Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/8892
Title: การเปรียบเทียบพฤติกรรมจริยธรรมทางการเมือง ระหว่างนักการเมืองไทยและคนไทยผู้มีสิทธิ์ออกเสียงเลือกตั้งในปัจจุบัน : รายงานผลการวิจัย
Other Titles: A comparision of political moral behaviors between contemporary Thai politicians and voters
Authors: พรรณทิพย์ ศิริวรรณบุศย์
Email: [email protected]
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะจิตวิทยา
Subjects: จริยธรรมการเมือง
นักการเมือง
การเลือกตั้ง -- แง่ศีลธรรมจรรยา
พฤติกรรมทางการเมือง
Issue Date: 2537
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ คือ (1) เพื่อสำรวจพฤติกรรมทางการเมืองของนักการเมืองไทยและคนไทยผู้มีสิทธิ์ออกเสียงเลือกตั้งในปัจจุบัน และ (2) เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมจริยธรรมทางการเมืองระหว่างนักการเมืองไทยและคนไทยผู้มีสิทธิ์ออกเสียงเลือกตั้งตามตัวแปรสถานภาพของกลุ่มตัวอย่าง ภูมิลำเนา อายุ ระดับการศึกษา และประสบการณ์ทางการเมือง (เฉพาะกลุ่มนักการเมือง) การเก็บรวบรวมข้อมูล กลุ่มตัวอย่าง นักการเมือง 100 คน และคนไทย 600 คน จาก 5 ภูมิลำเนา คือ : กรุงเทพฯ ภาคเหนือ ภาคใต้ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลาง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ (1) แบบสำรวจภูมิหลัง (2) แบบวัดพฤติกรรมจริยธรรมทางการเมือง (3) แบบประเมินระดับความถูกต้องของพฤติกรรม พฤติกรรมจริยธรรมประกอบด้วย 5 พฤติกรรม คือ ความซื้อสัตย์ ความรับผิดชอบ ความมีระเบียบวินัย การเสียสละเพื่อส่วนรวม และความยุติธรรม ส่วนพฤติกรรมทางการเมืองแบ่งออกเป็น 4 ด้าน คือ การเลือกตั้ง การประชุมสภาฯ การรับผิดชอบในหน้าที่ทางการเมือง และการใช้อำนาจทางการเมือง ผลการวิจัย มีดังนี้ คือ 1. พฤติกรรมจริยธรรมทางการเมืองของนักการเมืองไทยและคนไทยมีสภาพแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเกือบทุกพฤติกรรม 2. นักการเมืองที่มีประสงการณ์ทางการเมืองแตกต่างกัน มีพฤติกรรมจริยธรรมทางการเมืองไม่แตกต่างกัน 18 พฤติกรรม จาก 20 พฤติกรรม 3. ผลการวิจัย พบว่า ตัวแปรอายุ สถานภาพ ระดับการศึกษา และภูมิลำเนา มีผลทำให้เกิดความแตกต่างในพฤติกรรมจริยธรรมทางการเมืองในกลุ่มตัวอย่างทั้งสองกลุ่ม
Other Abstract: The purposes of this research were : (1) to survey existing political moral behaviors of Thai politicians and voters; (2) to compare political moral behaviors between Thai politicians ad their voters according to occupation, residential area, age, education level and experiences in politics (only in group of politicians). Data were collected from 100 politicians and 600 voters of five different residential areas : Bangkok Metropolis; Northern; Southern; Northeastern and the Central regions. The research instruments were a questionnaire of biographical data and the political moral behavior scale and the behavioral evaluation scale which were constructed by the researcher. The political moral behavior scale was composed of 5 moral behavior criteria in 4 political behavior dimensions. Then, there are 20 political moral behaviors, and each behavior was constructed in both positive and negative items. The 5 moral behavior criteria were honesty; responsibility; discipline; devotion to society and fairness. The 4 political behavior dimensions were voting; political responsibility; parliamentary meeting; and use of power in politics. The major findings were as follow: 1. There were significant differences in political moral behaviors between Thai politician and Thai voters in most behaviors. 2. There was no significant differences among politicians with different experience in politics except two behaviors. 3. There were significant differences in some political moral behaviors according to age, education level, occupation, and residential area in both groups.
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/8892
Type: Technical Report
Appears in Collections:Psy - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Puntip_com.pdf10.03 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.