Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78725
Title: แนวทางในการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตจากกัญชาและกัญชง
Authors: วัชระ ธิเขียว
Advisors: ทัชมัย ฤกษะสุต
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์
Advisor's Email: [email protected]
Subjects: ภาษีสรรพสามิต
กัญชา -- การใช้รักษา
Issue Date: 2564
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ปัจจุบันกัญชาและกัญชงก าลังได้รับความสนใจจากประชาชน ซึ่งประเทศไทยมีการบังคับใช้ กฎกระทรวงว่าด้วยเรื่องการขออนุญาตและการอนุญาตผลิต น าเข้า ส่งออก จ าหน่าย หรือมีไว้ในครอบครอง ซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 เฉพาะกัญชง (Hemp) พ.ศ. 2563 จึงท าให้ประเทศไทยเปิดโอกาสให้ สามารถบริโภคกัญชงได้ทั้งเชิงการแพทย์และเชิงสันทนาการ ส่วนกัญชาสามารถบริโภคได้เฉพาะ เชิงการแพทย์เท่านั้น อย่างไรก็ดี หากประชาชนบริโภคกัญชาและกัญชงไม่ถูกต้องตามค าแนะน าของผู้เชี่ยวชาญอาจ ส่งผลให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพ อาทิ อาการมึนเมา เคลิ้ม ใจสั่น หน้ามืด เห็นภาพหลอน และรบกวน การรับรู้ของร่างกาย เป็นต้น ซึ่งอาการดังกล่าวมีสาเหตุมาจากสาร THC ที่อยู่ในกัญชาและกัญชง ที่สามารถ เข้าสู่ร่างกายด้วยระบบทางเดินอาหารไม่ว่าเป็น การรับประทาน การดื่ม และการสูบ เป็นต้น ทั้งนี้ อาการ ที่ไม่พึงประสงค์จะมีลักษณะที่รุนแรงหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับปัจจัยภายในร่างกายของแต่ละบุคคลว่า มีความไว หรือความอ่อนไหวต่อสาร THC มากหรือน้อยเพียงใด ซึ่งอาจกล่าวได้ว่า ไม่มีปริมาณปลอดภัยที่ แน่ชัดในการบริโภคสาร THC ที่มีอยู่ในกัญชาและกัญชง ดังนั้น จึงควรมีแนวทางในการจัดเก็บ ภาษีสรรพสามิตจากกัญชาและกัญชง เพื่อควบคุมการบริโภคกัญชาและกัญชงที่มีผลกระทบต่อสุขภาพ ในประเทศสหรัฐอเมริกามีการเปิดโอกาสให้ประชาชนบริโภคกัญชาและกัญชงภายใต้การจัดเก็บ ภาษีสรรพสามิตตามมูลค่า หรือตามปริมาณ หรือตามความเข้มข้นของสารเคมีซึ่งแต่ละมลรัฐสามารถ จัดรูปแบบการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตให้เข้ากับสภาพสังคมและเศรษฐกิจของตนเองได้ทั้งนี้ ผู้ศึกษาพบว่า เมื่อประเทศสหรัฐอเมริกามีการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตเพื่อจ ากัดการบริโภคกัญชาและกัญชงที่มี ผลกระทบต่อสุขภาพ โดยจ าแนกตามวัตถุประสงค์ของการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตแล้ว มีผลลัพธ์ดังต่อไปนี้ ประการที่หนึ่ง แต่ละมลรัฐสามารถจัดเก็บภาษีสรรพสามิตที่เป็นรายได้ของภาครัฐได้เพิ่มมากขึ้น และมีแนวโน้มที่จะสร้างรายได้ให้กับภาครัฐเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ประการที่สอง เมื่อมีการเปิดโอกาสให้ประชาชนบริโภคกัญชาและกัญชงภายใต้การจัดเก็บ ภาษีสรรพสามิตสามารถจ ากัดการบริโภคของประชาชนช่วงอายุ 12 ถึง 17 ปี ออกจากประชากรที่มีการบริโภค กัญชาและกัญชงทั้งหมดได้นอกจากนี้ ยังสามารถลดจ านวนผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาอาการที่ไม่พึง ประสงค์จากการบริโภคกัญชาและกัญชงได้อีกด้วย ประการที่สาม การตรวจจับผู้กระท าความผิดโทษฐานจ าหน่ายสินค้าผิดกฎหมายในตลาดมืด มีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง จากผลลัพธ์ข้างต้นจะเห็นได้ว่า การจัดเก็บภาษีสรรพสามิตจากกัญชาและกัญชงของประเทศ สหรัฐอเมริกาสามารถยับยั้ง หรือจ ากัดการบริโภคของประชาชนบางกลุ่มออกไปได้และยังท าให้ผู้ป่วย ที่เข้ารับการรักษาอาการที่ไม่พึงประสงค์จากการบริโภคกัญชาและกัญชงลดลงไปอีกด้วย อย่างไรก็ดี หากประเทศไทยน าหลักเกณฑ์และวิธีการการจัดเก็บภาษีจากกัญชาและกัญชงของประเทศสหรัฐอเมริกา มาประยุกต์ใช้ให้เข้ากับสภาพสังคมและเศรษฐกิจของประเทศไทย ก็อาจสามารถจ ากัดการบริโภคกัญชา และกัญชงที่มีผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนได้ ทั้งนี้ จากการด าเนินการศึกษาด้วยวิธีการค้นคว้าและรวบรวมข้อมูลที่เป็นการวิจัยเอกสาร ผู้ศึกษาจึงขอเสนอแนะแนวทางในการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตจากกัญชาและกัญชงเพื่อให้เกิดผลลัพธ์ ในการจัดเก็บภาษีที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นไว้ดังต่อไปนี้ ประการที่หนึ่ง การจัดเก็บภาษีสรรพสามิตจากกัญชาและกัญชงที่มีผลกระทบต่อสุขภาพนั้น ประเทศไทยควรเพิ่มหลักเกณฑ์ในการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตตามความเข้มข้นของสารเคมีและเพิ่มพิกัด อัตราภาษีสรรพสามิตของสาร THC ที่เป็นเหตุแห่งการท าลายสุขภาพของประชาชนที่แท้จริง โดยการ แก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต แต่การจัดเก็บภาษีสรรพสามิตนั้นควรมีการจัดเก็บเฉพาะ การบริโภคกัญชาและกัญชงเชิงสันทนาการเท่านั้น ส่วนการบริโภคเชิงการแพทย์มิควรจัดเก็บ เนื่องจาก เป็นการรับรอง หรือคุ้มครองสิทธิของผู้ป่วย และไม่เป็นการจ ากัดการเข้าถึงการรักษาโรคของประชาชนที่ เป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่พลเมืองควรจะได้รับ ประการที่สอง การก าหนดอัตราภาษีต้องค านึงถึงปัจจัยหลายๆ ด้าน อาทิ อัตราภาษีจะต้องอยู่ ณ จุดที่สามารถจ ากัดการบริโภคของผู้บริโภคบางกลุ่มที่ไม่มีก าลังการซื้อมากพอ อัตราภาษีจะต้องสามารถ กระทบต่อพฤติกรรมการบริโภคโดยตรงของผู้ที่ก าลังคิดจะบริโภคกัญชาและกัญชง อัตราภาษีจะต้องมีการ สร้างต้นทุนที่เกิดจากการบังคับใช้กฎหมายให้น้อยที่สุด อัตราภาษีจะต้องมีการสร้างรายได้ให้ภาครัฐ และ อัตราภาษีจะต้องไม่สูงเกินไปจนก่อให้เกิดสินค้าหนีภาษี ประการที่สาม ควรเพิ่มฉลากและข้อควรระมัดระวัง เพื่อเป็นการเพิ่มข้อมูลก่อนการตัดสินใจซื้อ ของผู้บริโภค โดยในฉลากและข้อควรระวังจะต้องระบุถึงผลข้างเคียง หรือค าเตือนใดๆ ที่ท าให้ผู้ที่ก าลัง จะตัดสินใจบริโภคกัญชาและกัญชงได้ยั้งคิดก่อนว่าหากบริโภคแล้วอาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพ ดังนั้น หากประเทศไทยมีการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตจากกัญชาและกัญชงที่ก าลังได้รับความสนใจ จากประชาชน โดยการน าหลักการและแนวคิดในการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตจากัญชาและกัญชงของ ประเทศสหรัฐอเมริกามาปรับใช้ให้เข้ากับสภาพสังคมและเศรษฐกิจของประเทศไทย จะท าให้สามารถ จ ากัดการบริโภคกัญชาและกัญชงที่มีผลกระทบต่อร่างกายได้
Description: เอกัตศึกษา (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2564
Degree Name: ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: กฎหมายเศรษฐกิจ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78725
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.IS.2021.186
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.IS.2021.186
Type: Independent Study
Appears in Collections:Law - Independent Studies

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6380034434.pdf10.08 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.