Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/8526
Title: ความสัมพันธ์ระหว่างความเชื่อด้านสุขภาพ การรับรู้สมรรถนะแห่งตน ความหวังกับพฤติกรรมการดูแลตนเองด้านสุขภาพจิตของผู้ป่วยโรคซึมเศร้า
Other Titles: Relationships between health beliefs,self-efficacy, hope, and psychological self-care behaviors of patients with depressive disorder
Authors: อังคณา หมอนทอง
Advisors: รังสิมันต์ สุนทรไชยา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์
Advisor's Email: [email protected]
Subjects: ความซึมเศร้า
การดูแลสุขภาพด้วยตนเอง
สุขภาพจิต
Issue Date: 2549
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความเชื่อด้านสุขภาพ การรับรู้สมรรถนะแห่งตน ความหวังกับพฤติกรรมการดูแลตนเองด้านสุขภาพจิตของผู้ป่วยโรคซึมเศร้า กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าที่มารับการรักษาที่คลินิกจิตเวช ศูนย์สุขภาพจิตที่ 4 จำนวน 200 คน เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถามพฤติกรรมการดูแลตนเองด้านสุขภาพจิต แบบสอบถามความเชื่อด้านสุขภาพ แบบสอบถามการรับรู้สมรรถนะแห่งตน และแบบสอบถามความหวัง ซึ่งมีค่าความเที่ยงเท่ากับ .82, .78, .80 และ .84 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ หาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ความสัมพันธ์โดยใช้สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และวิเคราะห์ถอดถอยพหุคูณแบบมีขั้นตอน ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่า ค่าเฉลี่ยของความเชื่อด้านสุขภาพอยู่ในระดับสูง ส่วนคะแนนเฉลี่ยของการรับรู้สมรรถนะแห่งตน ความหวัง และพฤติกรรมการดูแลตนเองด้านสุขภาพจิตอยู่ในระดับปานกลาง และพบว่า ความเชื่อด้านสุขภาพมีความสัมพันธ์ทางลบในระดับต่ำกับพฤติกรรมการดูแลตนเองด้านสุขภาพจิตของกลุ่มตัวอย่าง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = -.151), p < .05) การรับรู้สมรรถนะในตนเองมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับต่ำกับพฤติกรรมการดูแลตนเองด้านสุขภาพจิตของกลุ่มตัวอย่าง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = .331, p < .00) และความหวังมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับต่ำกับพฤติกรรมการดูแลตนเองด้านสุขภาพจิตของกลุ่มตัวอย่าง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = .232, p < .001) ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณเชิงพยากรณ์พบว่า การรับรู้สมรรถนะแห่งตน ความเชื่อด้านสุขภาพและความหวังสามารถร่วมกันทำนายพฤติกรรมการดูแลตนเองด้านสุขภาพจิตของผู้ป่วยโรคซึมเศร้าได้ร้อยละ 17 (R[superscript 2] = .17)
Other Abstract: The purpose of this study was to examine the relationships between health beliefs, self-efficacy, hope, and psychological self care behaviors of patients with depressive disorders. The number of sample was 200 patients with depressive disorders at Psychiatric clinic of The Fourth Mental Health Center. The instruments were the Psychological Self-Care Behavior Questionnaire, the Health Belief Questionnaire, the Self-efficacy Questionnaire, and the Hope Questionnaire. The reliability of the instrument were .82, .78, .80 and .84 respectively. Data was analyzed using frequency, percentage, means, standard deviation, Pearsons’ Product Moment Correlation and Stepwise Multiple Regression. The results revealed that the mean score of health beliefs was at a high level whereas the mean score of self-efficacy, hope, and psychological self-care behaviors was at a moderate level. There was statistically significant low negative relationship between health beliefs and psychological self-care behaviors (r = -.151, p < .05), there was statistically significant low positive relationship between self-efficacy and psychological self-care behaviors (r= .331, p <.00), there was statistically significant low positive relationship between hope and psychological self-care behaviors (r-.232, p <.001). The results of stepwise multiple regression analysis showed that perceived health beliefs, self-efficacy and hope explained 17 percent (R [superscript 2] = .17) of variances of psychological self-care behaviors of patients with depressive disorders.
Description: วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549
Degree Name: พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/8526
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2006.828
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2006.828
Type: Thesis
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Angkana.pdf2.15 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.