Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9258
Title: ขีดจำกัดที่ยอมรับได้ของการเคลื่อนย้ายวัสดุในภาระงานผสม สำหรับคนงานหญิง
Other Titles: Maximum acceptable weight of material handling combination tasks for female workers
Authors: อรอุมา ลาสุนนท์
Advisors: กิตติ อินทรานนท์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: [email protected]
Subjects: การเคลื่อนย้ายวัสดุ
ชีวกลศาสตร์
จิตฟิสิกส์
Issue Date: 2542
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การเคลื่อนย้ายวัสดุด้วยมือเป็นปัญหาสำคัญที่ทำให้เกิดการบาดเจ็บบริเวณหลังส่วนล่าง ซึ่งปกติการศึกษาเพื่อป้องกันการบาดเจ็บบริเวณดังกล่าว มักจะศึกษาขีดจำกัดที่ยอมรับได้ในงานเดี่ยว (Single Tasks) ในขณะที่การเคลื่อนย้ายวัสดุในโรงงานอุตสาหกรรมส่วนใหญ่จะมีลักษณะเป็นงานผสม (Combination Tasks) ในงานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) หาขีดจำกัดที่ยอมรับได้ของการเคลื่อนย้ายวัสดุเป็นครั้งคราวในงานผสมและงานเดี่ยว สำหรับคนงานหญิง 2) เปรียบเทียบเกณฑ์น้ำหนักสูงสุดที่ยอมรับได้ของงานผสมและงานเดี่ยวที่ประกอบเป็นงานผสมนั้น ระดับปัจจัยที่ทำการศึกษา คือ ลักษณะงาน (งานเดี่ยว, งานผสม) และ ชนิดของกล่อง (มีมือจับ, ไม่มีมือจับ) โดยงานผสมจะประกอบด้วยงานย่อย 5 กิจกรรม ได้แก่ การยกขึ้น, การยกลง, การผลัก, การดัง และการเดินถือ ทำการทดลองกับผู้ถูกทดสอบเพศหญิงจำนวน 10 คน โดยใช้แนวทางจิตฟิสิกส์ในการหาน้ำหนักสูงสุดที่ยอมรับได้ และใช้แนวทางชีวกลศาสตร์ในการพิจารณาค่าแรงกดอัดที่เกิดกับกระดูกสันหลังบริเวณ L5/S1 อันเนื่องมาจากการเคลื่อนย้ายวัสดุด้วยน้ำหนักที่ได้จากแนวทางจิตฟิสิกส์ ผลการทดลองในแนวทางจิตฟิสิกส์พบว่า ทั้งปัจจัยลักษณะงานและชนิดของกล่อง ล้วนมีผลต่อ ค่าน้ำหนักสูงสุดที่ยอมรับได้ (p<0.05) โดยขีดจำกัดที่ยอมรับได้ในการเคลื่อนย้ายวัสดุด้วยกล่องที่มีมือจับและไม่มีมือจับ สำหรับงานผสม 1 เป็น 22.2-34.8 และ 20.2-34.2 กิโลกกรัม ตามลำดับ และสำหรับงานผสม 2 เป็น 20.5-29.7 และ 20.3-28.6 กิโลกรัม ตามลำดับจากผลการเปรียเทียบน้ำหนักสูงสุดที่ยอมรับได้ของงานผสมและงานเดี่ยวที่เป็นงานประกอบของงานผสมนั้น ๆ ได้ข้อสรุปว่า น้ำหนักสูงสุดที่ยอมรับได้ของงานผสมจะต่ำกว่างานเดี่ยวทุกงาน
Other Abstract: Low back injuries associated with manual materials handling are becoming an important problem. The studies on the prevention of low back pain mostly focus on maximum acceptable weights (MAWs) in single tasks while most of manual materials handling in industry involve combination tasks. The aims of this study were 1) to estimate MAWs of occasional single and combination tasks for female workers and 2) to compare MAWs of single and combintion manual materials handling tasks. In this experiment, the factors studied were the task type (single tasks and combination tasks) and the box type (with handle and without handle). Combination tasks consisted of five single tasks such as lifting, lowering, pushing, pulling and carying. Ten female subjects were studied by the psychophysical approach to determine MAWs and by the biomechanical approach to estimate compressive force on L5/S1 disc. The findlings by the psychophysical approach showed that both the task type and the box type resulted significantly different MAWs (p<0.05). It was found that MAWs of materials handing with handle and without handle for combination 1 task were 22.2-34.8 kg. and 20.0-34.2 kg., respectively and for combination 2 task were 20.5-29.7 Kg. and 20.3-28.6 Kg., respectively. It was concluded that all of the MAWs of combination tasks were less than the MAWs of single tasks through the comparison of MAW of each combination task with the MAWs of the single tasks.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมอุตสาหการ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9258
ISBN: 9743326413
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
On-uma_La_front.pdf769.58 kBAdobe PDFView/Open
On-uma_La_ch1.pdf720.75 kBAdobe PDFView/Open
On-uma_La_ch2.pdf901.72 kBAdobe PDFView/Open
On-uma_La_ch3.pdf717.02 kBAdobe PDFView/Open
On-uma_La_ch4.pdf1.1 MBAdobe PDFView/Open
On-uma_La_ch5.pdf711.49 kBAdobe PDFView/Open
On-uma_La_back.pdf1.68 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.