Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78965
Title: | การแปลวาทกรรมความถูกต้องเชิงการเมืองในบทคัดสรรจากเรื่อง Politically Correct Bedtime Stories ของ James Finn Garner |
Other Titles: | A translation of political correctness in Politically Correct Bedtime Stories by James Finn Garner |
Authors: | กมลสรร ทวีวงษ์ |
Advisors: | แพร จิตติพลังศรี |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์ |
Advisor's Email: | [email protected] |
Subjects: | การแปลและการตีความ ภาษาอังกฤษ -- การแปล Translating and interpreting English language -- Translations |
Issue Date: | 2560 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | สารนิพนธ์ฉบับนี้เป็นศึกษาการแปลวาทกรรมความถูกต้องเชิงการเมืองในตัวบทคัดสรรจากเรื่อง Politically Correct Bedtime Stories ของ เจมส์ ฟินน์ การ์เนอร์ สมมติฐานในการวิจัยคือ นอกจากทฤษฎีการแปลที่เกี่ยวข้องแล้ว การแปลวาทกรรมความถูกต้องเชิงการเมืองในตัวบทคัดสรรจากเรื่อง Politically Correct Bedtime Stories ของ เจมส์ ฟินน์ การ์เนอร์ ควรอาศัยทฤษฎีวาทกรรมวิเคราะห์ (Discourse Analysis) ของ ปีเตอร์ นิวมาร์ค ทฤษฎี Interpretive Approach ของ ฌอง เดอลีล แนวทางการแปลทางสตรีนิยมของ มาซาดิเออร์-เคนนี่, ลูอีส ฟอน โฟลโทว์, เชอร์รี ไซมอน, แนวคิดเสียดสีของ พอล ซิมป์สัน, แนวคิดแฝงนัยของ ลินดา ฮัตเชิน เพื่อแปลตัวบทคัดสรรจำนวน 26 หน้า ผลการวิจัยพบว่า ปัญหาที่พบในการแปลวาทกรรมความถูกต้องเชิงการเมืองในตัวบทมีดังนี้ (1) การแปลคำสร้างใหม่ (2) การแปลคำเป็นกลางทางเพศสภาพ (3) การแปลคำคุณศัพท์ที่ไม่ใส่อคติ (4) การแปลข้อความเสียดสีที่อยู่ในทำเนียบภาษา (register) ที่เป็นทางการ ผิดจากบริบท กลวิธีการแปลที่ผู้วิจัยใช้ คือ (1) แปลการเสียดสี คำแฝงนัย ให้แปลกแยกชัดเจน โดดเด่นออกมาจากตัวบทตามแนวคิดของ พอล ซิมป์สัน และ ลินดา ฮัตเชิน (2) ใส่คำนำผู้แปล ตามกลวิธีของ ลูอีส ฟอน โฟลโทว์ |
Other Abstract: | The study aims to study the techniques for translating political correctness discourse in Politically Correct Bedtime Stories by James Finn Garner. The hypothesis of this study is that the knowledge of Discourse Analysis by Peter Newmark; Interpretive Approach by Jean Delisle; feminist translation approaches by Massardier-Kenney, Luise von Flotow, and Sherry Simon; the study of satire by Paul Simpson; and also the study of irony by Linda Hutcheon are required in order to translate the 26 pages of the selected text. The results of the study show that there are four major problems in translating political correctness discourse of the selected texts: (1) translating new words (2) translating gender neutral words (3) translating unbiased adjectives (4) translating satire and ironic words/phrases which are appear to be in a different register than other parts. The techniques applied as solutions are (1) Paul Simpson and Linda Hutcheon’s strategies by making satires and ironies stand out in the text (2) translator’s preface according to Luise von Flotow ‘s technique of prefacing. |
Description: | สารนิพนธ์ (อ.ม.) -- จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2560 |
Degree Name: | อักษรศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | การแปลและการล่าม |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78965 |
URI: | http://doi.org/10.58837/CHULA.IS.2017.64 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.58837/CHULA.IS.2017.64 |
Type: | Independent Study |
Appears in Collections: | Arts - Independent Studies |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Kamolsan Ta_tran_2017.pdf | 2.92 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.