Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78675
Title: ปัญหามาตรการส่งเสริมในผลิตภัณฑ์พลาสติกที่ย่อยสลายได้ทางชีวภาพ
Authors: ชานน รังสราญนนท์
Advisors: ศุภศิษฏ์ ทวีแจ่มทรัพย์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์
Advisor's Email: [email protected]
Subjects: ปัญหาสิ่งแวดล้อม
ขยะ -- การย่อยสลายทางชีวภาพ
Issue Date: 2564
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ปัจจุบันปัญหาขยะพลาสติกเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ส่งผลกระทบไม่ใช่เฉพาะในประเทศไทย แต่ส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมของโลกด้วย เนื่องจากการเติบโตของชุมชนเมืองการเติบโตทางเศรษฐกิจจึงส่งผลให้มีผลิตภัณฑ์พลาสติกหลากหลายชนิดที่ผลิตขึ้นมาเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค อีกทั้งพลาสติกเป็นวัสดุสังเคราะห์ที่มีต้นทุนต่ำ และสามารถนำมาใช้งานได้หลายรูปแบบ ทำให้ผลิตภัณฑ์พลาสติกเป็นสิ่งที่เข้ามามีบทบาทสำคัญในชีวิตประจำวันของมนุษย์อย่างมาก เช่น ถุงพลาสติก บรรจุภัณฑ์ใส่อาหาร ช้อนซ้อมพลาสติก หลอดพลาสติก แก้วพลาสติก และบรรจุภัณฑ์ชนิดต่าง ๆ ที่ล้วนแล้วแต่เป็นผลิตภัณฑ์พลาสติกแบบที่ใช้ครั้งเดียวทิ้ง (Single Use Plastic) ส่งผลให้เกิดปัญหาขยะพลาสติกที่ตกค้างอยู่ในสิ่งแวดล้อมเป็นจำนวนมากจากพฤติกรรมการบริโภค พฤติกรรมการทิ้งขยะ และระบบการจัดการขยะพลาสติกของประเทศไทยที่ไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอในการจัดการ ประกอบกับปัจจุบันพฤติกรรมของผู้บริโภคเปลี่ยนไป มีการสั่งอาหารผ่านแอพลิเคชั่นบนสมาร์ทโฟนมากขึ้น ไม่จำเป็นต้องเดินทางไปรับประทานเองที่ร้านอาหาร ทำให้เกิดการใช้ผลิตภัณฑ์พลาสติกมากขึ้นโดยเฉพาะบรรจุภัณฑ์พลาสติก เช่น ถุงพลาสติกหูหิ้ว กล่องพลาสติกใส่อาหาร ซองเครื่องปรุงรส และอุปกรณ์ในการรับประทานอาหาร ภาครัฐจึงได้มีนโยบายโดยใช้เครื่องมือทางภาษีอากรมาใช้ลดปัญหาขยะพลาสติก รัฐจึงมีนโยบายให้การส่งเสริมทางภาษีอากร ที่ถือเป็นมาตรการหนึ่งที่ใช้เป็นเครื่องมือในการจูงใจให้ผู้ประกอบการหันมาผลิตหรือใช้วัตถุดิบที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยมาตรการทางภาษีอากรที่ภาครัฐใช้โดยคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) เพื่อส่งเสริมกิจการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เช่น กิจการผลิตเคมีภัณฑ์หรือพอลิเมอร์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมหรือผลิตภัณฑ์ขึ้นรูปต่อเนื่องจากการผลิตพอลิเมอร์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในโครงการเดียวกัน กิจการที่ผลิตผลิตภัณฑ์จากพอลิเมอร์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม กิจการผลิตเคมีภัณฑ์พอลิเมอร์ชนิดพิเศษหรือเคมีภัณฑ์ชนิดพิเศษ และการวิจัยและพัฒนากิจการ Biotechnology เป็นต้น ซึ่งได้มีการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีโดยการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับกิจการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนแต่ละประเภท สิทธิประโยชน์ยกเว้นอากรขาเข้าสำหรับเครื่องจักรที่ใช้ในโครงการผลิต ยกเว้นอากรขาเข้าสำหรับวัตถุดิบที่ผลิตเพื่อการส่งออก เป็นต้น โดยระยะเวลาการให้สิทธิประโยชน์จะขึ้นอยู่กับแต่ละประเภทกิจการที่ได้รับการส่งเสริมตามเงื่อนไขในบัตรส่งเสริมการลงทุนที่ได้ระบุไว้ อีกทั้งยังมีสิทธิประโยชน์อื่นที่ไม่ใช่ภาษีอากร เช่น ผู้ลงทุนต่างชาติสามารถถือครองอสังหาริมทรัพย์ได้ หรือสามารถนะผู้เชี่ยวชาญต่างชาติเข้ามาทำงานได้ตามเงื่อนไขพิเศษ แต่อย่างไรก็ตาม การส่งเสริมการลงทุนกิจการประเภทดังกล่าวจากการศึกษายังพบว่าประสิทธิผลของมาตรการยังเป็นประเด็นปัญหาสำคัญ หลังจากมีการส่งเสริมการลงทุนในกิจการพลาสติกที่ย่อยสลายได้ทางชีวภาพมานานถึง 12 ปี แต่ปัญหาขยะพลาสติกของประเทศไทยไม่มีแนวโน้มที่ดีขึ้น อีกทั้งปัจจุบันยังมีอัตราการใช้ผลิตภัณฑ์พลาสติกเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 45 จากปี 2562 มาตรการดังกล่าวที่รัฐกำลังใช้จัดการปัญหาขยะพลาสติกอยู่นั้นไม่มีประสิทธิภาพ อีกทั้งโครงสร้างพื้นฐานในการกำจัดขยะพลาสติกที่ย่อยสลายได้ทางชีวภาพยังไม่เพียงพอในการจัดการขยะดังกล่าวในประเทศ จึงทำให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมใหม่ขึ้นมา
Description: เอกัตศึกษา (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2564
Degree Name: ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: กฎหมายเศรษฐกิจ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78675
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.IS.2021.159
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.IS.2021.159
Type: Independent Study
Appears in Collections:Law - Independent Studies

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6380011034.pdf1.72 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.