Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/8043
Title: การออกแบบและสร้างเครื่องให้สารละลายคนไข้ ควบคุมโดยไมโครโปรเซสเซอร์
Other Titles: Design and construction of microprocessor-controlled infusion pump
Authors: สมชาย จิตะพันธ์กุล
บุญเชียร ปานเสถียรกุล
ถนัดวิทย์ รัชตาภิรมย์
Email: [email protected]
ไม่มีข้อมูล
[email protected]
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยรังสิต. คณะแพทยศาสตร์
ไม่มีข้อมูล
Subjects: เวชภัณฑ์
เครื่องให้สารละลาย
ไมโครโปรเซสเซอร์
Issue Date: 2531
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยครั้งนี้เป็นการออกแบบและสร้างเครื่องให้สารละลายคนไข้ ควบคุมโดยไมโครโปรเซสเซอร์ โครงสร้างของเครื่องแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนทางกลและส่วนทางไฟฟ้า ส่วนทางกล คือตัวสูบแบบปริมาตรที่ถูกควบคุมการทำงานจากมอเตอร์ไฟฟ้า 2 ชุด มอเตอร์แบบจังหวะสำหรับขับเคลื่อนลูกสูบขึ้นลง เพื่อดูดสารละลายจากภาชนะและจ่ายให้คนไข้ มอเตอร์กระแสตรงหมุนลิ้นอยู่ด้านบนของตัวสูบให้อยู่ในตำแหน่งดูดและจ่าย ศูนย์กลางการควบคุมการทำงานของระบบ คือ ไมโครโปรเซสเซอร์ Z80A ที่ทำงานตามโปรแกรมควบคุมซึ่งถูกเก็บไว้ในหน่วยความจำถาวรขนาด 2 กิโลไบท์จำนวน 2 ชุด ข้อมูลที่ต้องใช้ในระหว่างการปฏิบัติงานจะถูกป้อนผ่านปุ่มกดจำนวน 16 ปุ่ม ไปเก็บไว้ในหน่วยความจำชั่วคราวขนาด 2 กิโลไบท์จำนวน 1 ชุด สถานะการทำงานของเครื่องจะแสดงด้วยหน่วยแสดงผลทั้งทางแสงและเสียง ทั้งนี้ ไดโอดเปล่งแสง7 ส่วนสำหรับแสดงอัตราการไหลและปริมาณของสารละลาย ส่วนโดโอดเปล่งแสงและลำโพงสำหรับแสดงสัญญาณเตือน สมรรถนะของเครื่องมีดังนี้ ปริมาณสารละลายจ่ายได้สูงสุด 9999 มิลลิลิตร อัตราการไหลสูงสุด 999 มิลลิลิตรต่อชั่วโมง มีการตรวจจับข้อบกพร่องต่างๆได้ดังนี้ เกิดฟองอากาศในสาย เกิดอุดตันของสาย ตั้งค่าปริมาณและอัตราการไหลไว้ที่ศูนย์ แรงดันไฟฟ้าของแบตเตอรีต่ำไป เครื่องทำงานผิดปกติการล้างเครื่อง และเมื่อการทำงานเสร็จเรียบร้อย อย่างไรก็ตามเครื่องที่สร้างขึ้นและได้รับการทดสอบให้ผลสรุปคือ ที่อัตราการไหลต่ำๆเครื่องทำงานได้ตามที่กำหนด แต่เมื่อตั้งอัตราการไหลให้สูงขึ้น เครื่องไม่สามารถให้อัตราการไหลได้ตามค่าที่ตั้งไว้ การไหลของสารละลายไม่ค่อยสม่ำเสมอ เนื่องจากลูกสูบเคลื่อนลงช้าเกินไปในจังหวะดูด ด้วยเหตุนี้จึงยังไม่ทำการทดสอบในสภาพการใช้งานจริง และมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงแก้ไขเครื่องใหม่เกือบหมด เพราะเลือกใช้สูบแบบรีดด้วยแผ่นกดแทน เพื่อแก้ปัญหาที่เกิดจากสูบแบบเดิม ที่มีแรงเสียดทานสูงทำให้กำลังที่ได้จากมอเตอร์ไม่พอเพียง อีกทั้งมีปัญหาในการจัดหาด้วย
Other Abstract: This research is the design and construction of microprocessor controlled infusion pump. The structure of this machine can be separated into 2 parts, mechanical and electrical parts. A volumetric pump is used and controlled by 2 motors, stepper motor for moving the piston and d.c.motor for rotating the valve. The central processing unit of this system is Z80A-CPU. The monitor program will be stored in the read only memory of 4 kilobytes. Any operating values will be kept in random access memory of 2 kilobytes by using 16 keyboards. For display unit, 7-segments LEDs are used to display rate and volume. The other LEDs and speaker are used for alarm display. The specifications of this machine are as follow: maximum volume is 9999 ml., maximum rate is 999 ml./hr., error detection capabilities such as “Air in line”, “Occlusion”, “0000 set volume”, “000 set rate”, “Low battery”, “Malfunction”, “Purge” and Operation complete”. However, after testing the constructed machine, the result can be concluded. First, at low speed, the infusion pump worked normally and satisfying. But it could not perform speed as high as the maximum rate specified. This error occurred because of the friction between cylinder and piston of the pump. Second, fluid flew unsteadily because the movement of the piston in intake cycle was too slow. So, we have redesigned the machine by changing to use the peristaltic finger pump in order to eliminate the former problem and the difficulty of seeking pump as spare part.
Description: โครงการวิจัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สถาบันวิจัยและพัฒนาของคณะวิศวกรรมศาสตร์ ; เลขที่ 20 G-EE-2527
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/8043
Type: Technical Report
Appears in Collections:Eng - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Somchai_design.pdf22.45 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.