Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/8449
Title: การศึกษาเปรียบเทียบคำว่า "Le" ในภาษาจีนกลางกับคำ "แล้ว" ในภาษาไทย
Other Titles: A comparative study of "Le" in Mandarin and "LEEW" in Thai
Authors: สุชาทิพย์ อัมพรดนัย
Advisors: สุรีย์ ชุณหเรืองเดช
ประพิณ มโนมัยวิบูลย์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์
Advisor's Email: [email protected]
[email protected]
Subjects: ภาษาไทย -- ไวยากรณ์
ภาษาจีน -- ไวยากรณ์
ภาษาไทย -- คำกริยาวิเศษณ์
ภาษาจีน -- คำกริยาวิเศษณ์
Issue Date: 2548
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาเปรียบเทียบความหมายและลักษณะทางไวยากรณ์ของคำ "le" ในภาษาจีนกลางซึ่งแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ คำ "le1" กับคำ "le2" และเพื่อศึกษาเปรียบเทียบความหมายและลักษณะทางไวยากรณ์ของคำ "le" ในภาษาจีนกลางกับคำ "แล้ว" ในภาษาไทย ผลการวิจัยพบว่า คำ "le1" กับ คำ "le2" ในภาษาจีนกลางมีความหมายและลักษณะทางไวยากรณ์ที่แตกต่างกัน คือ คำ "le1" เป็นคำช่วยแสดงความหมายของการณ์ลักษณะดำเนินการสำเร็จลุล่วง คือ การดำเนินการสำเร็จลุล่วงของการกระทำ และการดำเนินการสำเร็จลุล่วงของการเปลี่ยนแปลง ซึ่งความหมายทางไวยากรณ์ทั้งสองขึ้นอยู่กับหน่วยภาคแสดงที่คำ "le1" ปรากฏร่วมด้วยและรูปแบบของประโยค คำ "le2" แสดงความหมายของการปรากฏของสภาพหรือเหตุการณ์ใหม่ และเมื่อนำมาศึกษาเปรียบเทียบกับคำ "แล้ว" ในภาษาไทย พบว่าโดยปรกติแล้วคำ "แล้ว" จะแสดงความหมายทางไวยากรณ์เหมือนกับคำ "le1" เมื่อคำ "แล้ว" นั้นเป็น ก) คำช่วยหลังหน่วยภาคแสดง "แล้ว" ปรากฏในประโยคต้นของประโยคแสดงเหตุการณ์ที่มีลักษณะต่อเนื่อง ข) คำเชื่อมต้นอนุพากย์ "แล้ว" ปรากฏในประโยคหลังของประโยคแสดงเหตุการณ์ที่มีลักษณะ ต่อเนื่อง และ ค) คำ "แล้ว" ที่มีลักษณะก้ำกึ่งระหว่างคำช่วยหลังหน่วยภาคแสดงหรือคำเชื่อมปรากฏในโครงสร้างประโยคเดี่ยวที่มีภาคแสดงอย่างน้อย 2 หน่วย ซึ่งคำ "แล้ว" เหล่านี้จะแสดงความหมายว่า หน่วยภาคแสดงตำแหน่งแรกได้ดำเนินการสำเร็จลุล่วงแล้ว หน่วยภาคแสดงหลังจึงเกิดขึ้นตามมา ส่วนคำช่วยหลังหน่วยภาคแสดง "แล้ว" ที่ไม่ได้ปรากฏตามเงื่อนไข ก, ข, ค ข้างต้น จะมีความหมายทางไวยากรณ์เหมือนกับคำ "le2"
Other Abstract: This study aims to compare the grammatical meanings and syntactic structures of "le1" and "le2" in Mandarin Chinese, and those of "le" in Mandarin Chinese and "lεεw" in Thai. This study shows that "le1" and "le2" in Mandarin Chinese have different grammatical meanings and syntactic structures. "le1" is an aspect marker indicating either completion of action or change, depending on the types of co-occuring predicates and sentence structures with which the "le1" occurs. "le2" indicates the occurence of a new situation or a new state. Comparing "le1" and "le2" in Mandarin Chinese with "lεεw" in Thai, we find that "lεεw" in Thai and "le1" in Mandarin Chinese share grammatical meanings in the following circumstances : a) when the post-predicative auxiliary "lεεw" in Thai occurs at the end of the first clause in a compound sentence; b) when the clause co-ordinator "lεεw" in Thai occurs at the beginning of the subsequent clause in a compound sentence; and c) when a semi-post-predicative auxiliary / semi-clause co-ordinator "lεεw" occurs in a single sentence consisting of at least two predicates. In all these 3 cases, the word "lεεw" indicates that the first predicate has been completed, and then followed by the subsequent predicate. The post-predicative auxiliary "lεεw" in Thai that does not occur in the above mentioned circumstances shares similar grammatical meanings with "le2" in Mandarin Chinese.
Description: วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548
Degree Name: อักษรศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ภาษาจีน
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/8449
ISBN: 9741741464
Type: Thesis
Appears in Collections:Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
suchathip.pdf52.83 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.