Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/80394
Title: | การเปรียบเทียบการตรวจวัดระดับแลคเตทในเลือดของผู้ป่วยวิกฤตที่มีภาวะ การติดเชื้อในกระแสเลือดระหว่างชุดอุปกรณ์ตรวจวัดแลเตทในเลือดแบบพกพากับ เครื่องวิเคราะห์ปริมาณก๊าซในเลือดอัตโนมัติ |
Other Titles: | The comparison of blood lactate determination between blood lactate detection kit and blood gas analyzer in critically ill sepsis patients. |
Authors: | กิตติธัช คุณเจริญ ศศิชา ผู้บรรเจิดกุล อภิสรา งานชูกิจ |
Email: | [email protected] |
Advisors: | พรอนงค์ อร่ามวิทย์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเภสัชศาสตร์ |
Subjects: | เลือด -- การตรวจ เลือดติดเชื้อ |
Issue Date: | 2564 |
Publisher: | คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ในปัจจุบันการเสียชีวิตจากภาวะการติดเชื้อในกระแสเลือด (sepsis มีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งตัวชี้วัดหนึ่ง ที่สามารถทำนายการเกิดสภาวะ sepsis ได้คือระดับแลเตท (lactate) ในกระแสเลือด การตรวจวัตระดับแลคแตทใน กระแสเลือดนั้นสามารถตรวจได้โดยเครื่องวิเคราะห์ปริมาณก๊ซในเลือดอัตโนมัติ ซึ่งมีขั้นตอนที่ซับซ้อน และราคาสูง ทำให้ สามารถเข้าถึงได้อย่างจำกัด จึงได้มีการพัฒนาเครื่องตรวจวัดระดับแลตทแบบพกพาขึ้นเพื่อให้การตรวจวัดระดับแลคเตท ในกระแสเลือดมีความสะดวก และรวดเร็วขึ้น แต่การศึกษาเกี่ยวกับประสิทธิภาพของเครื่องดังกล่าวมีอยู่อย่างจำกัด จึงนำมาสู่การศึกษาเพื่อเปรียบเทียบคำร้อยละส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานสัมพัทธ์ (%RSD) และความแม่นยำ (accuracy) ของชุดตรวจ แลคเตทด้วยชุดอุปกรณ์ตรวจวัดแลคเตทในเลือดแบบพกพากับเครื่องวิเคราะห์ปริมาณก๊ซในเลือดอัตโนมัติ โดยการศึกษานี้ เป็นการศึกษาเชิงวิเคราะห์ที่เก็บข้อมูลไปข้างหน้า และใช้ข้อมูลจากผู้ป่วยวิกฤตโรงพาบาลจุฬาลงกรณ์สภากาชาดไทยระหว่างเดือน พฤศจิกายน 2563 ถึง กุมภาพันธ์ 2564 ผู้เข้าร่วมวิจัยทั้งหมด 53 ราย มีอายุเฉลี่ย 60.2 ปี ผลการศึกษาจากการการตรวจวัตระดับแลคเตทในกระแสเลือดด้วยชุดอุปกรณ์ตรวจวัดแบบพกพาเปรียบเทียบกับ เครื่องวิเคราะห์ปริมาณก๊าซในเลือดอัตโนมัติพบว่าชุดอุปกรณ์ตรวจวัดแบบพกพามีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ 0.976 (p<0.001) ชุดอุปกรณ์ตรวจวัดแบบพกพา มีค่ร้อยละส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานสัมพันธ์ (9 Relative standard deviation) ไม่เกินร้อยละ 15 เปอร์เซ็นต์ มีค่ความถูกต้อง (% accuracy) ในช่วง 62.5 ถึง 133.3 เปอร์เซ็นต์ และมีค่า effectiveness index เท่ากับ 0.940 โดยสรุปการศึกษาครั้งนี้ แสดงให้เห็นถึงความจำเป็นในการพัฒนาเครื่องตรวจวัดระดับแลคเตทแบบพกพาให้สามารถตรวจวัดระดับแลคเตทในกระแสเลือดได้อย่างแม่นยำ เพื่อช่วยทำนายการเกิดภาวะ sepsis และ septic shock ได้ในอนาคต อย่างไรก็ตามอาจต้องการศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวประสิทธิภาพของเครื่องตรวจวัดระดับแลคเตทแบบพกพาโดยมีการศึกษากับจำนวนประชากรที่มากขึ้นต่อไป |
Other Abstract: | Currently, the trend of deaths from sepsis is increasing, and one of the indicators that can predict the occurrence of sepsis is the level of lactate in the blood. Lactate levels can be measured by an automatic blood gas analyzer, but access is limited due to the complexity and high cost. Therefore, a portable blood lactate detection kit was developed to facilitate and speed up the measurement of lactate in the bloodstream. However, the research on that portable kit's effectiveness is limited. The purpose of this study is to compare the percentage relative standard deviation (%6RSD) and accuracy of a portable blood lactate detection kit with an automatic blood gas analyzer. A prospective cohort study using data from critically ill sepsis patients at King Chulalongkorn Memorial Hospital between November 2020 to February 2021. A total of 53 participants were enrolled with a mean age of 60:2 years. The result found that the portable blood lactate detection kit had a correlation coefficient of 0.976 (p<0.001), a relative standard deviation of not more than 15%, a percent accuracy in the range of 62.5 to 133.3, and an effectiveness index of 0.940. In conclusion, this study demonstrates the importance of developing a portable blood lactate detection kit that can accurately measure lactate levels in the bloodstream. This may enhance the prediction of sepsis and septic shock in the future. However, a larger population study may be required to investigate the effectiveness of a portable lactate detection kit. |
Description: | โครงการปริญญานิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรเภสัชศาสตร์บัณฑิต สาขาวิชาการบริบาลทางเภสัชกรรม คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2564 |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/80394 |
Type: | Senior Project |
Appears in Collections: | Pharm - Senior projects |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Pharm_SeniorProject_1.3_2564.pdf | ไฟล์โครงงานทางวิชาการฉบับเต็ม | 7.12 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.