Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9396
Title: | การศึกษาการกลายพันธุ์ของยีน SCN5A และการศึกษา Linkage analysis ในยีน SCN5A, KCND2 และ KCND3 ในครอบครัวใหลตาย |
Other Titles: | Detection of SCN5A gene mutation and linkage analysis study in SCN5A KCND2 and KCND3 gene in sudden unexplained death syndrome families |
Authors: | ปฐมวดี ญาณทัศนีย์จิต |
Advisors: | สมเกียรติ แสงวัฒนาโรจน์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์ |
Advisor's Email: | [email protected] |
Subjects: | การกลายพันธุ์ โรคไหลตาย |
Issue Date: | 2544 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | Sudden Unexplained Death Syndrome (SUDS) หรือโรคใหลตาย มีลักษณะคลื่นไฟฟ้าหัวใจเหมือนกับ Brugada syndrome คือพบ right bundle branch block และ ST segment elevation ใน lead V1 ถึง V3 Brugada syndrome เป็นโรคทางพันธุกรรม ถ่ายทอดแบบ autosomal dominant (โดยใช้ลักษณะคลื่นหัวใจดังกล่าว และการตายเฉียบพลันโดยไม่ทราบสาเหตุเป็น phenotype) ยีนที่เป็นสาเหตุของ Brugada syndrome คาดว่าน่าจะเป็นยีนที่สร้าง ion channel protein ต่างๆ ซึ่งประมาณ 15 % ของผู้ป่วย Brugada syndrome มีสาเหตุมาจากการกลายพันธุ์ของยีน SCN5A นอกจากนี้ยังมียีนที่คาดว่าน่าจะเป็นสาเหตุของ Brugada syndrome อีกอย่างน้อย 2 ยีน คือ ยีน KCND2 และ KCND3 วัตถุประสงค์ของการวิจัยครั้งนี้เพื่อศึกษาว่า โรคใหลตายเกิดจากการกลายพันธุ์ของยีน เหล่านี้ หรือไม่ โดยทำ linkage studies ใน 4 ครอบครัวใหลตายพบว่ามีหลักฐานว่ามีความสัมพันธ์กับSCN5A1ครอบครัวจึงได้ทำdirect sequencing exon 5, 12, 17, 18, 23 และ 28 ในครอบครัวใหลตายนั้น เพื่อหาการกลายพันธุ์ 8 ตำแหน่ง ที่เคยมีรายงานมาก่อนจาก Brugada syndrome แต่ตรวจไม่พบในครอบครัวใหลตายนี้ จึงสรุปได้ ว่าโรคใหลตายมีการกลายพันธุ์ที่ไม่เหมือนกับใน Brugada syndrome ในต่างประเทศ และอาจจะเกิดจากการกลายพันธุ์ของยีนอื่นก็ได้ ที่ไม่ใช่ยีนที่ศึกษาอีก 2 ยีนก็คือยีน KCND2 และ KCND3 โดยอาศัยสมมติฐานที่ว่าโรคใหลตายน่าจะมาจากการกลายพันธุ์ของยีนเพียง 1 ยีน โดยได้ทำ linkage analysis ในครอบครัวใหลตาย 4 ครอบครัวที่มีคลื่นไฟฟ้าหัวใจดังกล่าวพร้อมๆไปกับยีน SCN5A ผลปรากฏว่าไม่พบยีนที่เป็นสาเหตุของการเกิดใหลตาย ดังนั้นจึงต้องหายีนที่เป็นสาเหตุของการเกิดใหลตายในการศึกษาครั้งต่อไป |
Other Abstract: | Sudden Unexplained Death Syndrome ( SUDS) (or Lai-tai) shares the same ECG pattern as Brugada syndrome : right bundle branch block and ST segment elevation in V1 to V3. Brugada syndrome is a genetic disorder with the inheritance pattern of autosomal dominant (using the ECG pattern and unexplained sudden death as phenotype) and associate with cardiac sodium channels (SCN5A) mutations . To detect the SCN5A mutation in SUDS, we performed the direct sequencing in one family with some evidence of linkage to SCN5A. However, the direct sequencing in eight reported mutations (exon 5,12,17,18,23 and 28 )in this family failed to demonstrate the mutations. We concluded that the mutations in SUDS maybe the novel mutations different from previously reported mutations or maybe caused by other mutations such as KCND2 and KCND3 gene. We performed the linkage study in four families in three gene, SCN5A, KCND2 and KCND3 and could not find the linkage to these genes. we concluded that these genes were not associated with SUDS .Further studies are needed to elucidate the molecular mechanism of this syndrome. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วิทยาศาสตร์การแพทย์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9396 |
ISBN: | 9740307426 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Med - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Pattamawadee.pdf | 3.13 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.