Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/7958
Title: เครื่องสร้างสูญญากาศสำหรับการดูดเซลล์เพื่อการตรวจวินิจฉัยทางเซลล์วิทยา : รายงานผลการวิจัย
Other Titles: Negative pressure induction devices for fine-needle aspiration cytology
Authors: ธันวา ตันสถิตย์
พิเชฐ สัมปทานุกุล
Email: [email protected]
ไม่มีข้อมูล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Subjects: สุญญากาศ
เซลล์วิทยา
สิ่งประดิษฐ์
มะเร็ง -- การวินิจฉัยจากเซลล์
เครื่องสร้างสุญญากาศ
Issue Date: 2548
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ทั่วโลกมีสตรีจำนวนมากต้องทนทุกข์กับมะเร็งเต้านม การเฝ้าระวังและตรวจพบได้ตั้งแต่ในระยะแรกถือเป็นมาตรการสำคัญในปัจจุบันที่จะรับมือกับปัญหานี้ การวินิจฉัยที่แน่ชัดทางพยาธิวิทยาของชิ้นเนื้อที่สงสัยจากภาพถ่ายรังสีเต้านม การตรวจด้วยคลื่นความถี่สูง หรือรังสีวินิจฉัยอื่นๆ จะได้จากการได้ชิ้นเนื้อเยื่อมาตรวจเท่านั้น คนไข้ส่วนใหญ่ชอบที่จะรับการตรวจวินิจฉัยด้วยการใช้เข็มขนาดเล็กเจาะดูดเนื้อเยื่อมากกว่าการใช้เข็มขนาดใหญ่เจาะตัดชิ้นเนื้อเพราะค่าตรวจถูกกว่า มีความชอกช้ำน้อย และไม่เจ็บ เครื่องตรวจวินิจฉัยทางเซลล์วิทยาจุฬาได้ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อเพิ่มความไวและความจำเพาะของการตรวจวินิจฉัยทางเซลล์วิทยานี้ ตัวเครื่องประกอบด้วยปั้มสุญญากาศระบบโรตารี่ที่มีประสิทธิภาพที่มีกระเปาะติดตั้งภายใน และสวิทช์เท้าเหยียบ กระเปาะที่ติดตั้งภายในเครื่อง มีหน้าที่ดักสารชีวภาพไม่ให้เข้าไปปนเปื้อนในห้องใบพัดที่หล่อน้ำมันเพราะจะทำให้น้ำมันเป็นกรดเลาะเกิดการกัดกร่อนและมีการลัดวงจรของกระแสไฟ สวิทช์เท้าเหยียบใช้สำหรับควบคุมการดูดสุญญากาศ ระบบสุญญากาศได้รับการออกแบบเป็นพิเศษ เพื่อที่จะสามารถสร้างสุญญากาศได้ถึงสภาพสมบูรณ์ ภายในเวลา 3 วินาทีหลังการเหยียบสวิทช์และกลับสู่สภาพความดันบรรยากาศในทันทีที่ยกเท้าขึ้นจากสวิทช์เหยียบ เงื่อนไขนี้สำคัญมากต่อสัดส่วนการได้เนื้อเยื่อเพื่อการตรวจพยาธิสภาพ ถ้าสุญญากาศยังคงค้างอยู่ภายในระบบเมื่อถอนเข็มออกจากคนไข้ ปลายเข็มที่พ้นผิวหนังขึ้นมาจะดูดอากาศภายนอกเข้าไปแทนที่สุญญากาศภายในระบบ ก่อให้เกิดกระแสลมอัดที่รุนแรงพอจะเป่าเนื้อเยื่อที่ถูกดูดเข้ามาค้างอยู่ในเข็มหรือที่กระเปาะโคนเข็มให้กระจายไปทั่วภายในกระบอกฉีดยา ทำให้ไม่สามารถเก็บเนื้อเยื่อเพื่อเกลี่ยแผ่ออกบนสไลด์แก้วสำหรับการตรวจวินิจฉัยทางเซลล์วิทยาได้ เครื่องดูดนี้ช่วยให้การเจาะดูดทางเซลล์วิทยาทำได้สะดวกขึ้นและสามารถใช้แทนการเจาะดูดด้วยมือได้ เครื่องสั่นสามารถติดตั้งเพิ่มเข้าไปได้หากต้องการตรวจเนื้อเยื่อที่แข็งเหนียว เช่นเนื้อส่วนที่เกิดพังผืดของแผลเป็นหรือการมีภาวะรอยโรคพังผืดกระจายทั่วในเต้านม โดยทั่วไปแล้วแพทย์ผู้ตรวจจะแทงเข็มขึ้นลงหลายๆ ครั้งแบบการสักในรอยโรคที่ต้องการตรวจเนื้อเยื่อด้วยตัวเองซึ่งแน่นอนว่าการเขย่าด้วยเครื่องย่อมมีประสิทธิภาพมากกว่า นวัตกรรมใหม่อีกอย่างหนึ่งก็คือการใช้กระบอกฉีดยาแบบอินซูลิน เพื่อที่จะสามารถจับถือแบบปากกาขณะเจาะดูดแทนการประคองกระบอกฉีดยาขนาด 10 ซซ. ที่เทอะทะ การที่สามารถใช้กระบอกฉีดยาแบบอินซูลินได้ เกิดจากการออกแบบข้อต่อพิเศษเพื่อต่อสายยางซิลิโคนจากเครื่องดูดสุญญากาศมายังท้ายกระบอกฉีดยาแบบอินซูลิน การจับแบบปากกาเพื่อเจาะดูดจะสามารถควบคุมปลายเข็มได้แม่นยำกว่าการจับแบบกำหรือจับแบบโหย่งนิ้ว เครื่องตรวจวินิจฉัยทางเซลล์วิทยาจุฬาได้ใช้ในการเจาะตรวจรอยโรคของเต้านมที่ห้องตรวจด้วยคลื่นความถี่สูง ของศูนย์มะเร็งเต้านม โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์เป็นเวลากว่าสิบเดือนแล้ว ซึ่งได้ตรวจคนไข้กว่า 100 คนแล้ว ขณะนี้งานวิจัยทางคลินิกที่จะทดสอบประสิทธิภาพของเครื่องมือนี้กับก้อนที่คลำไม่ได้ของเต้านมที่เป็นคนไข้ทางศัลยกรรม และก้อนเนื้อเยื่อเดี่ยวของต่อมธัยรอยด์ที่เป็นคนไข้ของแผนกหูคอจมูก จากโครงการวิจัยทางสิ่งประดิษฐ์นี้ ผู้ประดิษฐ์ได้ยื่นขอรับการจดสิทธิบัตรจากกรมทรัพย์สินทางปัญญาผ่านทางสถาบันทรัพย์สินทางปัญญาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยแล้ว สองสิทธิบัตร
Other Abstract: Women suffer from breast cancer worldwide. Early diagnosis could mitigate this situation. Definite pathological diagnosis of the suspected breast lesion from mammogram, ultrasonography or other imagings is tissue biopsy. Most patients favor fine-needle aspiration cytology more than core needle biopsy because of its low cost, minimal trauma and less pain. Chula Fine Needle Aspirator has been developed for the purpose of increasing the sensitivity and specificity of this diagnostic test. The equipment consists of a rotary-system vacuum machine with internal reservoir and a foot paddle. The reservoir prevents contamination of the rotary vacuum chamber from biomaterial substances. The foot paddle controls the vacuum machine. The system is specially design so that pressure can reach absolute negative pressure (-760 mmHg) within 3 seconds after stepping the foot peddle and return to ambient pressure at once after release the foot paddle. This condition is importance for tissue yielding. If the negative pressure sustains in the system after withdrawal the needle from the patients the in-coming air from the needle tip certainly blow out the minute fragments of tissue from the needle barrel into the syringe. The tissue in the syringe can not be smeared and fixed onto the glass slide. Only tissues in the needle barrel or in the needle hub can be obtained for cytological preparation and examination. The aspirator fascilitates the fine-needle aspiration technique and replaces manual aspiration. The vibrators is an options to be added if the lesion is stiffed and tuff such as; fibrotic scar or fibroadenosis. Normally, the physicians move the needle forward and backward many times in the lesion during aspiration. Other innovation is the utilization of the tuberculin syringe for fine grip of hand instead of the 10-cc syringe. Special connector is designed for attachment of the syringe and the silicone conduit from the vacuum machine. Pen grip will control the needle tip accurately than cylindrical grip of finger-tip grip. Chula fine needle aspiration technique has been used under ultrasound guidance for breast tissue examination for 10 month and the clinical trials using this technique will be launched near future for determine of the efficacy in non-palpable breast lesion in the surgery patients and thyroid solid nodules in the ENT patients. From this project support by the rachadapisecksompoch fund, Chulalongkorn University, two patents has documented.
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/7958
Type: Technical Report
Appears in Collections:Med - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
tanvaa.pdf1.53 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.