Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/8222
Title: การศึกษาผลการเติมพอลิไวนิลแอลกอฮอล์ พอลิแลคติก แอซิดและพอลิคาโพรแลคโทนที่มีต่อการปรับปรุงสมบัติทางกลและความสามารถในการต้านทานความชื้นของคอมพอสิตโฟมที่มีแป้งมันสำปะหลังเป็นส่วนประกอบหลัก : รายงานผลการวิจัย
Other Titles: Preparation and characterization of starch-based composite foams
Authors: รัตนา รุจิรวนิช
Email: [email protected]
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. วิทยาลัยปิโตรเลียมและปิโตรเคมี
Subjects: แป้งมันสำปะหลัง
โพลิไวนิลแอลกอฮอล์
โพลิแลคติกแอซิด
โพลิคาโพรแลคโทน
Issue Date: 2547
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้เป็นการเตรียมคอมพอสิตโฟมโดยวิธีการอบจากแป้งมันสำปะหลังและพอลิเมอร์สังเคราะห์ที่ย่อยสลายได้แก่ พอลิไวนิลแอลกอฮอล์ พอลิแลคติก แอซิด และพอลิคาโพรแลคโทน จากการศึกษาโดยใช้กล้องสแกนนิ่งอิเล็กตรอนไมโครสโคป (Scanning electron microscope) พบว่าขอบบนและล่างของโฟมจะมีความหนาแน่นสูงในขณะที่ส่วนกลางของโฟมจะมีความหนาแน่นต่ำ ในงานวิจัยนี้ได้ศึกษาผลกระทบของความชื้นสัมพัทธ์เวลาในการเก็บโฟม การเติมพอลิเมอร์สังเคราะห์ที่ย่อยสลายได้และการเติมพลาสติไซเซอร์ที่มีผลต่อสมบัติเชิงกล ผลการศึกษาสมบัติเชิงกลพบว่า ค่าการทนต่อแรงดึงและค่าการทนต่อแรงโค้งงอจะให้ค่าสูงที่สุดที่สภาวะความชื้นสัมพัทธ์ 42 เปอร์เซ็นต์นาน 2 วัน และการเติมพอลิเมอร์สังเคราะห์สามารถปรับปรุงค่าการทนต่อแรงดึง ค่าการทนต่อแรงโค้งงอและค่าการยืดตัวของโฟมได้ ในขณะที่การเติมพลาสติไซเซอร์ทำให้ค่าการทนต่อแรงดึงและค่าการทนต่อแรงโค้งงอของโฟมลดลงแต่เพิ่มการยืดตัวของโฟม นอกจากนี้การศึกษาสมบัติการดูดซับน้ำแสดงให้เห็นว่า การเติมพอลิเมอร์สังเคราะห์ที่ย่อยสลายได้สามารถลดการดูดซับน้ำของโฟมได้และจากการศึกษาการย่อยสลายด้วยเอนไซม์อะไมเลสพบว่าพอลิเมอร์สังเคราะห์นี้มีผลน้อยมากต่อการย่อยสลายของแป้ง
Other Abstract: Starch-based composite foams were prepared by baking a mixture of starch and a synthetic biodegradable polymer (i.e., poly(vinyl alcohol), poly(lactic acid), and poly([epsilon]-caprolactone)) in a hot mold. This process can be used to prepare a thin walled object, such as a plate. Scanning electron micrographs of the cross-sectional view of the foams showed that the cellular size is very dense in the outer layer and les dense in the inner layer, the effect of relative humidity, storage time, the presence of synthetic biodegradable polymer, and the presence of plasticizers (i.e., glycerol, urea, and ammonium chloride) on tensile and flexural properties were investigated. For all formulations, the amount of relative humidity which gave the maximum value of the ultimate strength of the foams was 42%, while the storage time which gave the maximum value of the ultimate strength of the foams was 2 days (only tested for a fixed relative humidity of 42%). Addition of the synthetic biodegradable polymers improved the ultimate strength and the elongation at break of the foams. Increasing the plasticizer contents increased the elongation at break at the expense of the ultimate strength. Water absorption and biodegradability of the foams were also studied. Increasing the synthetic biodegradable polymer contents increased the water resistivity of the foams. Enzymatic degradation tests showed that the foams were degraded by enzyme [alpha]-amylase.
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/8222
Type: Technical Report
Appears in Collections:Petro - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
ratana_ru.pdf10.97 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.