Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/779
Title: | การศึกษากลวิธีการเรียนภาษาอังกฤษของนิสิตชั้นปีที่ 1 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย : รายงานการวิจัย |
Other Titles: | กลวิธีการเรียนภาษาอังกฤษของนิสิตชั้นปีที่ 1 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย : รายงานการวิจัย A study of the English learning strategies of first year students, Culalongkorn University |
Authors: | อาวุธ วาจาสัตย์ |
Email: | [email protected] |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สถาบันภาษา |
Subjects: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย--นิสิต ภาษาอังกฤษ--การศึกษาและการสอน (อุดมศึกษา) |
Issue Date: | 2533 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากลวิธีการเรียนภาษาอังกฤษของนิสิตชั้นปีที่ 1 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และเพื่อเปรียบเทียบกลวิธีการเรียนภาษาอังกฤษของนิสิตกลุ่มเก่งมาก กลุ่มเก่ง กลุ่มปานกลาง และกลุ่มอ่อน การวิจัยครั้งนี้กระทำกับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นนิสิตชายหญิงชั้นปีที่ 1 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่เรียนวิชา Foundation English I ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2530 จำนวน 710 คน โดยแบ่งเป็นนิสิตกลุ่มเก่งมาก (ได้รับเกรด 4 ในการเรียนวิชา FE I) จำนวน 107 คน นิสิตกลุ่มเก่ง (ได้รับเกรด B) จำนวน 269 คน นิสิตกลุ่มปานกลาง (ได้รับเกรด C) จำนวน 309 คน และนิสิตกลุ่มอ่อน (ได้รับเกรด D) จำนวน 25 คน โดยในการสุ่มกลุ่มตัวอย่างนี้ใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น และได้รับการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่าน ผู้วิจัยได้นำแบบสอบถามไปใช้กับนิสิตชั้นปีที่ 1 ปีการศึกษา 2530 จำนวน 50 คน แล้วนำผลที่ได้มาหาความเที่ยงของแบบสอบถามโดยได้ค่าความเที่ยง 0.94 แล้วจึงนำแบบสอบถามไปใช้กับกลุ่มตัวอย่างประชากรที่เลือกไว้ หลังจากที่กลุ่มตัวอย่างตอบแบบสอบถามแล้วประมาณ 3-4 สัปดาห์ ผู้วิจัยได้ทำการทดสอบความเที่ยงของเครื่องมือวิจัย โดยการเลือกสุ่มตัวอย่างที่เคยตอบแบบสอบถามมาแล้ว จำนวน 71 คน จากนิสิตทั้ง 4 กลุ่ม (คิดเป็นร้อยละ 10 ของกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด) เพื่อทำการสัมภาษณ์ ทั้งนี้ใช้การสุ่มอย่างง่าย ในการสัมภาษณ์ผู้วิจัยได้ใช้แบบสอบถามฉบับเดิม โดยผู้วิจัยเป็นผู้อ่านคำถาม เฉพาะในตอนที่ 2 ของแบบสอบถาม และเป็นผู้บันทึกคำตอบของกลุ่มตัวอย่าง หลังจากนั้นผู้วิจัยนำแบบสอบถามของกลุ่มตัวอย่างทั้ง 71 คนทั้ง 2 ชุด มาคิดคะแทนตามเกณฑ์แล้วนำคะแนนรวมของทั้งสองชุด มาหาค่าสัมประสิทธิ์สัมพันธ์และได้ค่าสัมประสิทธิ์สัมพันธ์ เท่ากับ 0.91 ซึ่งแสดงว่าแบบสอบถามมีความเที่ยงสูง หลังจากทดสอบความเที่ยงของแบบสอบถามแล้ว ผู้วิจัยได้รวบรวมข้อมูลจากแบบสอบถามที่กลุ่มตัวอย่างทั้ง 710 คน ตอบไว้แล้วมาหาค่ามัชฌิมเลขคณิต ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบกลวิธีการเรียนภาษาอังกฤษของนิสิตชั้นปีที่ 1 ทั้ง 4 กลุ่ม โดยการทดสอบความมีนัยสำคัญของความแปรปรวนโดย f-test ผลการวิจัยพบว่า 1. กลวิธีการเรียนภาษาอังกฤษของนิสิตชั้นปีที่ 1 1.1 กลวิธีการเรียนภาษาที่นิสิตนำมาปฏิบัติมากที่สุด คือ กลวิธีการเดาหรือทำนายอย่างมีหลักการ 1.2 กลวิธีการเรียนที่นิสิตนำมาปฏิบัติปานกลางคือกลวิธีการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนโดยตรง กลวิธีการฝึกฝนภาษา กลวิธีการหาวิธีการเรียนภาษาอังกฤษที่เป็นของตนเอง กลวิธีการใช้ข้อผิดพลาดที่เกิดจากการเรียนภาษาเป็นครู และกลวิธีการใช้วิธีการต่าง ๆ เพื่อให้สามารถจดจำได้ดียิ่งขึ้น 1.3 กลวิธีการเรียนที่นิสิตนำมาปฏิบัติน้อย คือ กลวิธีการพยายามใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการติดต่อสื่อสารกับบุคคลอื่น 2. การเปรียบเทียบกลวิธีการเรียนภาษาอังกฤษของนิสตชั้นปีที่ 1 ระหว่างกลุ่มเก่งมาก กลุ่มเก่ง กลุ่มปานกลาง และกลุ่มอ่อน 2.1 กลุ่มเก่งมากและกลุ่มเก่งใช้กลวิธีการเรียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ทั้งหมด 4 ข้อ จากกลวิธีการเรียนทั้งหมดจำนวน 71 ข้อ โดยใช้ 4 ข้อนี้ เป็นกลวิธีการเรียนด้านที่ 4 (หาวิธีเรียนเป็นของตนเอง) 2 ข้อ เป็นกลวิธีพยายามใช้ภาษาอังกฤษติดต่อสื่อสารกับบุคคลอื่น 14 ข้อ และเป็นกลวิธีการเดาหรือทำนายอย่างมีหลักการ 1 ข้อ 2.2 กลุ่มเก่งมากกับกลุ่มปานกลางแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ในการใช้กลวิธีการเดาหรือทำนายอย่างมีหลักการและกลวิธีการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนโดยตรง ตามลำดับ 2.3 กลุ่มเก่งมากกับกลุ่มอ่อนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ในการใช้กลวิธีการเดาหรือทำนายอย่างมีหลักการ และกลวิธีการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนโดยตรง ตามลำดับ 2.4 กลุ่มเก่งกับกลุ่มปานกลางแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ในการใช้กลวิธีการต่าง ๆ เพื่อช่วยให้จดจำได้ดียิ่งขึ้นเป็นลำดับแรก กลวิธีการเดาหรือทำนายอย่างมีหลักการ รวมทั้งกลวิธีการใช้ข้อผิดพลาดที่เกิดจากการเรียนภาษาเป็นครู เป็นลำดับต่อมาร 2.5 กลุ่มเก่งและกลุ่มอ่อนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ในการใช้กลวิธีการเดาหรือทำนายอย่างมีหลักการ และกลวิธีการใช้วิธีการต่าง ๆ เพื่อช่วยให้จดจำได้ดียิ่งขึ้น ตามลำดับ 2.6 กลุ่มปานกลางและกลุ่มอ่อนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ในการใช้กลวิธีการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนโดยตรง และกลวิธีการเดาหรือทำนายอย่างมีหลักการตามลำดับ |
Other Abstract: | The purposes of this study were to study the English learning strategies of first year students, Chulalongkorn University and to compare the learning strategies among four group of students classified by the grades they received from Foundation English I course, i.e,, Grade A group, Grade B group, Grade C group, and Grade D group. The analysis was based on the data obtained from 710 first year sample students taking Foundation English I in the first semester of the academic year 1987. There were 107 grade A students, 269 grade B students, 309 grade C students and 25 grade D students. The instrument used of data collection is a set of constructed rating-scale questionnaires which had been reviewed and improved by five experts, and later tried out on 50 first year students to find the reliability of the instruments, which was 0.94. The instruments were then administered to all the sample groups. Three to four weeks after the administration of the questionnaires, using the same questions as in the written questionnaires, interviews were conducted by the researcher on 71 students in the same sample group (approximately 10% of the whole sample students) to study the reliability of the answers. Pearson's Product Moment Correlation was then employed to find the relationships between the subjects' answers from the written questionnaires and from the oral interview. The analysis yeilded the result of .91. These are the findings: 1. First year students' English learning strategies. 1.1 The learning strategy mostly used by the students is making an intelligent guess. 1.2 The learning strategy moderately used by the students are participating directly in language learning activities, practicing, finding one's own way of studying English , making one's error work strategy and using various ways to enhance better memory. 1.3 The learning strategy used the least by the students is using English to communicate with the others. 2. The comparison of learning strategies among the grade A group, the grade B group, the grade C group and the grade D group. 2.1 The A-grade group and the B-grade group are different statistically at the .05 level in 4 out of 71 items, 2 of which are under the strategy of finding one's own way of studying English, one of which is under the strategy of using English to communicate with the others and the forth item is under the strategy of making an intelligent guess. 2.2 The grade A group and the grade B group are different statistically at the .05 level in making an intelligent guess and using various ways to enhance better memory. 2.3 The grade A group and the grade D group are different statistically at the .05 level in making an intelligent guess and participating directly in learning activities. 2.4 The grade B group and the grade C group are different statistically at the .05 level in using various ways to enhance better memory, making an intelligent guess strategy and making one's errors work. 2.5 The grade B group and the grade D group are different statistically at the .05 level in making an intelligent guess and using various ways to enhance better memory. 2.6 The grade C group and the grade D group are different statistically at the .05 level in participating directly in learning activities and making an intelligent guess. |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/779 |
Type: | Technical Report |
Appears in Collections: | Lang - Research Reports |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Arwut(learn).pdf | 10.71 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.