Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/781
Title: | การประเมินผลหลักสูตรภาษาอังกฤษพื้นฐาน : รายงานการวิจัย |
Other Titles: | Evaluation of foundation English program |
Authors: | สุพัฒน์ สุกมลสันต์ ปรียา ธีระวงศ์ กรรณิกา วงศ์สารเสริฐ วัลยา นาวีการ |
Email: | [email protected] [email protected] [email protected] |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สถาบันภาษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สถาบันภาษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สถาบันภาษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สถาบันภาษา |
Subjects: | ภาษาอังกฤษ--หลักสูตร ภาษาอังกฤษ--การศึกษาและการสอน การประเมินหลักสูตร |
Issue Date: | 2529 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | วัตถุประสงค์: การประเมินผลครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ที่สำคัญดังต่อไปนี้ 1.เพื่อค้นหาว่าหลักสูตรนี้สนองความต้องการของสังคม คณะ และผู้เรียนมากน้อยเพียงใด 2. เพื่อค้นหารว่าหลักสูตรนี้มีความสัมพันธ์สอดคล้องกันแนวโน้มใหม่ทางด้านการเรียนการสอนภาษามากน้อยเพียงใด และเหมาะสมกับพื้นฐานเดิมของภาษาของผู้เรียนมากน้อยเพียงใด 3. เพื่อประเมินว่าวัตถุประสงค์ ความมุ่งหมาย เป้าหมาย เนื้อหา นอกจากการเรียนการสอนและวิธีการวัดและประเมินผลสัมฤทธิผลในการเรียนของหลักสูตรมีความเกี่ยวข้องกันมากน้อยเพียงใด 4. เพื่อประเมินว่า เนื้อหา การเรียงเนื้อหา และกระบวนการในการเรียนการสอนมีความเหมาะสมมากน้อยเพียงใด 5. เพื่อประเมินว่า ผลผลิตของหลักสูตรนี้ในด้านสัมฤทธิผลในการเรียนและแรงจูงใจ มีมากน้อยเพียงใด วิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่าง: กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่นิสิตชั้นปีที่ 1 จำนวน 1,418 คน จากนิสิตทั้งหมดประมาณ 3,300 คน จาก 15 คณะ และอาจารย์อีก 26 คน จากอาจารย์ที่ทำการสอนหลักสูตรดังกล่าวนี้ 73 คน ตัวอย่างนี้ได้จากวิธีการสุ่มอย่างง่าย นอกจากนี้ ยังใช้นิสิตชั้นปีที่ 1 อีก 1,044 คน และผู้บริหารระดับสูงอีก 136 คน จากงานวิจัยที่เกี่ยวข้องในปี 2526 เป็นแหล่งข้อมูลเพื่อการประเมินผลครั้งนี้ด้วย เครื่องมือการประเมิน: การประเมินนี้อาศัยแบบสอบถาม 2 ชุด ที่สร้างขึ้นเป็นเครื่องมือและอาศัยแบบสอบถามอีก 2 ชุด จากงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งอาศัยแหล่งข้อมูลอีกมากเพื่อการรวบรวมข้อมูล เช่น หนังสือเรียนในระดับมัธยมศึกษา ความคิดเห็นของผู้เรียนและผู้สอน จากการสอบถามและสัมภาษณ์ ตำราเรียน และคู่มือครู เป็นต้น วิธีการประเมิน: การประเมินผลครั้งนี้อาศัยรูปแบบผสมระหว่าง CIPP Model, Stake's Model และ Puissance Technique ซึ่งรวมเรียกว่า CIPP/SP Model ผู้ประเมินใช้แนวคิดของ CIPP Model เป็นกรอบสำคัญในการประเมินผลครั้งนี้ โดยการแบ่งวัตถุประสงค์ออกเป็นคำถามเชิงประเมินจำนวนหนึ่งที่ครอบคลุมสิ่งที่มุ่งประเมิน วางกรอบในการหาข้อมูล แหล่งของข้อมูล และลักษณะของข้อมูลที่ได้กับเกณฑ์นั้น โดยอาศัยหลักการทางสถิติ ใช้ Stake's Model ในการประเมินความสอดคล้องและความสัมพันธ์ของข้อมูลในมิติต่าง ๆ แล้วใช้ Puissance Technique ในการคำนวณหาระดับคุณภาพของเนื้อหาของหลักสูตร การวิเคราะห์ข้อมูล: ข้อมูลเพื่อการประเมินผลครั้งนี้วิเคราะห์โดยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ชื่อ SPSS X โดยใช้โปรแกรม t-test, X[square]-test ความสัมพันธ์แบบง่ายแบะอันดับ รวมทั้งการใช้ความคิดเห็นของอาจารย์ผู้สอนและความเห็นของผู้ประเมินด้วย สรุปผลการวิจัย: 1. หลักสูตรนี้สนองความต้องการของสังคม คณะ และผู้เรียนได้เป็นอย่างดี สังคม คณะ และผู้เรียนต้องการใช้ภาษาอังกฤษโดยเฉพาะด้านการอ่าน และการเขียนในระดับปานกลาง ซึ่งสอดคล้องกับหลักสูตรซึ่งเน้นที่การอ่านและการเขียนเช่นเดียวกัน 2. หลักสูตรมีความสัมพันธ์กับแนวโน้มใหม่ทางด้านการเรียนการสอนภาษาเป็นอย่างดี และเหมาะสมกับพื้นฐานทางภาษาของผู้เรียนเป็นอย่างดี หลักสูตรนี้เน้นหนักที่การเรียนการสอน เพื่อการสื่อสารและมีคำศัพท์ประมาณร้อยละ 65 โครงสร้างทางภาษาประมาณร้อยละ 50 และรูปคำของคำศัพท์ประมาณร้อยละ 36 ที่นิสิตโดยมากได้เคยเรียนมาแล้วในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย 3. วัตถุประสงค์ ความมุ่งหมาย เป้าหมาย เนื้อหา กิจกรรมการเรียนการสอนและการประเมินผลสัมฤทธิ์ในการเรียนของหลักสูตรมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันเป็นอย่างดี 4. เนื้อหาของหลักสูตรมีคุณภาพและความเหมาะสมกับผู้เรียนในระดับปานกลาง แต่การเรียงเนื้อหายังไม่เป็นระบบที่ดี และการเรียนการสอนยังไม่เหมาะสมกับหลักสูตรที่เน้นการสื่อความหมายเป็นสำคัญมากนัก 5. ผลผลิตของหลักสูตรด้านสัมฤทธิ์ผลในการเรียนและแรงจูงใจ อยู่ในระดับปานกลาง นิสิตโดยมากสามารถสัมฤทธิผลด้านการอ่าน แต่ด้านการเขียนยังต้องปรับปรุงแก้ไข ข้อเสนอแนะ: 1. ควรจัดหลักสูตรให้มีกิจกรรมการเรียนการสอนที่เอื้อให้เกิดสัมฤทธิผลด้านการเขียนมากยิ่งขึ้น 2. ควรพิจารณาปรับปรุงการเรียงเนื้อหาหลักสูตรให้มีระบบที่เอื้อให้เกิดผลดีทางการเรียนการสอนเพิ่มขึ้น 3. ควรมีการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการแก่อาจารย์ให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการสอนภาษาตามแนวการสอนใหม่ เพื่อให้อาจารย์มีความเข้าใจและมั่นใจในการสอนดังกล่าวมากยิ่งขึ้น 4. ควรให้มีการฝึกอบรมภาษาแบบเข้มแก่อาจารย์ผู้สอนบางท่านเพื่อเพิ่มความสามารถในการใช้ภาษาให้มีมากขึ้น 5. อาจารย์ผู้สอนควรชี้แจงให้ผู้เรียนเข้าใจการเรียนภาษาแนวใหม่ว่าเป็นอย่างไร และนิสิตควนเรียนอย่างไร ก่อนเริ่มการเรียน |
Other Abstract: | The main purposes of this study were as follows: 1. to investigate how much the program serves the needs of the society, the faculties and the learners, 2. to investigate how much the program is relevant to new trends in language teaching/learning theories and to the learners' English background, 3. to evaluate the relevancy among the course objectives, goals, aims, content, teaching/learning activities and modes of achievement assessment, 4. to evaluate the appropriateness of the content, content organization and its teaching/learning process, and 5. to evaluate the outcomes of the program in terms of students achievement and motivation. Procedure: Samples: Of 3,300 first-year students, 1418 from all 15 faculties were randomly selected to answer a set of questionnaires. Of 73 teachers teaching Foundation English I or II, 26 were asked to answer a different set of questionnaires. Some other 1044 students and 136 top-level administrators from all faculties from related studies conducted in 1984 were also used and assumed as the samples of this study. Instruments: Two sets of questionnaires were used as main instruments of the study. Further more, 2 other sets of questionnaires which were used in the related studies a year earlier were also used. Many more sources of information needed for the study were utilized; for example, many text books at secondary schools, teachers' and students' comments from informal talks and an interview, text books and their manuals, etc. Evaluation Design: The study was done by following a mixture of CIPP and Stake's Models and Puissance Technique, a so-called CIPP/SP Model. The CIPP Model was used as a major framework of the evaluation. The objectives were subdivided into many evaluation questions covering all the aspects of the study. Particular information needed for certain questions were expected to obtain and its sources were decided. A set of criteria were set in advance scientifically and then obtained information and the criteria were compared statistically. The Stake's Model was used to evaluate the congruence and contingency of different aspects in the major framework; for example, its context, inputs, process and outputs. Finally, the Puissance Technique was mainly used to evaluate the quality of the course content elements. Data Analysis: The data were mainly analyzed by SPSSX programs by means of t-test-, X[square] simple correlations and rank correlations. The teachers' and the evaluators' judgements were also applied when needed. Findings: 1. The program could appropriate serve the needs of the society, the faculties and learners. The society, the faculties and the learners moderately needed English mainly for reading and writing purposes which all were the main aims of the program. 2. The program was appropriately relevant to new trends in language teaching/learning theories and highly fit the learners' English background. The program was heavily activity-bases for communicative teaching/learning purposes. The majority of the students had learnt about 65 percent ofthe vocabulary items, 50 percent of the grammatical structures and 36 percent of the vocabulary forms in the program while studying in their upper secondary schools. 3. The course objectives, goals, aims, content, teaching/learning activities and modes of achievement assessments were highly relevant to each other. 4. The quality and appropriateness of the course content were moderate. The content organization was unsystematic and the teaching/learning activities of the teachers and the students were not appropriate for a program aiming mainly at communicative level. 5. The outcomes of the program in terms of students' achievement and motivation were moderately satisfied. Suggestions: 1. More teaching/learning activities that can facilitate the students to achieve more writing skills should be added to the program. 2. The content organization of the program should be revised and improved. 3. In-service trainings and workshops on communicative teaching approach for the researchers should be provided to make them understand more about the approach and have more self-confidence. |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/781 |
Type: | Technical Report |
Appears in Collections: | Lang - Research Reports |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Supat(eva).pdf | 29 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.