Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/8593
Title: | ผลของยาต้านจุลชีพต่อการเจริญของเชื้อบิดมูกเลือดที่แยกจากสุกรในประเทศไทย |
Other Titles: | In vitro activities of antimicrobial agents against Brachyspira hyodysenteriae isolated from pigs in Thailand |
Authors: | เผด็จ ธรรมรักษ์ ณุวีร์ ประภัสระกูล วารี นิยมธรรม ธิติมา ไตรพิพัฒน์ |
Email: | [email protected] ไม่มีข้อมูล ไม่มีข้อมูล ไม่มีข้อมูล |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสัตวแพทยศาสตร์ |
Subjects: | ปฏิชีวนะทางสัตวแพทยศาสตร์ สุกร -- โรค ท้องร่วงในสุกร ท้องร่วงในสัตว์ |
Issue Date: | 2548 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจหาความชุกของเชื้อ Brachyspira spp. จากสุกรที่แสดงอาการท้องเสียปนเลือดหรือสุกรจากฟาร์มที่เคยมีประวัติของการถ่ายอุจจาระปนเลือดและศึกษาผลของยาต้านจุลชีพ 6 ชนิดต่อการเจริญของเชื้อบิดมูกเลือดที่แยกได้ ตัวอย่างที่ทำการศึกษาได้จากการเก็บ อุจจาระ หรือจากเยื่อบุผนังลำไส้สุกร ตัวอย่างทั้งหมดที่เก็บได้มีจำนวน 126 ตัวอย่าง ได้จากสุกรที่มีอาการถ่ายเหลวปนเมือกและ/หรือปนเลือดจำนวน 74 ตัวอย่าง กับสุกรที่ถ่ายปกติจำนวน 52 ตัวอย่าง การทดลองพบว่าสามารถแยกเชื้อ Brachyspira hyodysenteriae ได้จำนวน 14 ตัวอย่าง จากสุกรที่มีปัญหาท้องเสีย จำนวน 74 ตัว ตัวอย่างที่ได้จากสุกรที่ถ่ายปกติ 52 ตัวอย่างผลการตรวจไม่พบเชื้อ Brachyspira spp. แม้จะมีเคยมีประวัติการเกิดโรคนี้ในฟาร์ม ความชุกของการพบเชื้อคิดเป็นร้อยละ 19.8% (14/74) ของประชากรสุกรที่มีอาการถ่ายเหลว มีฟาร์มที่พบเชื้อ Brachyspira hyodysenteriae จำนวน 9 ฟาร์มจาก 19 ฟาร์มคิดเป็นร้อยละ 47.3 สุกรที่ตรวจพบเชื้อส่วนใหญ่เป็นสุกรขุนอายุ 20-24 สัปดาห์ จากการศึกษาค่า MIC ของเชื้อต่อยาต้านจุลชีพ 6 ชนิดพบว่า valnemulin มีประสิทธิภาพสูงสุดในการยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อสไปโรคีทที่ทำการศึกษาโดยมีค่า MIC อยู่ในช่วง 0.5-4 [mu]g/ml ในขณะที่ tylosin มีค่าให้ MIC สูงที่สุด และสูงกว่า actylisovaleryltylosin ซึ่งเป็นกลุ่มยาเดียวกัน เชื้อทุกตัวมีค่า MIC ในระดับที่สูงต่อlincomycin ส่วน doxycycline ให้ค่า MIC ที่ 4 และ 8 [mu]g/ml จากการทดลองพบแนวโน้มที่เพิ่มขึ้นของจำนวนเชื้อที่ดื้อต่อยาที่นำมาศึกษา |
Other Abstract: | The objective of the present study is to investigate the prevalence of Brachyspira spp in bloody diarrhea pig. The fecal sample and intestinal mucosa were obtained from the pigs with clinical symptoms of bloody diarrhea and from pig in the herd with a history of bloody diarrhea. A total number of 126 samples, 74 bloody diarrhea/mucus diarrhea and 52 normal feces, were submitted for bacterial culture and identification. Fourteen isolations were obtained from 74 fecal samples of diarrhea pig. Brachyspira hyodysenteriae could not be isolated from the pigs with normal feces (n=52), although the herds have a history of bloody diarrhea. The prevalence was 19.8% (14/74) among the pig with diarrhea. Brachyspira hyodysenteriae was found in 9 out of 19 herds in this study representing 47.3% of prevalence among the herd. Most of the pig that found the spirochete was between 20-24 wk of age and one sample were isolated from a sow. The MICs of 6 antimicrobials were carried out by agar dilution technique. Valnemulin had the lowest MIC values (ranged 0.5-4 [mu]g/ml) when compared with others. Tylosin yielded the least sensitivity to the organisms. All isolates had somewhat high MIC values when tested with lincomycin. As expected, actylisovaleryltylosin the second generation of tylosin, yielded lower MIC. |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/8593 |
Type: | Technical Report |
Appears in Collections: | Vet - Research Reports |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Padet_in.pdf | 429.57 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.