Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9421
Title: | การนำเสนอรูปแบบการเรียนการสอนผ่านเว็บวิชาภาษาไทย ตามกระบวนการสอนของกาเย่ สำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น ที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทยต่ำ |
Other Titles: | A proposed web-based instruction model of Thai language subject according to Gagne's conditions of learning for the lower secondary school students with low learning achievement in Thai language subject |
Authors: | ประภาศรี ศักดิ์ศรีชัยสกุล |
Advisors: | วิชุดา รัตนเพียร |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
Advisor's Email: | [email protected] |
Subjects: | การเรียนการสอนผ่านเว็บ ภาษาไทย -- การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา) |
Issue Date: | 2544 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ศึกษารูปแบบการเรียนการสอนแบบผ่านเว็บของวิชาภาษาไทย นำเสนอรูปแบบการเรียนการสอนแบบผ่านเว็บของวิชาภาษาไทย ตามกระบวนการการเรียนการสอนของกาเย่ สำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น ที่มีผลสัมฟทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทยต่ำ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิ/ผู้เชี่ยวชาญด้านการสอนวิชาภาษาไทย และผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบและพัฒนาบทเรียนผ่านเว็บ จำนวน 25 ท่าน ซึ่งผู้วิจัยได้ศึกษาวิธีการสอนวิชาภาษาไทย สำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น ที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทยต่ำ และหลักการออกแบบการเรียนการสอนของ Gagne และนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์เป็นรูปแบบที่ได้ดังนี้ ผลการวิจัยพบว่า 1. ด้านการเร้าความสนใจ ควรจัดสภาพแวดล้อมให้น่าสนใจ โดยใช้ เกม การสนทนาถาม-ตอบ บนกระดานอิเล็กทรอนิกส์ 2. ด้านการบอกจุดประสงค์ ควรใช้รูปภาพ/ตัวกระพริบ คำอธิบายบอกจุดประสงค์. 3.ด้านการทบทวนความรู้เดิม ควรใช้ การสรุปเปรียบเทียบเพื่อเชื่อมโยงความรู้เดิมกับความรู้ใหม่ จัดให้มีกิจกรรมถาม-ตอบ บนกระดานอิเล็กทรอนิกส์ 4. ด้านการนำเสนอเนื้อหาใหม่ ควรนำเสนอในรูปเว็บเพจ และใช้ภาพประกอบ ให้ผู้เรียนแสวงหาความรู้ และคำตอบด้วยตนเอง เนื้อหาแบ่งเป็นตอนๆ มีหลายทางเลือก โดยเน้นให้ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์ และใช้การถาม-ตอบบนกระดานอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อให้ผู้เรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็น 5. ด้านการชี้แนวทางการเรียนรู้ ควรให้คำแนะนำหรือชี้แนะเพื่อกระตุ้นให้เกิดความอยากเรียนรู้ และสามารถวิเคราะห์คำตอบได้ด้วยตนเอง ซึ่งเป็นการเรียนรู้แบบค้นพบด้วยตนเอง 6. ด้านการกระตุ้นการตอบสนอง ครูยกย่องชมเชย เพื่อกระตุ้นให้นักเรียนมีความพยายามมากขึ้น จัดให้มีกิจกรรมการรับ-ส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ การสนทนาถาม-ตอบ บนกระดานอิเล็กทรอนิกส์ และการสนทนาออนไลน์เพื่อกระตุ้นให้นักเรียนร่วมมือ 7. ด้านการให้ข้อมูลป้อนกลับ ควรให้ทราบผลทันทีหลังจากมีการสนทนา ถาม-ตอบระหว่างการสอน และทราบผลถูกผิดทันทีที่ทำแบบฝึกหัด เพื่อนักเรียนจะประเมินตนเองได้ 8. ด้านการทดสอบความรู้ จัดให้มีกิจกรรมเลือกทำแบบทดสอบ เมื่อจบบทเรียน หรือระหว่างเรียน ตามความสามารถที่จะเรียนรู้และให้ทราบผลของแบบทดสอบทันที 9. ด้านการจำและการนำไปใช้ จัดให้มีกิจกรรมให้ผู้เรียนช่วยกันสรุปประเด็นสำคัญ หลังจากจบเนื้อหาแต่ละตอน และเสนอตัวอย่างโจทย์ปัญหาให้นักเรียนคิดวิเคราะห์ สามารถประเมินตนเองตามความรู้เดิมก่อนนำไปใช้ |
Other Abstract: | To 1) study Web-based instruction model of Thai language subject. 2) propose web-based instruction model of Thai language subject according to Gagne's conditions of learning. The sample included 25 experts in Thai language teaching and web-based instruction lesson designers. The findings were as follows: 1. Gaining attention: lesson should be attractive by using games and dicussion on the webboard. 2. Inform learners of objectives: illustration and flashing headline should be implemented, including the detail of each objective. 3. Stimulate recell of prior learning: comparative conclusion can be used to links between old and new knowledge. This can be done by using webboard. 4. Present stimulus: illustration on web page must be provided to convince students on web study by themselves. The lessons will be ordered and set as alternatives and creating dilemma to stimulate interactive brainstorming among them. 5. Provide learning guidance: instructors will advise and motivate students to study as self-study. The connotation is learning themselves. 6. Elicit performance: adminiration is the reward for students to build more effort. Supplementary activities are e-mail. chat and online discussion. 7. Provide feedback: the students will be able to evaluate themselves from interactive discussion and answering the question that immediately take place. 8. Assess performance: evaluation is taking the test depending on students' capability both during each chapter goes on and ends up. 9. Enhance retention and transfer: after wrapping up each chapter; brainstorming to summarize main issue and designing case study need to be provided to evaluated efficiency of learning before implementation |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | โสตทัศนศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9421 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2001.618 |
ISBN: | 9741703724 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2001.618 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Prapasri.pdf | 4.14 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.