Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/83657
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorจิรารัช กิตนะ-
dc.contributor.authorนพดล กิตนะ-
dc.contributor.authorวิเชฏฐ์ คนซื่อ-
dc.contributor.authorผุสตี ปริยานนท์-
dc.contributor.authorมุกเรขา เชี่ยวชาญชัย-
dc.contributor.authorยุพาพร วิสูตร-
dc.contributor.authorธฤษวรรณ ไตรจิตร์-
dc.contributor.authorภานุพงศ์ ธรรมโชติ-
dc.contributor.authorรชตะ มณีอินทร์-
dc.contributor.authorธงชัย ฐิติภูรี-
dc.contributor.authorพชร สิทธิชีวภาค-
dc.contributor.authorสุวิสาข์ ชอบจิตต์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์-
dc.date.accessioned2023-09-29T08:19:10Z-
dc.date.available2023-09-29T08:19:10Z-
dc.date.issued2562-
dc.identifier.urihttps://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/83657-
dc.description.abstractพื้นที่โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ ประกอบด้วยระบบนิเวศหลากหลาย ที่ยังคงสภาพอุดมสมบูรณ์ จากผลการศึกษาในภาคสนามที่ผ่านมาพบว่าในพื้นที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จ.เชียงใหม่ มีความหลากหลายทางชีวภาพของสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกค่อนข้างสูง มีสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกชนิดสำคัญ เช่น กบทูด Limnonectes blythii ซึ่งเป็นสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทยและมีสถานภาพเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง และจากศักยภาพในการพัฒนาเป็นสัตว์เศรษฐกิจ โดยคณะผู้วิจัยได้สำรวจสุขภาวะจากค่าทางโลหิตวิทยาของกบทูดในพื้นที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2560 และกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561 (ฤดูแล้งหนาว) เดือนเมษายน พ.ศ. 2560 (ฤดูแล้งร้อน) และเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2560 (ฤดูฝน) ได้กบทูดจำนวนทั้งหมด 23 ตัว เป็นกบเพศผู้ 13 ตัว มีน้ำหนักเฉลี่ย 295 กรัม มีความยาวจากปลายจมูกถึงรูทวารเฉลี่ย 141 มิลลิเมตร ได้กบทูดเพศเมียทั้งหมด 5 ตัว มีน้ำหนักเฉลี่ย 216 กรัม มีความยาวจากปลายจมูกถึงรูทวารเฉลี่ย 131 มิลลิเมตร และได้กบระยะ juvenile 5 ตัว จากการศึกษาทางโลหิตวิทยา พบว่ากบทูดมีเซลล์เม็ดเลือดประกอบด้วย erythrocyte, thrombocyte และ leukocyte 5 ชนิด ได้แก่ monocyte, lymphocyte, neutrophil, eosinophil และ basophil โดยที่มีลักษณะทางสัณฐานคล้ายคลึงกับกบชนิดอื่น ๆ ที่เคยมีรายงาน นอกจากนี้ยังพบว่ากบทูดมีการติดปรสิตในเลือด 3 กลุ่ม ได้แก่ Hepatozoon sp. มีกบทูดติดปรสิตชนิดนี้รวม 15 ตัว Microfilaria worm มีกบทูดติดปรสิตชนิดนี้รวม 3 ตัว และ Trypanosoma sp. มีกบทูดติดปรสิตชนิดนี้เพียง 1 ตัว คิดเป็นค่าความชุก (Prevalence) โดยรวมเท่ากับ 65% จากการศึกษาสัดส่วนของเซลล์เม็ดเลือดขาวแต่ละชนิด พบว่า เซลล์เม็ดเลือดขาวชนิด lymphocyte เป็นชนิดที่พบมากที่สุด และการติดปรสิตในเลือดมีผลต่อค่าสัดส่วนเซลล์เม็ดเลือดขาวบางชนิดเท่านั้น ได้แก่ ค่าสัดส่วนของ eosinophil มีค่ามากกว่าในกบทูดที่ติดปรสิต และ monocyte มีค่าต่ำกว่าในกบทูดที่ติดปรสิต ข้อมูลที่ได้จะเป็นประโยชน์ในการศึกษาสุขภาวะและชีววิทยาการสืบพันธุ์ของกบทูดในพื้นที่โครงการ อพ.สธ. ต่อไป เพื่อให้เข้าใจพลวัตประชากรและนิเวศสรีรวิทยาของกบทูด เพื่อการวางแผนการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ในระยะยาวต่อไปen_US
dc.description.sponsorshipได้รับทุนอุดหนุนการวิจัยจากงบประมาณแผ่นดิน ประจำปี 2561en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectกบ -- การสืบพันธุ์en_US
dc.subjectกบทูดen_US
dc.subjectFrogs -- Reproductionen_US
dc.subjectLimnonectes blythiien_US
dc.titleสุขภาวะ และชีววิทยาการสืบพันธุ์ของกบทูดในพื้นที่ปกปักพันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ : รายงานผลการดำเนินงานen_US
dc.title.alternativeHealth and reproductive biology of the Blyth's Giant frog Limnonectes blythii in RSPG areaen_US
dc.typeTechnical Reporten_US
Appears in Collections:Sci - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Jirarach_ki_Res_2562.pdf16.45 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.