Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/7835
Title: | ซอฟต์แวร์สำหรับประมวลผลข้อมูลจีพีเอสแบบจุดเดี่ยวความละเอียดสูง : รายงาน |
Other Titles: | GPS precise point positioning software |
Authors: | เฉลิมชนม์ สถิระพจน์ |
Email: | [email protected] |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ |
Subjects: | ดาวเทียมในการรังวัด ระบบกำหนดตำแหน่งบนโลก ซอฟต์แวร์ |
Issue Date: | 2549 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะพัฒนาซอฟต์แวร์สำหรับการหาตำแหน่งจุดเดี่ยวที่ให้ค่าความละเอียดสูงจากเครื่องรับสัญญาณจีพีเอสขึ้น ข้อมูลจีพีเอสที่ถูกเก็บโดยเครื่องรับสัญญาณดาวเทียมแบบรังวัดได้ถูกนำมาใช้ในการประเมินระดับความสามารถของซอฟต์แวร์ที่พัฒนาขึ้น ในซอฟต์แวร์จะใช้ข้อมูลวงโคจรและค่าแก้นาฬิกาดาวเทียมความละเอียดสูงในการปรับลดค่าคลาดเคลื่อนที่เกิดจากวงโคจรของดาวเทียมและนาฬิกาดาวเทียม สำหรับผู้ใช้ที่มีข้อมูลแบบความถี่เดียว จะใช้แบบจำลองค่าสังเกตของรหัสและเฟสที่ปราศจากผลของไอโอโนสเฟียร์ในการลดการล่าช้าของคลื่นสัญญาณ เนื่องจากชั้นบรรยากาศไอโอโนสเฟียร์ ในกรณีที่มีข้อมูลแบบสองความถี่ จะใช้แบบจำลองค่าสังเกตของเฟสจากคลื่นทั้งสองความถี่ที่ปราศจากผลของไอโอโนสเพียร์ ค่าคลาดเคลื่อนอื่นๆ เช่น ค่าคลาดเคลื่อนจากนาฬิกาเครื่องรับ ค่าเลขปริศนา จะทำการประมาณค่าโดยใช้วิธี Extended Kalman Filtering ข้อมูลจีพีเอสที่ใช้ในการทดสอบได้ถูกตัดเป็นส่วนๆ โดยมีความยาวของข้อมูลตั้งแต่ 5 10 15 และ 30 นาที จากนั้นจึงทำการประมวลผลข้อมูลแต่ละส่วนด้วยซอฟต์แวร์ที่พัฒนาขึ้นเพื่อให้ได้ค่าพิกัด ผลที่ได้แสดงให้เห็นว่า การใช้ข้อมูลเพียง 15 นาที สามารถให้ค่าความถูกต้องของตำแหน่งทางราบที่ 2.27 เมตร และ 0.95 เมตร สำหรับข้อมูลแบบความถี่เดียวและสองความถี่ตามลำดับ |
Other Abstract: | This research aims to develop GPS Precise Point Positioning software. The GPS data collected from the geodetic GPS receiver were used to assess the level of performance of the developed software. The precise orbit and precise satellite clock corrections were introduced into the software to reduce the orbit and satellite clock errors. For single-frequency users, ionosphere-free code and phase observations were constructed to mitigate the ionospheric delay, while ionosphere-free phase combinations were used when the dual-frequency data are available. The remaining errors (i.e. receiver clock error, ambiguity term) are estimated using Extended Kalman Filtering technique. Tested GPS data were cut into 5-min, 10-min, 15-min and 30-min data segments. Each data segment was individually processed with the developed PPP software to product final coordinates. With the use of only 15-min data spans, results show that horizontal positioning accuracies obtained from single-frequency and dual-frequency data are 2.27 m and 0.95 m, respectively. |
Description: | โครงการสิ่งประดิษฐ์ กองทุนรัชดาภิเษกสมโภช |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/7835 |
Type: | Technical Report |
Appears in Collections: | Eng - Research Reports |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Chalermchon.pdf | 4.06 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.