Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9509
Title: กลยุทธการปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้พลังงานในอาคารสำนักงานราชการ : กรณีศึกษาอาคารกองวิทยาการ กรมช่างโยธาทหารอากาศ ดอนเมือง
Other Titles: Energy efficient startegies for government office building : a case study of Technical Division, the Directorate of Civil Engineering, Donmuang
Authors: ปริมลาภ วสุวัต
Advisors: ธนิต จินดาวณิค
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
Advisor's Email: [email protected]
Subjects: อาคาร -- การใช้พลังงาน
อาคารราชการ -- การใช้พลังงาน
การปรับอากาศ
อาคาร -- แสงสว่าง
การใช้พลังงานไฟฟ้า
Issue Date: 2542
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาแสวงหากลยุทธ์การปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้พลังงานไฟฟ้า ที่เหมาะสมในเชิงเทคนิคและเศรษฐศาสตร์เบื้องต้น สำหรับอาคารสำนักงานราชการขนาด 2,460 ตารางเมตร อาคารกรณีศึกษาได้ถูกสำรวจ ประเมิน และวิเคราะห์ สภาวะแวดล้อมด้านอุณหภูมิและการใช้พลังงานในอาคาร แบบจำลองสภาพการใช้พลังงานด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ DOE 2.1 D. นำมาใช้เป็นตัวแทนอาคารกรณีศึกษา เพื่อประเมินผลการใช้พลังงานในอาคาร เมื่อปรับปรุงองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมของอาคารแต่ละวิธี พลังงานไฟฟ้าส่วนใหญ่ของอาคารกรณีศึกษาถูกนำไปใช้ในระบบปรับอากาศ เนื่องจากคุณสมบัติองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมได้แก่ ลักษณะเปลือกอาคารประกอบด้วยผนังทึบ ช่องแสง และการรั่วไหลอากาศผ่านรอยรั่วของหน้าต่าง ที่ไม่สามารถต้านทานการถ่ายเทความร้อนจากภายนอกอาคาร ลักษณะทางกายภาพของอาคารที่มีแผงกันแดดโดยรอบ มีผลดีต่อการลดความร้อน เนื่องจากรังสีดวงอาทิตย์ที่ตกกระทบหน้าต่างช่องแสงอาคาร แต่ทำให้ไม่สามารถนำแสงธรรมชาติเข้ามาใช้ในอาคารได้ ระบบแสงประดิษฐ์ในอาคารเดิมมีค่าการส่องสว่างเฉลี่ย ที่ต่ำกว่ามมาตรฐานในขณะที่ใช้พลังงานไฟฟ้า แสงสว่างเกินกว่าค่ากฎหมายควบคุมอาคารกำหนดไว้ และการจัดวางตำแหน่งอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ใช้ในอาคาร มีผลต่อการเพิ่มความร้อนเนื่องจากอุปกรณ์ไฟฟ้า ในพื้นที่ปรับอากาศส่งผลต่อการเพิ่มภาระปรับเย็นในอาคารเช่นกัน ผลการศึกษาสามารถนำเสนอเป็นแผนกกลยุทธ์ ในการปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้พลังงาน 4 แนวทาง การปรับปรุงอาคารกรณีศึกษาในแต่ละแนวทาง สามารถลดการใช้พลังงานในอาคารได้ร้อยละ 10.18 ถึง 18.56 และมีมูลค่าการลงทุนระหว่าง 411,950 ถึง 1,050,910 บาท โดยมีระยะเวลาคืนทุนไม่เกิน 10 ปี
Other Abstract: To find out an energy efficient strategies for 2,460 square meter government office building with appropriated techniques and economic. The building was surveyed, evaluated, and analyzed in term of thermal environment and energy consumption. Calibrated computer simulation models by computer program DOE 2.1 D. were used as a tool to evaluate each architectural improvement strategy. The result of energy audit indicated that a major electrical energy consumption was from the air-conditioning system, due to the poor properties of opaque wall, fenestration and the tightness of window frames. Although the shading system of the building benefited solar heat gain reduction, it prevented daylight entering into the office spaces. The illumination level from artificial lighting system was inadequate even though the utilization of electrical energy for the lighting system was higher than building code allowed. Also the heat gain from electrical equipments had affected to the cooling load. Four energy efficient strategies were proposed. The annual energy consumption of the building could be reduced from 10.18 to 18.56 percent with investment cost from 411,950 to 1,050,910 Baths. Each strategy had an economical return within 10 years.
Description: วิทยานิพนธ์ (สถ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542
Degree Name: สถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เทคโนโลยีอาคาร
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9509
ISBN: 9743344756
Type: Thesis
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Primlarp_Wa_front.pdf837.89 kBAdobe PDFView/Open
Primlarp_Wa_ch1.pdf833.8 kBAdobe PDFView/Open
Primlarp_Wa_ch2.pdf957.96 kBAdobe PDFView/Open
Primlarp_Wa_ch3.pdf1.11 MBAdobe PDFView/Open
Primlarp_Wa_ch4.pdf1.21 MBAdobe PDFView/Open
Primlarp_Wa_ch5.pdf1.51 MBAdobe PDFView/Open
Primlarp_Wa_back.pdf3.34 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.