Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/863
Title: การประกอบสร้างและการสื่อความหมายของการ์ตูนการเมืองไทย ในช่วงรณรงค์การเลือกตั้งทั่วไป พ.ศ. 2544
Other Titles: The construction and signification of mass media political comics prior general election campaigning 2001
Authors: สุพัฒนศิริ แพงพันธุ์, 2515-
Advisors: ศิริชัย ศิริกายะ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์
Advisor's Email: [email protected]
Subjects: การ์ตูนการเมือง--ไทย
สัญศาสตร์
การเลือกตั้ง--ไทย
Issue Date: 2544
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาให้เข้าใจถึงวิธีและปัจจัยในการประกอบสร้างการ์ตูนการเมือง ตลอดจนการส่งผ่านความหมายของการ์ตูนการเมืองไทย ในช่วงรณรงค์การเลือกตั้งทั่วไป พ.ศ. 2544 รวมทั้งเพื่อเข้าใจลักษณะของการ์ตูนที่แสดงถึงเอกลักษณ์ของนักการเมืองไทย ที่ปรากฏในการ์ตูนการเมืองไทยในช่วงรณรงค์การเลือกตั้งทั่วไป พ.ศ. 2544 โดยใช้แนวคิดเรื่องการ์ตูน ทฤษฎีสัญญวิทยา แนวคิดเรื่องสารทางการเมืองในช่วงเลือกตั้ง และแนวคิดเรื่องเอกลักษณ์ มาเป็นแนวทางในการวิเคราะห์ ผลการศึกษาพบว่า การประกอบสร้างการ์ตูนการเมืองมี 4 ขั้นตอนคือ 1. การรับข้อมูลข่าวสาร 2. การเลือกประเด็นในการนำเสนอ 3. การประกอบสร้างภาพการ์ตูน และ 4. การนำเสนอภาพการ์ตูนสู่ผู้รับสาร ซึ่งมีปัจจัยที่เกี่ยวข้องคือ ปัจจัยภายในได้แก่ประสบการณ์และทัศนคติของนักเขียนการ์ตูน ปัจจัยภายนอกได้แก่นโยบายของหนังสือพิมพ์ ภาระหน้าที่ของนักเขียนการ์ตูน และผู้รับสาร ทั้งนี้การ์ตูนการเมืองไทยในช่วงรณรงค์การเลือกตั้งทั่วไป พ.ศ. 2544 สื่อความหมายใน 2 ประเด็นคือ ประเด็นเกี่ยวกับผู้สมัครรับเลือกตั้ง นำเสนอถึงความบกพร่องของผู้สมัครคนสำคัญ สำหรับประเด็นภาพรวมกล่าวถึงการทำงานขององค์กรกลาง ที่ดูแลการเลือกตั้งและพฤติกรรมทุจริตของผู้สมัครรับเลือกตั้ง นอกจากนี้พบว่ามีการสร้างเอกลักษณ์ทางภาพการ์ตูนให้กับนักการเมือง คือนายชวน หลีกภัย และ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร ทั้งนี้เอกลักษณ์ทางภาพการ์ตูนของนักการเมืองดังกล่าว มีลักษณะไม่ถาวร จะเปลี่ยนแปลงไปตามเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
Other Abstract: To find out methods and factors of political comics construction and the signification of political comics prior general election 2001 include personal identity in comic pictures of key politician. This research used the concepts of cartoon theory, semiology, political message in election period and identity as the conceptual for data analysis. The research results show that there are 4 stages of political cartoon construction. First is media exposure. The second stage is topic selection. The third is cartoon drawing. And the last stage is broadcasting to audience as internet and print media. Moreover, the political comics construction involved various factors. The internal factors are individual's attitude and experiences. The external factors are newspaper's policy in cartoon frame, cartoonist's responsibility and their audience. There are candidates and issue frames in election campaign coverage. The candidate frame emphasize candidate's dishonest action and the issue frame present power and duty of TheElection Commission that control this election as honest and fair manner. Moreover, there are identity appearance in political cartoon of key politician. These identity are not enduring but will be changed according to political events.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การสื่อสารมวลชน
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/863
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2001.484
ISBN: 9740308791
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2001.484
Type: Thesis
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Supatanasiri.pdf22.03 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.