Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/8975
Title: | ผลของภาพยนตร์โฆษณาทางโทรทัศน์ความยาว 30 และ 15 นาที ที่มีต่อการระลึกโฆษณา |
Other Titles: | The effects of 30 and 15 second television commercial on advertising recall |
Authors: | อังคณา กีรติรัตนลักษณ์ |
Advisors: | พนา ทองมีอาคม |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Advisor's Email: | [email protected] |
Subjects: | การระลึก (จิตวิทยา) ภาพยนตร์โฆษณาทางโทรทัศน์ |
Issue Date: | 2540 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยเชิงทดลอง เพื่อศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิผลของภาพยนตร์โฆษณาความยาว 30 และ 15 วินาที ในแง่การระลึกความจำที่มีต่อตราสินค้า และเนื้อหาโฆษณา ศึกษาเปรียบเทียบระดับประสิทธิผลเมื่อมีการเพิ่มการตอกย้ำความจำ โดยมีสมมติฐาน 3 ข้อดังนี้ 1. ภาพยนตร์โฆษณาความยาว 30 วินาที จะให้ประสิทธิผลทั้งการระลึกความจำที่มีต่อโฆษณา และการระลึกความจำที่มีต่อตราสินค้าได้ดีกว่าภาพยนตร์โฆษณาความยาว 15 วินาที 2. ภาพยนตร์โฆษณาความยาว 15 วินาทีครั้งเดียว จะมีประสิทธิผลต่อการระลึกความจำที่มีต่อโฆษณา และตราสินค้าได้มากกว่า 50% ของการใช้ภาพยนตร์โฆษณาความยาว 15 วินาที 2 ครั้ง 3. ภาพยนตร์โฆษณาความยาว 15 วินาที 2 ครั้ง จะช่วยให้กลุ่มตัวอย่างมีการระลึกความจำที่มีต่อโฆษณาและตราสินค้า ได้มากกว่าการใช้ภาพยนตร์โฆษณาความยาว 30 วินาทีครั้งเดียว ภาพยนตร์โฆษณาทดลองมี 2 ความยาว คือ 15 วินาที และ 30 วินาที ซึ่งตัดต่อให้คงเนื้อหาเดิมจากภาพยนตร์โฆษณาเรื่องเดียวกัน ภาพยนตร์โฆษณาทดลองนี้ถูกนำมาแทรกไว้ในช่วงโฆษณาของรายการโทรทัศน์เหมือนการออกอากาศจริง ทั้งนี้กลุ่มตัวอย่าง 45 คน ที่สมัครเข้าร่วมงานวิจัย ได้ถูกสุ่มจัดแบ่งออกเป็นกลุ่มทดลอง 3 กลุ่ม จำนวนกลุ่มละ 15 คน เพื่อเปิดรับตัวโฆษณาทดลอง กลุ่มละรูปแบบ การวัดผลกระทำโดยวัดการระลึกได้ทั้งแบบเสรีและแบบมีตัวแนะ วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วยการทดสอบค่า ANOVA และ t-test รวมทั้งการทดสอบค่า Chi-square เพื่อเปรียบเทียบยืนยันผล ผลการวิจัยสามารถสรุปได้ดังนี้ 1. ประสิทธิผลการระลึกตราสินค้า และโฆษณาระหว่างการใช้ภาพยนตร์โฆษณาความยาว 30 และ 15 วินาที ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 2. ภาพยนตร์โฆษณา 15 วินาทีครั้งเดียว มีประสิทธิผลในการระลึกโฆษณาและตราสินค้าน้อยกว่าการใช้ความถี่ 2 ครั้ง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ทั้งนี้ผลการระลึกโดยรวมของการใช้โฆษณา 15 วินาทีด้วยการเข้าถึงเพียงครั้งเดียวสามารถสร้างการระลึกได้ประมาณ 30% ของการใช้โฆษณาชิ้นเดิมด้วยความถี่ 2 ครั้ง เท่านั้น 3. ภาพยนตร์โฆษณาความยาว 15 วินาทีด้วยความถี่ 2 ครั้ง มีประสิทธิผลการระลึกตราสินค้า และโฆษณาโดยรวม มากกว่าการใช้โฆษณาความยาว 30 วินาที อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ |
Other Abstract: | The study intends to compare the advertising effectiveness, both in terms of advertising and brand recalls, between 30 and 15 second television commercial (TVC). There are 3 hypothesises; 1. A 30 second TVC will yield a higher recall scores, for both advertising and brand recalls, than a 15 second TVC. 2. A single exposure of a 15 second TVC will give a higher than 50% of the recall scores derived from the same TVC with twice exposures. 3. A 15 second TVC with twice exposures will give higher scores of advertising and brand recalls than a 30 second TVC. There are two treatment materials, one 15 second, and one 30 second TVC, and both of which are edited from the same original commercial. Treatments were inserted in a mock up program that are similar to real TV Program. There are 45 subjects who are randomly selected from the voluntary lists of students. Subjects are randomly assigned into 3 experimental groups, each with 15 subjects. Measurement was done by using free and cued recalls. Statistics analysis consists of ANOVA, t-test, and Chi-square. The findings are as follow; 1. The effectiveness of advertising and brand recalls between 30 and 15 second TVC are not statistically different at the 0.05 significant level. 2. A 15 second TVC is less effective than twice 15 second TVC as measured in terms of advertising and brand recalls. The level of statistical difference is at the 0.05 significant level. Recall of a single exposure 15 second TVC is estimated as 30% of twice exposures. 3. A twice exposures of 15 second TVC are more effective than a single 30 second TVC as measured in terms of advertising and brand recalls. The differences between the two are significant at the 0.05 significant at the 0.05 level. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2540 |
Degree Name: | นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | การโฆษณา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/8975 |
ISBN: | 9746383116 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Angkana_Kr_front.pdf | 772.68 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Angkana_Kr_ch1.pdf | 788.32 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Angkana_Kr_ch2.pdf | 799.16 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Angkana_Kr_ch3.pdf | 740.9 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Angkana_Kr_ch4.pdf | 1.14 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Angkana_Kr_ch5.pdf | 800.73 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Angkana_Kr_back.pdf | 1.01 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.