Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/8656
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | มานพ คณะโต | - |
dc.contributor.author | สุชาดา ภัยหลีกลี้ | - |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยขอนแก่น. คณะแพทยศาสตร์ | - |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยขอนแก่น. คณะแพทยศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2009-01-13T07:33:00Z | - |
dc.date.available | 2009-01-13T07:33:00Z | - |
dc.date.issued | 2547 | - |
dc.identifier.citation | วารสารประชากรศาสตร์. 20,2(ก.ย. 2547),31-45 | en |
dc.identifier.issn | 0857-2143 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/8656 | - |
dc.description.abstract | ในห้วงเวลาที่รัฐบาลดำเนินนโยบายสงครามยาเสพติด ประชาชนหวาดกลัวและปฏิเสธการตอบคำถามเกี่ยวกับพฤติกรรมการใช้สารเสพติด ดังนั้นการศึกษาพฤติกรรมการใช้สารเสพติดจึงควรดำเนินการในกลุ่มประชากรที่ได้รับผลจากนโยบายดังกล่าวน้อยที่สุด การศึกษานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการใช้สารเสพติดในกลุ่มผู้ต้องขังในเรือนจำและสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกจากกลุ่มตัวอย่าง 438 คน ในช่วงปี 2546 ผลการศึกษาพบว่า ผู้ต้องโทษหญิงมีสัดส่วนของคดียาเสพติดมากกว่าชาย และคิดเป็น 8 เท่าของคดีอื่นๆ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงแนวโน้มของผู้หญิงที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับยาเสพติดมากขึ้น ผู้ถูกจับในคดียาเสพติดในระยะหลังมีแนวโน้มของอายุลดลง แต่ส่วนใหญ่ก็ยังคงเป็นกลุ่มที่มีอายุตั้งแต่ 25 ปีขึ้นไป ชี้ให้เห็นว่ากลุ่มผู้ใหญ่ยังคงเป็นกลุ่มหลักที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติด เป็นที่น่าสังเกตว่ากลุ่มคนที่สมรสแล้วเกี่ยวข้องกับยาเสพติดมากกว่ากลุ่มคนโสด บุคคลที่ผู้ต้องโทษคดียาเสพติดอาศัยอยู่ด้วยในช่วง 30 วันก่อนถูกจับส่วนมากเป็นคู่สมรสและมากเป็น 4 เท่าของคดีอื่นๆ เมื่อพิจารณาถึงอาชีพ พบว่ากลุ่มผู้โทษคดียาเสพติดมักเป็นกลุ่มที่มีงานทำทั้งงานประจำและงานชั่วคราว ขณะที่กลุ่มผู้ว่างงานและนักเรียนนั้นมักจะเป็นผู้กระทำความผิดในคดีอื่นๆ ยาบ้า กัญชาและสารระเหยเป็นยาเสพติด 3 ตัวหลักที่มีการแพร่ระบาดสูงในภูมิภาคนี้ โดยยาบ้าได้รับความนิยมอย่างมาก พบว่าผู้ต้องโทษคดียาเสพติดร้อยละ 83.3 เคยใช้ยาบ้า เช่นเดียวกับผู้ต้องโทษครึ่งหนึ่งของคดีอื่นๆ นอกจากนี้นักโทษ 1 ใน 3 เคยเสพกัญชา (ใกล้เคียงกันในผู้ต้องโทษคดียาเสพติดและคดีอื่นๆ) ขณะที่ 1 ใน 5 เคยใช้สารระเหย เป็นที่น่าสังเกตว่าผู้ต้องโทษคดีอื่นๆใช้สารระเหยมากกว่าผู้ต้องโทษคดียาเสพติด 2.7 เท่า อายุที่เริ่มใช้ยาเสพติดพบว่าส่วนใหญ่เริ่มใช้เมื่ออายุ 15 ปีในสารทุกตัว และเมื่อเปรียบเทียบกับปีที่ออกจากโรงเรียนพบว่าส่วนใหญ่เริ่มใช้ในปีที่จบชั้นมัธยมปีที่ 3 และต่อเนื่องไปอีก 1- 2 ปี เช่นเดียวกันกับอายุที่เริ่มจำหน่ายยาเสพติดพบว่าส่วนใหญ่อยู่ในช่วงอายุ 16 ปี ข้อค้นพบจากการศึกษานี้ แสดงให้เห็นว่ากลุ่มเยาวชนทั้งในและนอกสถานศึกษาเป็นกลุ่มเสี่ยงที่ต้องเฝ้าระวัง การให้ความรู้ที่ถูกต้องแก่เยาวชนเป็นสิ่งที่ต้องกระทำอย่างเร่งด่วน ขณะเดียวกันกิจกรรมฝึกอาชีพให้กับผู้ต้องขังคดียาเสพติดควรต้องได้รับการทบทวนให้เหมาะสมกับการนำไปใช้ประโยชน์ในอนาคตของกลุ่มเป้าหมายด้วย | en |
dc.format.extent | 461 bytes | - |
dc.format.mimetype | text/html | - |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | นักโทษ | en |
dc.subject | ยาเสพติด | en |
dc.title | พฤติกรรมการใช้สารเสพติดในกลุ่มผู้ต้องโทษ | en |
dc.type | Article | es |
dc.email.author | [email protected] | - |
dc.email.author | [email protected] | - |
Appears in Collections: | Pop - Journal Articles |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
default.html | 260 B | HTML | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.