Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/8567
Title: การศึกษาการเก็บโอโอไซต์ซ้ำด้วยเทคนิคใช้เครื่องมือคลื่นความถี่สูงสอดเข้าทางปากช่องคลอดในลูกกระบือปลักก่อนวัยเจริญพันธุ์ : รายงานผลงานวิจัย
Other Titles: Studies of report oocyte recovery by tranvaginal ultrasound-guided follicle aspiration technique in prepubertal Thai swamp buffalo calves
Authors: มงคล เตชะกำพุ
เอกชาติ พรหมดิเรก
นวเพ็ญ ภูติกนิษฐ์
จินดา สิงห์ลอ
Email: [email protected]
ไม่มีข้อมูล
[email protected]
ไม่มีข้อมูล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสัตวแพทยศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสัตวแพทยศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสัตวแพทยศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสัตวแพทยศาสตร์
Subjects: กระบือปลัก
โอโอไซต์
การผสมเชื้อ
Issue Date: 2544
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: จุดมุ่งหมายของการวิจัยนี้เพื่อศึกษาผลของการเก็บโอโอไซต์ด้วยการใช้เข็มเจาะดูดร่วมกับเครื่องมือคลื่นเสียงความถี่สูงสอดผ่านทางช่องคลอด (โอพียู) ซ้ำหลายครั้ง ในลูกกระบือปลักจำนวน 9 ตัว ทำการฝังฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนที่ใบหู 7 วันก่อนทำการกระตุ้นด้วยฟอลลิเคิล สติมูเลติงฮอร์โมน (เอฟเอสเอช) ขนาด 180 มิลลิกรัม แบ่งฉีดเช้าและเย็น 3 วันติดต่อกัน (40x40,30x30,20x20) ร่วมกับโกนาโดโทรปิน รีลิสซิง ฮอร์โมน (จีเอ็นอาร์เอช) ตรวจการตอบสนองของรังไข่หลังกระตุ้นและทำการดูดเก็บโอโอไซต์ด้วยแรงดูด 80-100 mmHg หลังจากฉีดจีเอ็นอาร์เอช 24 ชั่วโมง ห่างกันทุกๆ 2 สัปดาห์ 5 ครั้ง รวมทั้งหมด 42 ครั้ง ผลการศึกษาพบว่าลูกกระบือมีการตอบสนองต่อการกระตุ้นเท่ากับ 6.6+-3.6 ฟอลลิเคิลต่อตัว (n=256) คิดเป็น 88.1%(37/42) มีขนาดของฟอลลิเคิลที่พบหลังกระตุ้นเฉลี่ยเท่ากับ 5.0+-2.0 มิลลิเมตรผลการเก็บโอโอไซต์ที่ได้ในลูกกระบือเท่ากับ 5.4+-3.7 โอโอไซต์ต่อตัว คิดเป็น 82.4%(212/256) การเก็บโอโอไซต์แบบโอพียูหลายครั้งไม่มีผลกระทบต่ออัตราการเก็บ ครั้งที่ 1,2,3,4 และ 5 ให้อัตราการเก็บเท่ากับ 83.2%(43/50), 82.5%(54/66), 81.3%(42/52), 68.8%(27/36), 87.9%(46/52) ตามลำดับ จากการศึกษาพบว่าการเก็บโอโอไซต์ซ้ำแบบโอพียูไม่มีผลต่ออัตราการเก็บและคุณภาพของโอโอไซต์
Other Abstract: The objective of the studies was to investigate the effect of repeated oocyte collection by transvaginal ultrasound-guidance (OPU) in nine prepubertal swamp buffaloes, aged 8-10 mo, The animals were stimulated with 180 mg. Follicle Stimulating Hormone (FSH) twice a day for 3 consecutive days at the program of 40x40,30x30,20x20 mg (am/pm), starting from day 7 [superscript th] after an progesterone-ear implant. OPU was applied 24 hr after Gonadotropin releasing hormone (GnRH) injection at the end of treated program with 2 wks interval for 5 repeated collection. The results showed 88.1% (31/42) of animals responded to the treatment with the average of 6.6 +-3.6 follicles per animal (n=256). The mean of follicular diameter was 5.0+- 2.0 mm. The oocyte recovery rate was 5.4+-3.7oocytes per animal (212/256) which were 83.2%(43/50), 82.5%(54/66), 81.3%(42/52), 68.8%(27/36) and 87.9%(46/52) in the 1[superscript th], 2[superscript th], 3[superscript th], 4[superscript th] and 5[superscript th] collection, respectively (P>0.05). There were no differences in ovarian responses and recovery rates among the collections. From this experiment, it can be concluded that no effect of repeat OPU on recovery rate and oocyte quality were concerned.
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/8567
Type: Technical Report
Appears in Collections:Vet - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
mongkol_stu.pdf10.52 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.