Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9498
Title: | ผลของออกซิเจนและสารอาหารในอาหารเลี้ยงเชื้อต่อการสร้างเซลลูโลส ของแบคทีเรีย |
Other Titles: | Effects of oxygen and medium compositions on bacterial cellulose synthesis |
Authors: | อังคณา พันธ์ศรี |
Advisors: | สุเมธ ตันตะเธียร ปราโมทย์ ธรรมรัตน์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Advisor's Email: | [email protected] [email protected] |
Subjects: | ออกซิเจน สารอาหาร เซลลูโลส แบคทีเรีย -- การเพาะเลี้ยงและอาหารเพาะเชื้อ น้ำมะพร้าว |
Issue Date: | 2541 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาถึงผลของออกซิเจนที่ละลายต่อการสร้างเซลลูโลสของเชื้อ Acetobacter sp. TISTR975 ในน้ำมะพร้าว ในขั้นต้นศึกษาถึงภาวะที่เหมาะสมในสภาพนิ่ง ต่อการสร้างเซลลูโลสคือ น้ำตาลทราย 5.1% โดยปริมาตร และมีค่าความเป็นกรด 4.75 โดยความสูงของน้ำหมักที่เหมาะสมต่อการเลี้ยงในระยะ 8 วัน คือ 2.5 ซม. เมื่อศึกษาถึงผลของออกซิเจนที่ละลายในน้ำหมัก โดยการแปรความสูงของน้ำหมัก ปริมาตรของน้ำหมัก และพื้นที่ผิวหน้าผิวหน้าภาชนะบรรจุ พบว่าออกซิเจนที่ละลายในน้ำหมักเริ่มต้นไม่มีผลต่อปริมาณเซลลูโลสที่เชื้อสร้าง ทั้งนี้เนื่องจากตั้งแต่ชั่วโมงที่ 6 ของการหมักออกซิเจนที่ละลายลดลงจนเกือบถึงศูนย์ แต่ยังคงสร้างเซลลูโลสต่อไปอีก ซึ่งพบว่าปริมาณเซลลูโลสที่ได้เป็นสัดส่วนโดยตรงต่อพื้นที่ผิวหน้าภาชนะบรรจุและความหนาของแผ่นวุ้นจะเพิ่มขึ้นจากการสร้างแผ่นวุ้นใหม่บริเวณที่แผ่นวุ้นสัมผัสอากาศ สำหรับสภาพเขย่าพบว่าภาชนะที่เหมาะสมต่อการสร้างเซลลูโลส คือ น้ำตาลทราย 4.98% โดยปริมาตร ความเป็นกรด 4.9 และความเร็วรอบในการเขย่า 100 รอบ/นาที จากการเพิ่มปริมาณออกซิเจนที่ละลายโดยการเขย่าจาก 100 เป็น 150 รอบ/นาที พบว่าปริมาณออกซิเจนที่ละลายในน้ำหมักเพิ่มขึ้น แต่ปริมาณเซลลูโลสที่เชื้อสร้างกลับลดลง อาจเนื่องจากกลูโคสซึ่งเป็นสารตั้งต้นในการสร้างเซลลูโลสถูกเปลี่ยนเป็นกรดกลูโคนิกมากขึ้น ต่อมาศึกษาการเติมสารให้ความหนืด 3 ชนิด ได้แก่ CMC, Xanthan และ Carageenan ที่ความหนืด 1.82 mPa.s พบว่าสารให้ความหนืดที่ให้ปริมาณเซลลูโลสสูงสุดคือ CMC โดยลักษณะของเซลลูโลสที่ได้จะแตกต่างกัน จากการแปรความเข้มข้นของ CMC เป็น 0.1 0.2 และ 0.3% โดยปริมาตร พบว่า ในระหว่างการหมักปริมาณออกซิเจนในน้ำหมัก การเจริญของเชื้อและการสร้างเซลลูโลสลดลง โดยในระยะ 3 วันแรก อาหารหมักที่เติม CMC 0.2% ให้เซลลูโลสมากกว่าชุดควบคุม 1.42 เท่า |
Other Abstract: | The objective of this research was to study the effect of dissolved oxygen on cellulose production in Acetobacter sp. TISTR975 in coconut water. It was found, that the optimum cellulose production was obtained at 2.5 cm height after 8 days of incubation in coconut medium containing 5.1% sucrose with pH 4.75 in the static culture. Although the initial dissolved oxygen has been reported to affect height, volume and surface area of cellulose producing during cultivation, the result revealed that even dissolved oxygen decrease to nearly zero level at 6 hour post cultivation, the production of cellulose still remained. The result also showed that cellulose production was depending proportionally on the surface area. Cellulose was accumulated at the surface of the medium where the film contacted directly with air. With shaking condition, the optimum cellulose production was obtained after incubation in coconut medium containing 4.98% sucrose with pH 4.9 and 100 rpm rotary shaking. The increase in dissolved oxygen by increasing shaking over 100 rpm, led to the decrease of cellulose production due to the conversion of glucose to gluconic acid during metabolism. When thickening agent of carboxymethyl cellulose (CMC), xanthan gum and carageenan were added to the medium, the cellulose products obtained had different appearance. Only CMC was found to increase cellulose production. The effect of concentration of CMC from 0.1 to 0.3% on cellulose production was studied. It was found that CMC at 0.2% increased cellulose production by 1.42 times to that of control within 3 days. Higher CMC concentration decreased the cellulose production due to the lowering in dissolved oxygen which effected on cells growth. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2541 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | เทคโนโลยีชีวภาพ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9498 |
ISBN: | 9743321322 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Angkana_Ph_front.pdf | 1.13 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Angkana_Ph_ch1.pdf | 747.55 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Angkana_Ph_ch2.pdf | 1.59 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Angkana_Ph_ch3.pdf | 950.3 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Angkana_Ph_ch4.pdf | 1.8 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Angkana_Ph_ch5.pdf | 971.85 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Angkana_Ph_ch6.pdf | 743.41 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Angkana_Ph_back.pdf | 1.1 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.