Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9297
Title: แบบจำลองคณิตศาสตร์ของระบบกำจัดฝุ่นในที่เปิดโล่งโดยการฉีดหยดละอองน้ำ
Other Titles: Mathematical model of open-air dust removing system using water spraying
Authors: สุชาดา ณรินทร์ศักดิ์ชัย
Advisors: ธวัชชัย ชรินพาณิชกุล
วิวัฒน์ ตัณฑะพาณิชกุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: [email protected], [email protected]
ไม่มีข้อมูล
Subjects: แบบจำลองทางคณิตศาสตร์
ฝุ่น
การควบคุมฝุ่น
โรงโม่หิน
Issue Date: 2542
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ระบบควบคุมฝุ่นโดยการฉีดหยดละอองน้ำในที่เปิดโล่งเป็นระบบควบคุมฝุ่นแบบหนึ่งที่เหมาะสมสำหรับการกำจัดฝุ่นที่เกิดจากเหมืองหินและโรงโม่หิน ในอดีตมีผู้ทำการศึกษาเกี่ยวกับการจำลองการทำงานของหัวฉีดซึ่งใช้ในการจับฝุ่นและการคำนวณหาประสิทธิภาพการจับฝุ่นด้วยการฉีดหยดละอองน้ำน้อยมากเมื่อเทียบกับระบบควบคุมฝุ่นแบบอื่น ๆ เนื่องจากระบบควบคุมฝุ่นดังกล่าวมักถูกออกแบบให้สามารถใช้งานได้ในที่เปิดโล่ง มีผลทำให้การออบแบบการคำนวณมีความยุ่งยากมากขึ้น อีกทั้งการใช้ค่าเฉลี่ยของขนาดหยดละอองน้ำและอนุภาคฝุ่นก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้การประมาณประสิทธิภาพในการจับฝุ่นเกิดความคลาดเคลื่อนได้ ดังนั้นงานวิทยานิพนธ์นี้จึงมุ่งเน้นที่จะพัฒนาแบบจำลองคณิตศาสตร์สำหรับใช้คำนวณหาประสิทธิ์ภาพการจับฝุ่นด้วยการฉีดหยดละอองน้ำ และเพื่อศึกษาผลกระทบจากปัจจัยต่าง ๆ ที่มีต่อประสิทธิภาพการจับฝุ่นของระบบควบคุมฝุ่นด้วยการฉีดหยดละอองน้ำ เช่น การกระจายขนาดของหยดละอองน้ำและอนุภาคฝุ่น ทิศทางและความเร็วลมจากสิ่งแวดล้อม ผลการศึกษาพบว่าแบบจำลองดังกล่าวนี้มีความเหมาะสมสำหรับการประเมินหาประสิทธิภาพการจับฝุ่น โดยการฉีดหยดละอองน้ำในที่เปิดโล่งในช่วงที่กลไกการจับฝุ่นด้วยละอองน้ำเกิดจากกลไกการกระทบด้วยแรงเฉื่อยเป็นสำคัญ นอกจากนี้ยังสามารถจำลองการวางเรียงหัวฉีดในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อเลือกรูปแบบที่เหมาะสมกับทิศทางลมจากสิ่งแวดล้อม อนึ่งจากการศึกษาผลกระทบเนื่องจากขนาดต่าง ๆ ของหยดละอองน้ำและอนุภาคฝุ่น พบว่าหากหยดละอองน้ำและอนุภาคฝุ่นที่พิจารณามีขนาดอยู่ในช่วง 80-1000 ไมโครเมตร และ 1-10 ไมโครเมตรตามลำดับ (ความเร็วลมจากสิ่งแวดล้อมอยู่ในช่วง 0-2 เมตร/วินาที) ประสิทธิภาพการจับฝุ่นด้วยการฉีดหยดละอองน้ำจะมีค่าเพิ่มขึ้นเมื่ออนุภาคฝุ่นมีขนาดใหญ่ขึ้นหรือเมื่อหยดละอองน้ำมีขนาดเล็กลง นอกจากนี้พบว่าประสิทธิภาพการจับฝุ่นมีค่าสูงสุดเมื่อหยดละอองน้ำมีขนาดประมาณ 100 ไมโครเมตร สำหรับกระแสลมแวดล้อมมีผลทำให้ค่าความเร็วสัมพัทธ์ระหว่างหยดละอองน้ำและอนุภาคฝุ่น (Ur) มีค่าเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ประสิทธิภาพการจับฝุ่นมีค่าเพิ่มขึ้นด้วย อย่างไรก็ตามถ้าความเร็วลมแวดล้อมสูงเกินไป ทั้งหยดละอองน้ำและอนุภาคฝุ่นจะเคลื่อนที่ไปกับกระแสลม ส่งผลให้ประสิทธิภาพการจับอนุภาคฝุ่นมีค่าลดลง สรุปแล้วตัวแปรที่มีความสำคัญต่อประสิทธิภาพการจับฝุ่น ได้แก่ การกระจายขนาดของอนุภาคฝุ่น การกระจายขนาดหยดละอองน้ำ และความสูงของลำเปรย์ตามลำดับ ส่วนความเข้มข้นของฝุ่นและความเร็วลมแวดล้อมมีผลต่อประสิทธิภาพการจับฝุ่นไม่มากนัก
Other Abstract: Water spraying is one practical method for dust removing in stone mining and crushing plants. So far there have been few investigations on the water spray system and the estimation of dust removing efficiency using water spray. Since this system is usually designed for operation in open air, the design calculation is quite complicated. Furthermore, the use of average sizes of water droplets and dust particles could lead to inaccurate estimate of dust removing efficiency. Therefore, the purpose of this work is to develop a mathematical model for calculating dust removing efficiency and investigating the effect of controlling factors, for instance, the size distribution of water droplets and dust particles and the ambient wind on the dust removing efficiency. The result shows that this mathematical model is suitable for estimating the efficiency of the open-air dust removing system using water spray when the dust removal is dominated by inertial impaction mechanism. Additionally, this model can simulate various patterns of nozzle arrangement in order to select a suitable pattern with respect to the ambient wind direction. It is found that when the water droplet size and dust particle size are varied from 80-100 micrometer and 1-10 micrometer, respectively (ambient wind velocity in a range of 0-2 m/s), the collection efficiency rises as the dust particle size increases of the water droplet size decreases. The efficiency reaches a maximum when the water droplet size is about 100 micrometer. Ambient wind increases the relative velocity between water droplet and dust particle and thus the dust removing efficiency. However, if the ambient wind velocity becomes too high, both water droplets and dust particles will be entrained with the wind. This results in a decrease of the dust removing efficiency. In conclusion, the important factors affecting dust removing efficiency are particle size distribution, followed by droplet size distribution and collecting height of spray. In contrast, particle concentration and ambient wind velocity have not much effect on efficiency.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมเคมี
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9297
ISBN: 9743333851
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Suchada_Na_front.pdf1.1 MBAdobe PDFView/Open
Suchada_Na_ch1.pdf779.64 kBAdobe PDFView/Open
Suchada_Na_ch2.pdf1.55 MBAdobe PDFView/Open
Suchada_Na_ch3.pdf990.25 kBAdobe PDFView/Open
Suchada_Na_ch4.pdf1.37 MBAdobe PDFView/Open
Suchada_Na_ch5.pdf1.44 MBAdobe PDFView/Open
Suchada_Na_ch6.pdf759.34 kBAdobe PDFView/Open
Suchada_Na_back.pdf2.36 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.