Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78970
Title: | การแปลกวีนิพนธ์เรื่อง Santa Go Home : A Case History for Parents Embellished by Robert Osborn ของ Ogden Nash |
Other Titles: | Translation of poetic work : Santa Go Home : A Case History for Parents by Ogden Nash embellished by Robert Osborn |
Authors: | กฤษดากร อินปถม |
Advisors: | รองรัตน์ ดุษฎีสุรพจน์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์ |
Advisor's Email: | [email protected] |
Subjects: | กวีนิพนธ์อังกฤษ -- การแปล การแปลและการตีความ Verse satire, English -- Translations English poetry -- Translations Translating and interpreting |
Issue Date: | 2556 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | สารนิพนธ์ฉบับนี้มุ่งศึกษาหาแนวทางการถ่ายทอดกวีนิพนธ์ภาษาต่างประเทศให้เป็นภาษาไทย โดยใช้กวีนิพนธ์เรื่อง Santa Go Home : A Case History for Parents ของ Ogden Nash ภาพประกอบโดย Robert Osborn เป็นกรณีศึกษา ซึ่งกวีนิพนธ์ดังกล่าวเป็นการนำเสนอเรื่องราวของซานตา คลอส ในรูปแบบตลกขบขันเชิงเสียดสี ผู้วิจัยจึงมุ่งศึกษาทฤษฎีและแนวทางที่เกี่ยวข้อง ศึกษาวิเคราะห์ต้นฉบับโดยวิเคราะห์องค์ประกอบภายนอกและภายใน วิเคราะห์ปัญหาวางแผนและเลือกรูปแบบที่เหมาะสมในการแปลเพื่อให้ได้บทแปลที่มีอรรถรสใกล้เคียงกับต้นฉบับมากที่สุด บทกวีที่เลือกมานี้เป็นบทกวีที่มีรูปแบบการประพันธ์แบบ heroic couplet ประยุกต์ โดยผู้วิจัยได้ทำการแปลบทกวีเรื่องนี้ทั้งเรื่อง ซึ่งมีความยาว 466 บรรทัด โดยการแปลเป็นร้อยแก้วเพื่อความเข้าใจที่ถูกต้องก่อนแล้วจึงถอดความเป็นร้อยกรองที่สละสลวยอีกที จากการศึกษาครั้งนี้พบว่าทฤษฎีและแนวทางต่างๆ ที่สามารถช่วยให้ผู้วิจัยสามารถถ่ายทอดบทแปลได้อย่างเหมาะสมประกอบด้วย ทฤษฎีสโคพอสของแคทารินา ไร้ส์และฮันส์แฟรเมียร์ ซึ่งช่วยในการทำความเข้าใจเกี่ยวกับเป้าหมายของการแปลเป็นหลักและช่วยในการคำนึงถึงเรื่องการถ่ายทอดทางวัฒนธรรม แนวทางการแปลกวีนิพนธ์ของอองเดร เลอแฟฟวร์ ซึ่งช่วยในการตีความ รักษาเสียงและสัมผัสตามต้นฉบับให้ได้มากที่สุด แนวทางการแบ่งประเภทการแปลของปีเตอร์ นิวมาร์ค ซึ่งช่วยในการแปลแบบตามตัวอักษร แปลแบบรักษารูปรักษาความ แปลแบบครบความ แปลแบบสื่อความ และแปลแบบเก็บความ แนวทางการวิเคราะห์ตัวบทของคริสติอาเน นอร์ด ซึ่งช่วยในการวิเคราะห์ตัวบทต้นฉบับทั้งภายนอกและภายในก่อนถ่ายทอดเป็นภาษาฉบับแปล แนวทางการแบ่งประเภทต้นฉบับของแคทารินา ไร้ส์ ซึ่งช่วยในการพิจารณาหน้าที่ของตัวบทซึ่งขึ้นอยู่กับเจตนาในการสื่อสารได้ดีขึ้น แนวทางการแปลแบบตีความของฌอง เดอลิล ซึ่งช่วยในการตีความต้นฉบับโดยผละออกจากต้นฉบับแล้วนำไปถ่ายทอดใหม่ให้เป็นภาษาปลายทางที่เข้าใจมากกว่าเดิม แนวทางการแบ่งประเภทการแปลชดเชยของฮาร์วีย์และฮิกกินส์ ซึ่งช่วยทำให้เกิดความเข้าใจเกี่ยวกับแนวทางการแบ่งประเภทของการแปลชดเชยเพื่อนำมาใช้ในการแก้ปัญหาในเรื่องสมมูลภาพของต้นฉบับ แนวทางการแบ่งประเภทวัจนลีลาของมาร์ติน โจส ซึ่งช่วยทำให้เลือกแปลระดับภาษาในแต่ละสถานการณ์การสื่อสารได้อย่างเหมาะสม แนวทางการแปลชื่อของลินคอล์น เฟอร์นานเดสซึ่งช่วยในการแปลชื่อเฉพาะที่มีเรื่องของวัฒนธรรมเข้ามาเกี่ยวข้อง หลักอรรถศาสตร์เรื่อง Scenes-and-frames semantics ของชาร์ลส์ เจ ฟิลมอร์ ซึ่งช่วยในการอธิบายกระบวนการผลิตงานแปล ที่เน้นความสำคัญของความคิดสร้างสรรค์ในการสร้างรูปแบบใหม่ในภาษาปลายทาง ซึ่งสามารถกระตุ้นให้เกิด scene ที่เทียบเคียงในจินตภาพของผู้อ่านได้อย่างเหมาะสมตามหน้าที่ของงานแปลที่กำหนดไว้ แนวคิดเกี่ยวกับการเสียดสีของอัลวิน บี เคอร์แนนและโรเบิร์ต แฮร์ริส ซึ่งช่วยในการแปลแบบคงอรรถรสของต้นฉบับแบบตลกขบขันเชิงเสียดสีไว้ได้ในภาษาฉบับแปล แนวทางการแปลวรรณกรรมของวัลยา วิวัฒน์ศร ซึ่งช่วยในการทำความเข้าใจในตัวบทต้นฉบับ ถ่ายทอดความหมาย และตรวจสอบเพื่อให้ได้บทแปลที่สื่อความหมายและความเข้าใจได้ตามต้นฉบับ แนวคิดเกี่ยวกับภาพพจน์ ซึ่งช่วยในการวิเคราะห์ปัญหาของต้นฉบับร่วมกับแนวทางการวิเคราะห์ตัวบทของคริสติอาเน นอร์ดได้ แนวคิดเกี่ยวกับรูปแบบการประพันธ์ร้อยกรองอังกฤษและไทย ซึ่งช่วยในการทำความเข้าใจ วิเคราะห์ต้นฉบับในเรื่องของรูปแบบการประพันธ์ และช่วยในการพิจารณาเปรียบเทียบเพื่อเลือกรูปแบบการประพันธ์ในภาษาปลายทางที่สามารถถ่ายทอดเนื้อความของต้นฉบับให้ถูกต้องและมีอรรถรสใกล้เคียงที่สุด ภายหลังการศึกษาทฤษฎีการแปลและแนวทางการแปลที่เกี่ยวข้องประกอบกับการศึกษาเปรียบเทียบฉันทลักษณ์ของตัวบทต้นฉบับและฉันทลักษณ์ประเภทต่างๆ ในภาษาไทย พบว่ารูปแบบฉันทลักษณ์กลอนสุภาพ (กลอนแปด) เป็นรูปแบบที่เหมาะสมที่จะนำมาใช้ในการถ่ายทอดรูปแบบและความหมายของกวีนิพนธ์ประเภท mock heroic couplet เรื่อง Santa Go Home : A Case History for Parents เป็นภาษาไทยได้ดีที่สุด ด้วยความเหมาะสมด้านฉันทลักษณ์ ความลงตัวด้านรูปแบบ จำนวนคำ จังหวะ วัจนลีลา ธรรมเนียมในการแต่งและถ่ายทอดความรู้สึกได้สอดคล้องกับตัวบท |
Other Abstract: | This special research aims at studying the translation of English poetry into Thai. The selected poetic work is Santa Go Home : A Case History for Parents by Ogden Nash, embellished by Robert Osborn. This poem presents the story of Santa Claus in satirical humor. The study puts an emphasis on using translation theories and other necessary approaches to analyze extratextual and intratextual components and other relevant problems, make a good plan for translation and finally choose an appropriate Thai poetic form which gives equivalent poetic effects. The chosen poem is written in the style of mock heroic couplets, containing 466 lines. In the process of translation, the researcher translates the work into Thai prose for clarity before rewriting it in an exquisite poetic form. The findings show that the translation theories and approaches which are appropriate in translation are as follows: Katharina Reiss's and Hans Vermeer's Skopostheorie which helps to understand the target of translation and be aware of transferring cultural elements, André Lefevere's Poetry Translation Approach which is helpful in interpreting text, maintaining senses, sounds and rhymes equivalent to those of the original text, Peter Newmark's Translation Methods which is used in selecting types of translation, literal, faithful, semantic or communicative and idiomatic translation which is appropriate for each line, Christiane Nord's Textual Analysis which helps to analyze extratextual and intratextual components of the text, Katharina Reiss’s Text Type which helps to consider the function of text along with its communicative purpose, Jean Delisle’s Interpretative Approach which helps to create better understanding of the text through the process of comprehension, reformulation and verification respectively, Harvey and Higgin’s Compensation Approach which helps to solve the problem of translation equivalence, Martin Joos's Styles which helps to select suitable registers for different situations appropriately, Lincoln Fernandes's Translation of Names Approach which helps to translate cultural specific names, Charles J. Filmore's Scenes-and-Frames Semantics which helps to enable the reader to create a new scene in his or her imagination, Alvin B. Kernan's and Robert Harris's Modern Satire and Purpose and Method of Satire which helps to maintain humorous and satirical tone of the poem, Wallaya Wiwatsorn’s literary translation approach which helps to understand the source text, transfer its meaning and verify the translated text for communicative purposes and better understanding, making sure that it is equivalent to the source text, Concepts of Figurative Language, along with Chistiane Nord's Textual Analysis Approach which helps to analyze the problems of the source text, Concepts of Poetry Components in English and Thai Poetry which helps to analyze forms and meanings of the source text and those of the target text, and choose an appropriate poetic form in the target text which can maintain the accuracy, flavor and equivalence of the original text. After the study of relevant translation theories, approaches and the comparison between Thai and English prosody, the researcher finds that “Klon Supharb (Klon Pad)” is the appropriate form for a mock heroic couplet pattern used in Santa Go Home : A Case History for Parents by Ogden Nash because they are similar in prosody, form, numbers of words, rhythm, styles and Klon Supharb can maintain the original flavor and equivalent meaning of the poem. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (อ.ม.) -- จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556 |
Degree Name: | อักษรศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | การแปลและการล่าม |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78970 |
Type: | Independent Study |
Appears in Collections: | Arts - Independent Studies |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Krisdakorn In_tran_2013.pdf | 1.35 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.