Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78517
Title: การผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพจากกากกาแฟคั่วด้วยเอทิลแอซีเตตภาวะเหนือวิกฤตในเครื่องปฏิกรณ์แบบแบตช์
Other Titles: Biofuel production from spent coffee grounds using supercritical ethyl acetate in a batch reactor
Authors: สลิลทิพย์ ใคร้ศรี
อรพิมล อินทวิเชียร
Advisors: สมเกียรติ งามประเสริฐสิทธิ์
เรืองวิทย์ สว่างแก้ว
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Subjects: การสกัด (เคมี)
กากกาแฟ
พลังงานจากขยะ
Extraction (Chemistry)
Coffee grounds
Refuse as fuel
Issue Date: 2563
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: กาแฟเป็นเครื่องดื่มที่ได้รับความนิยมแพร่หลายไปทั่วโลก ส่งผลให้ปัจจุบันอุตสาหกรรมกาแฟมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและมีแนวโน้มการบริโภคสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ก่อให้เกิดกากกาแฟเหลือทิ้งจากกระบวนการผลิตเป็นจำนวนมาก การใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุดรวมไปถึงการเพิ่มมูลค่าของเสียผ่านนวัตกรรมที่ทันสมัยและลดปริมาณของเสียส่วนเกินในระบบให้น้อยลงจึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการแก้ไขปัญหาเหล่านี้ โดยงานวิจัยนี้สนใจการสกัดน้ำมันกาแฟจากกากกาแฟคั่วบดด้วยเอทิลแอซีเตต โดยใช้กากกาแฟของเมล็ดสายพันธุ์อาราบิกา (Arabica) ที่ผ่านการคั่วในระดับคั่วเข้ม (Dark roast) ซึ่งน้ำมันกาแฟที่สกัดได้ให้ผลผลิตสูงสุด ร้อยละ 20.74 โดยน้ำหนัก คิดเป็นร้อยละ 91.20 เมื่อเทียบกับการสกัดด้วยวิธีซอกซ์เลต (Soxhlet extraction) ที่ให้ผลผลิตสูงสุดร้อยละ 22.74 โดยน้ำหนัก ซึ่งน้ำมันกาแฟที่สกัดได้นำมาใช้ในการผลิตไบโอดีเซล (Biodiese) ผ่านปฏิกิริยาอินเทอร์เอสเทอริฟิเคชัน (Interesterification reaction) ด้วยเอทิลแอซีเตตภาวะเหนือวิกฤต (Supercritical ethylacetate) ในเครื่องปฏิกรณ์แบบแบตช์ โดยตัวแปรที่ศึกษาได้แก่ อุณหภูมิในช่วง 300-375 องศาเซลเซียส และเวลาที่ใช้ในการทำปฏิกิริยาตั้งแต่ 20-40 นาที ภายใต้ความดัน 15 เมกะพาสคัล พบว่าภาวะที่เหมาะสม คือ อุณหภูมิที่ 325 องศาเซลเซียสและเวลาในการทำปฏิกิริยา 50 นาที ให้ผลิตภัณฑ์เชื้อเพลิงชีวภาพที่มีปริมาณเอทิลเอสเทอร์สูงสุดร้อยละ 91.80 โดยน้ำหนัก การผลิตไบโอดีเซลจากกากกาแฟนอกจาก จะช่วยลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและค่าใช้จ่ายในการกำจัดกากกาแฟแล้ว ยังเป็นหนึ่งในวิธีการผลิตพลังงานทางเลือกเพื่อเป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับกากกาแฟคั่วบดด้วย
Other Abstract: Coffee is a worldwide popular beverage that makes coffee industries rapidly changing and increasing consumption. These cause a lot of wastes from the coffee production, it called spent coffee grounds (SCGs). Enhancing the resource utilization, including wastes valuating through modern manufacturing innovations and minimizing the amount of excess wastes resolve this problem. In this research, coffee oil was extracted from SCGs by using ethyl acetate. The SCGs was obtained from dark roasted Arabica coffee beans that gave maximum oil yield at 20.74% by weight. It was 91.20% when compared to Soxhlet extraction which gave maximum oil yield at 22.74% by weight. The extracted coffee oil was used for biodiesel production through interesterification reaction by using supercritical ethyl acetate in a batch reactor. The studied variables in this research are temperature in the range from 300 to 375 °C and reaction time in the range from 20 to 40 minutes under the pressure of 15 MPa. The optimal condition was found at temperature of 325 °C and reaction time of 50 minutes that gave the highest FAEEs at 91.80% by weight. Moreover, biodiesel production from SCGs can reduce the environmental impact and the disposal cost of SCGs. The alternative energy production simultaneously increased valuation of SCGs.
Description: โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต ภาควิชาเคมีเทคนิค คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2563
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78517
Type: Senior Project
Appears in Collections:Sci - Senior Projects

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
63-SP-CHEMENG-004 - Aonpimon Intavichean.pdf25.66 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.