Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/931
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | วิลาสินี พิพิธกุล | - |
dc.contributor.author | มนทกานติ์ เชื่อมชิต | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2006-07-21T11:55:44Z | - |
dc.date.available | 2006-07-21T11:55:44Z | - |
dc.date.issued | 2545 | - |
dc.identifier.isbn | 9741710895 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/931 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545 | en |
dc.description.abstract | ศึกษาลักษณะของการรายงานข่าวที่ทำให้ผู้หญิงที่ตกเป็นข่าว กลายเป็นจำเลยของสังคมและตกเป็นเหยื่อของหนังสือพิมพ์ และดูว่าภายหลังจากการรายงานข่าวของหนังสือพิมพ์ไปแล้ว ผู้หญิงเหล่านั้นได้ให้ความหมายต่อการรายงานข่าวของหนังสือพิมพ์อย่างไร และหลังจากที่ตกเป็นข่าวแล้วผู้หญิงเหล่านั้นได้รับผลกระทบ จากการตกเป็นข่าวอย่างไรบ้าง งานวิจัยนี้เป็นการวิเคราะห์เนื้อหาจากกรณีศึกษาการนำเสนอข่าวผู้หญิง 4 กรณีศึกษา และการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้หญิงทั้ง 4 ที่ตกเป็นข่าว ผลการวิจัยพบว่า ลักษณะการรายงานข่าวที่ทำให้ผู้หญิงที่ตกเป็นข่าว กลายเป็นจำเลยของสังคมและตกเป็นเหยื่อของหนังสือพิมพ์นั้น เกิดจากการที่นักข่าวรายงานข่าวตามกรอบ "การเล่าเรื่อง" ที่ได้วางไว้ ซึ่งประกอบไปด้วย 1. รายละเอียดของเหตุการณ์ 2. รายละเอียดของภูมิหลังเหตุการณ์และภูมิหลังของผู้หญิงที่ตกเป็นข่าว 3. ผลต่อเนื่องของเหตุการณ์ 4. ปฏิกิริยาจากฝ่ายต่างๆ และ 5. การใช้ภาษาที่มีการให้คุณค่าและซ่อนนัยยะเอาไว้ ซึ่งกรอบการเล่าเรื่องทั้ง 5 ประการนี้ จะทำให้การรายงานข่าวเป็นมากกว่าการเสนอข้อเท็จจริง ด้วยการตอกย้ำอุดมการณ์และสร้างความคุ้นเคยให้กับสังคมด้วยมายาคติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของแนวคิดชายเป็นใหญ่ สำหรับการให้ความหมายของผู้หญิงที่ตกเป็นข่าว ต่อการรายงานข่าวของหนังสือพิมพ์นั้น มีความแตกต่างจากสิ่งที่หนังสือพิมพ์ได้รายงาน เพราะผู้หญิงที่ตกเป็นข่าว จะตีความเหตุการณ์จากสิ่งที่ตัวเองประสบมา เป็นการบอกเล่าถึงประสบการณ์เฉพาะตัว ในขณะที่หนังสือพิมพ์จะตีความจากแนวคิดหลักหรืออุดมการณ์หลักของสังคม ส่วนผลกระทบที่ผู้หญิงได้รับจากการตกเป็นข่าวนั้น คือชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไป ทำให้ดำเนินชีวิตในสังคมได้อย่างลำบากมากยิ่งขึ้น และต้องใช้เวลายาวนานในการก้าวผ่าน แต่อย่างไรก็ตาม พวกเธอก็พยายามที่จะจัดการกับชีวิตของตัวเอง และมีความเข้มแข็งในการปกป้องตัวเองด้วยความต้องการ ที่จะแปรสภาพจากการถูกทำให้เป็นเหยื่อ มาเป็น "ผู้ผ่านพ้น" จนในที่สุดพวกเธอก็สามารถทำได้สำเร็จ และสามารถดำรงชีวิตในสังคมได้อีกครั้งหนึ่ง | en |
dc.description.abstractalternative | To analyze the victimization of women in newspaper and their survivals by studying how victimized women were presented in newspapers which reflected social accusation towards women. This research also made the victimized women coming to voices by showing their self definitions of news and the impacts upon them. The content analysis and in-depth interview of 4 women victims of sexaul violence revealed the traditional style of news narrative, including, 1. event base 2. background base ( both on events and victims ) 3. consequences of events 4. social reactions on events, and 5. emphasis on social value and biased meaning in reporting. There narrative forms constructed news beyond facts and, in turn, reproduced myth and dominant ideology,especially patriarchal ideology. The definitions and criticisms of news given by the victimized women were different from those reported. Since the victims defined events from their experiences while the latter defined events from dominant ideology. The 4 victims had long term struggle in over coming their trauma and oppression which were the consequences of news. However, their strengths and efforts to empower and transformed themselves from victim to survivor led them conquered and survived in the society. | en |
dc.format.extent | 1575994 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | en |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2002.170 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | อาชญากรรมกับหนังสือพิมพ์ | en |
dc.subject | สตรี -- เหยื่ออาชญากรรม | en |
dc.subject | สตรีในหนังสือพิมพ์ | en |
dc.subject | ข่าวหนังสือพิมพ์ | en |
dc.title | สตรีกับการถูกทำให้เป็นเหยื่อในหนังสือพิมพ์และชีวิตหลังผ่านพ้น | en |
dc.title.alternative | The victimization of women in newspaper and their survivals | en |
dc.type | Thesis | en |
dc.degree.name | นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต | en |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en |
dc.degree.discipline | วารสารสนเทศ | en |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.email.advisor | [email protected] | - |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2002.170 | - |
Appears in Collections: | Comm - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Montakarn.pdf | 9.31 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.