเผยแพร่ต่อสาธารณชนได้ตามวัตถุประสงค์แห่งการจ้างนั้น เว้นแต่จะทาเป็นหนังสือตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่น ซึ่งหลักการภายใต้บทบัญญัติดังกล่าวประกอบกับการขาดหลักเกณฑ์ที่ชัดเจนได้ก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมแก่คู่สัญญาและมีปัญหาในทางกฎหมายและการบังคับใช้ในทางปฏิบัติ จึงนาไปสู่ปัญหาว่าจะมีแนวทางในการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายอย่างไรที่จะช่วยลดปัญหาและสอดคล้องกับเจตนารมณ์ของกฎหมายและสภาพการณ์การใช้งานลิขสิทธิ์ในปัจจุบันยิ่งขึ้น ผู้วิจัยได้ศึกษาวิเคราะห์ปัญหาและผลกระทบของการกาหนดผู้มีลิขสิทธิ์ในงานที่ลูกจ้างสร้างสรรค์ขึ้น ทั้งในกรณีที่กฎหมายกาหนดให้ลูกจ้างเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ และกรณีที่กฎหมายกาหนดให้นายจ้างเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ พร้อมทั้งรูปแบบหลักเกณฑ์อื่น ๆ ในปัจจุบัน และได้เสนอแนวทางการพิจารณาปรับปรุงกฎหมายโดยเริ่มตั้งแต่แนวทางการพิจารณาทบทวนผู้ที่ควรเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานที่ลูกจ้างสร้างสรรค์ขึ้น แนวทางการกาหนดหลักเกณฑ์ให้มีความชัดเจนและเหมาะสมเมื่อกาหนดผู้มีลิขสิทธิ์แล้ว และแนวทางและข้อควรพิจารณาอื่น ๆ ในการกาหนดหลักเกณฑ์เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมและเกิดประโยชน์สูงสุด
Other Abstract: This study reviews problemetic issues of Article 9 of the Copyright Act of Thailand B.E.2537 (1994) which gives the copyright ownership of the work created in the course of employment to the employee, who is the author, unless it has been otherwise agreed in writing, provided that the employer has a right to communicate such work to the public in accordance with the purpose of the employment. It finds that this provision and the lack of clear regulations cause the unfairness, legal problems, and difficulties in practice. The study then questions how to amend the law in ordrer to remove the flaws and be consistent with legislative intent and current situation. The study explores the concepts of the copyright ownership in the work created by the employee and current practices, and examines problems and impacts of entitling the contracting parties the copyright. The study finally proposes guidelines for adopting the law and regulations, and suggests considerations that should be taken into account in order to effieciently promote the fairness and best interests.
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/77731
Type: Technical Report
Appears in Collections:Law - Research Reports



Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.