Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/8873
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorปัญญา จารุศิริ-
dc.contributor.authorจักรพันธ์ สุทธิรัตน์-
dc.contributor.authorวนิดา ระงับพิชญ์-
dc.contributor.authorสน พงษ์อารยะ-
dc.contributor.authorกฤษณ์ วันอินทร์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์-
dc.contributor.otherไม่มีข้อมูล-
dc.contributor.otherไม่มีข้อมูล-
dc.contributor.otherไม่มีข้อมูล-
dc.date.accessioned2009-03-27T07:32:54Z-
dc.date.available2009-03-27T07:32:54Z-
dc.date.issued2542-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/8873-
dc.descriptionการวิจัยเสนอต่อ กองสำรวจทรัพยากรธรรมชาติด้วยดาวเทียม สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ มีแผ่นพับแผนที่ธรณีวิทยาโดยข้อมูลภาพจากดาวเทียม LANDSAT TM5 ของเขตพื้นที่ภูเขาไฟลำนารายณ์en
dc.description.abstractภูเขาไฟบริเวณลำนารายณ์ จังหวัดลพบุรี มีการกระจายตัวไปในทิศเหนือใต้โดยเฉลี่ย และแผ่ปกคลุมพื้นที่มากกว่า 1200 ตร.กม. ลักษณะโดยทั่วไปทางภูมิศาสตร์ปรากฏให้เห็นเป็นเนินภูเขาไฟรูปโดมชัดเจน โดยเฉพาะตอนกลางของทางตะวันออกของพื้นที่ และมีลักษณะเป็นเขาเกือบยอดราบทางตอนเหนือและทางตะวันตก หินภูเขาไฟบริเวณลำนารายณ์นี้แทรกดันเข้าไปในหินปูนยุคเพอร์เมียนเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งอยู่ในบริเวณที่ติดกับขอบที่ราบสูงโคราช ในการศึกษาครั้งนี้ข้อมูลภาพจากดาวเทียมแลนด์แซท ภาพถ่ายทางอากาศและข้อมูลธรณีฟิสิกส์ทางอากาศ โดยเฉพาะข้อมูลความเข้มสนามแม่เหล็กและข้อมูลความเข้มกัมมันตรังสี เพื่อกำหนดลักษณะแนวภูเขาไฟและโครงสร้างธรณีวิทยาที่สำคัญๆ ในการแปรความหมายภูเขาไฟ ซึ่งจากข้อมูลในสนามผนวกกับข้อมูลโทรสัมผัสต่างๆ โดยเฉพาะที่ได้จากภาพจากดาวเทียมและภาพถ่ายทางอากาศ สามารถจำแนกหน่วยหินออกเป็น 7 หน่วยหินหลักได้แก่ 1) หน่วย FA (-เถ้าตก) 2) หน่วย FL (-เถ้าไหล) 3) หน่วย M (-หินภูเขาไฟชนิดมวล) 4) หน่วย FAM (-มวลเถ้าตก) 5) หน่วย G (-หินไมโครแกรนิต) 6) หน่วย B (-บะซอลต์ยุคเก่า) 7) หน่วย BS (-บะซอลต์ยุคใหม่) โดยหน่วยหินตั้งแต่ 1 ถึง 4 ส่วนใหญ่เป็นหินภูเขาไฟสีจางและมีหินบะซอลต์แทรกสลับ ผลจากข้อมูลความเข้มกัมมันตรังสีทางอากาศ (U, Th และ K) สามารถจำแนกออกได้เป็น 8 หน่วยกัมมันตรังสี โดยอาศัยการแปรความหมายจากแผนที่สีผสมและพบว่า พื้นที่ศึกษามีค่าความเข้มกัมมันตรังสีค่อนข้างต่ำ ประกอบด้วยหินไรโอไลต์ หินแอนดิไซด์ และหินบะซอลต์ โดยที่หินไรโอไลต์และแอนดิไซด์ไม่สามารถแยกออกจากกันได้ ส่วนบริเวณที่เป็นหินบะซอลต์ สามารถแยกจากหินชนิดอื่นโดยมีค่ากัมมันตรังสี U Th และ K ต่ำกว่าบริเวณที่หินมีสีจางกว่า หินเถ้าตกภูเขาไฟแยกจากมวลหินไรโอไลต์เนื่องจากมีค่า K อยู่ ทำให้มีองค์ประกอบค่อนไปทางหินอัคนีสีเข้มส่วนบริเวณที่มีการทับถมของตะกอนทั้งทางตะวันตกและตะวันออก มักเป็นหินบะซอลต์และมีหินแอนดิไซด์บ้าง ผลจากข้อมูลความเข้มสนามแม่เหล็ก ซึ่งโดยเฉลี่ยมีความเข้มค่อนข้างสูงสามารถจำแนกและจัดแบ่งช่วงความเข้มออกเป็นหน่วยต่างๆ ได้ 12 หน่วย โดยที่หน่วยแม่เหล็ก M1 และ M7 เป็นอัคนีบาดาลจำพวกแกรนิต ซึ่งเป็นกระเปาะของหินหนืดซึ่งเป็นต้นกำเนิดของหินภูเขาไฟลำนารายณ์ ซึ่งต่อมาเกิดการเคลื่อนที่ของแนวรอยแตกใหญ่ในแนวตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ เกิดหน่วย M2, M4, M5 และ M6 และเกิดการแทรกตัวของหน่วย M3 เข้ามาตามรอยแตกในแนวตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ ส่วน M5 เป็นบริเวณที่มีค่าความเข้มสนามแม่เหล็กสูงสุด ส่วน M10 ถึง 12 ไหลเข้ามาทับ M8 และ 9 อีกที ผลจากข้อมูลจากภาคสนามและแผ่นหินบางและแผ่นหินขัด สอดคล้องได้ดีกับผลที่แปรได้จากข้อมูลธรณีฟิสิกส์ทางอากาศและข้อมูลภาพจากดาวเทียม และทำให้เชื่อว่า อายุของหินภูเขาไฟลำนารายณ์ไม่แก่กว่ายุคเทอร์เชียรีตามที่ได้เคยคิดไว้จากการศึกษาเบื้องต้นนี้ ส่วนด้านอายุหินผลจากการคำนวณหาอายุหินโดยวิธี [superscript 40]Ar/ [superscript 39]Ar ทำให้ทราบว่าหินภูเขาไฟลำนารายณ์มีอายุอยู่ในช่วงประมาณกลางถึงปลายยุคเทอร์เชียรี (24 ถึง 7 ล้านปี) ผลจากข้อมูลโทรสัมผัสทำให้เชื่อว่า การเลื่อนตัวของรอยเลื่อนใหญ่แม่ปิงในแนวตะวันตกเฉียงเหนือ มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดและบางส่วนตัดเข้ามาในบริเวณหินภูเขาไฟลำนารายณ์ในแบบขวาเข้า อาจยังผลให้เกิดรอยเลื่อนปกติในแนวเหนือ-ใต้ และรอยเลื่อนตามแนวระดับในทิศตะวันออกเฉียงเหนือเกิดการขยับตัว จนในที่สุดเกิดการประทุของหินภูเขาไฟลำนารายณ์ การปะทุคงเกิดในขณะที่มีการเกิดของแอ่งตะกอนเพชรบูรณ์ซึ่งวางตัวในแนวเหนือใต้ การปรากฏเป็นหินบะซอลต์ให้พลอยทางแถบวิเชียรบุรีทางตอนเหนือของพื้นที่ศึกษาลำนารายณ์ จากการหลอมละลายบางส่วนในชั้นเนื้อโลกตอนบนในตอนช่วงท้ายสุดของการประทุของแนวภูเขาไฟลำนารายณ์en
dc.description.abstractalternativeLam Narai Volcanic field in Lopburi is elongated in the N-S trend and covers an areal extent of more than 12,000 sq km. Physiographic feaures of the volacanics are characterized by their cone shapes, particularly in the central and eastern parts and flat table-topped mountains in the north and west. The volcanics were observed to extrude the Permian limestone host rocks situated immediately at the edge of the Khorah Plateau. In this current research, we applied data on Landsat satellite images and aerial photographs together with the air-borne geophysical data as essential remote-sensing information to the interpretation of volcanic features and their structures. We observe that both field and remote-sensing investigations, especially those of satellite and air-photo images can subdivide Lam Narai Volcanic rocks into 7 main units, namely 1) Unit FA (-ash fall), 2) Unit FL (-ash flow), 3) Unit M (-massive volcanics), 4) Unit FAM (-massive, ash fall, 5) Unit G (-microgranite), 6) Unit B (old basalt), and 7) Unit BS (-young basalt). Rock units 1 to 4 have mainly felsic composition with intercalated mafic layers. Results from airborne radiometric data (U, Th, and K) classify Lam Narai Vocanics into 8 radiometric units on the bases of interpretation on the ternary map. It is figured out that the study area contains relatively low radioactive values and consists of rhyolitic, andesitic, and basaltic rocks. Both andesites and rhyolites cannot be discriminated from one anther, and basalts can easily be distinguished from the other rocks by rather low values of U, Th, and K in comparison with more felsic affinities. Ash-fall deposits can be separated from massive rhyolite by their lower contents of K, giving the rocks more mafic. In areas occupied by sediments to the east and west of the survey area, basalts are essentially encountered and associated with the minority of andesites. Results on air-borne magnetic data indicate relatively highly magnetic signals and can be grouped based on magnetic values into 12 units. Magnetic units M1 and M7 are interpreted to represent large plutons which serve as the magmatic reservoir-a most probable source of Lam Narai Volcanics. The units M2, M4, M5, and M6 extruded along the NW-trending major fault movement, and the units M3 followed the NE-trending fault zone. The unit M5 shows the highest magnetic contents whereas units M10-12 flow onto the underlying and older units-M8 and 9. Informations available from thin-section and rock-slab studies correspond quite well with those of the air-borne geophysical and satellite-image investigations. Their results also indicate that the age of Lam Narai Volcanics is not older than Tertiary as previously thought. Results on [superscript 40]Ar/ [superscript 39]Ar geochronological data strongly affirm that the Lam Narai rocks took place in Middle to Late Tertiary (24-7 Ma). Our results on remote-sensing interpretation advocate that dextral movement along the NW trending Mae Ping Fault may have a close relationship to and party cut across the Lam Narai Volcanics. The mutual resultant is the appearance of the normal faults in the N-S direction and the recurrence of major strike-slip Mae Ping faults in the NE-SW direction, giving rise to the development of N-trending Phetchaburi basin and the generation of Lam Narai volcanic activity in the basin. The advent of gem-bearing basalts in Vichian Buri, immediately north of the Lam Narai study area, may have been triggered by partial melting of upper-mantle materials in the late stage of Lam Narai volcanic activity.en
dc.description.sponsorshipทุนวิจัยสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติen
dc.format.extent10198908 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ; สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ; กองสำรวจทรัพยากรธรรมชาติด้วยดาวเทียมen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectหินภูเขาไฟ -- ลำนารายณ์ (ลพบุรี)en
dc.subjectภูเขา -- ลำนารายณ์ (ลพบุรี)en
dc.titleแนวภูเขาไฟและลักษณะโครงสร้างทางธรณีวิทยาของหินภูเขาไฟ บริเวณลำนารายณ์ จ.ลพบุรี โดยใช้ข้อมูลภาพจากดาวเทียมและธรณีฟิสิกส์ทางอากาศen
dc.typeTechnical Reportes
dc.email.author[email protected]-
dc.email.author[email protected]-
dc.email.authorไม่มีข้อมูล-
dc.email.authorไม่มีข้อมูล-
dc.email.authorไม่มีข้อมูล-
Appears in Collections:Sci - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Punya_vol.pdf9.96 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.