Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9550
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ศักดา ธนิตกุล | - |
dc.contributor.author | เศรษฐบุตร มฤทจินดา | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2009-08-04T02:04:37Z | - |
dc.date.available | 2009-08-04T02:04:37Z | - |
dc.date.issued | 2546 | - |
dc.identifier.isbn | 9741758839 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9550 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546 | en |
dc.description.abstract | ในฐานะที่เป็นสมาชิกขององค์การการค้าโลก ประเทศไทยมีพันธกรณีที่จะต้องเปิดเสรีภาคบริการสาขาต่างๆ อย่างต่อเนื่องภายใต้ความตกลงทั่วไปว่าด้วยการค้าบริการ ซึ่งขณะนี้ประเทศไทยได้เปิดเสรีเกี่ยวกับบริการด้านวิทยุและโทรทัศน์ไปแล้วหนึ่งสาขาคือ บริการผลิตรายการวิทยุและโทรทัศน์ โดยยังเหลือบริการส่งสัญญาณวิทยุและโทรทัศน์อีกหนึ่งสาขาที่ไทยยังไม่เปิด หรือแม้แต่บริการผลิตรายการวิทยุและโทรทัศน์ที่เปิดเสรีไปแล้ว ก็อาจถูกร้องขอให้เปิดเสรีเพิ่มมากขึ้นก็เป็นไปได้หากหันมามองปัจจัยภายใน สภาวการณ์ในประเทศไทยในช่วงหลายปีที่ผ่านมา กิจการโทรทัศน์ไทยกำลังอยู่ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อ หรือจุดเปลี่ยนที่สำคัญของการปฏิรูปหรือเปลี่ยนแปลงไปสู่โฉมใหม่ หลังจากที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2540 ได้ถูกประกาศใช้ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2540 ซึ่งมาตรา 40 ของรัฐธรรมนูญฉบับนี้ได้นำไปสู่กระแสความตื่นตัวของภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน ซึ่งส่งผลต่อการขับเคลื่อนและผลักดันการปฏิรูปสื่อโทรทัศน์ตั้งแต่ช่วงปี 2540 เป็นต้นมา อีกด้านหนึ่งที่คู่ขนานไปกับสภาวะการปฏิรูปสื่อโทรทัศน์ภายในประเทศ คือ พัฒนาการและนวัตกรรมใหม่ทางเทคโนโลยีด้านการเปลี่ยนรูปแบบไปสู่ดิจิตอล และการผสานเทคโนโลยีดิจิตอลโทรคมนาคมและการสื่อสารต่างๆ เป็นหนึ่งเดียวกัน ที่รับกระแสมาจากต่างประเทศ ก็จะก่อให้เกิดปัญหาช่องว่างหรือโอกาสการเข้าถึงเทคโนโลยีระหว่างกลุ่มบุคคลต่างๆ ในสังคมมากขึ้นๆ ทุกวัน เมื่อพิจารณากฎหมายภายในประเทศแล้ว พบว่ากรอบทางกฎหมายที่จะกำกับดูแลกิจการสื่อโทรทัศน์ ภายใต้ร่างพระราชบัญญัติการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ. ยังเป็นกรอบที่มีจุดบกพร่อง เนื่องจากไม่สอดคล้องกับความเป็นจริงของโครงสร้างตลาดสื่อโทรทัศน์ในปัจจุบันและในอนาคต ทั้งยังไม่สามารถตอบสนองต่อการปฏิรูปและการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีดังกล่าวได้อย่างมีประสิทธิภาพ การร่างกฎหมายจึงต้องพิจารณาให้รอบด้านถึงเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ พันธกรณีระหว่างประเทศ รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีด้วย | en |
dc.description.abstractalternative | As a member country of the WTO, Thailand has the obligations to liberalize the trade in services progressively under the General Agreement on Trade in Services. Currently, Thailand has opened the market of radio and television services, but programme transmission services market has remained unopened. However, even though the market of radio and television services has already been opened, it may be requested by other member countries to open more. Looking back into domestic situation, Thai television business is stepping to the turning point in the reform or the big change to a new picture. After the Thai Constitution B.E. 2540 has been promulgated in October B.E. 2540, Section 40 thereof woke up all people in the field, whether government sector, private sector or community sector, to react to the reform of television media since B.E. 2542 until now. In parallel with the situation of the television reform in the country, the development and innovation of communication technologies from developing countries, especially "Digitization" and "Convergence", is from day to day bringing about a wider gap for minorities to access to those new technologies, the so-called "Digital Divide". However, when scrutinizing domestic law, it is found that a legal framework of the law to be applied to the regulation of Thai television media i.e. the Draft Broadcasting Act still has many errors because it is not consistent with the real structure of television market, whether currently or in the future. It also does not respond to the reform and the change of technology efficiently. Therefore, in drafting this new law, the lawmaker should take account of all relevant aspects, whether the intention of the Constitution, international obligations or technological change. | en |
dc.format.extent | 4758418 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | โทรทัศน์ -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ | en |
dc.subject | การค้าเสรีและการคุ้มครอง | en |
dc.subject | สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ | en |
dc.title | การปฏิรูปสื่อโทรทัศน์ไทยและกรอบทางกฎหมาย : ศึกษาโครงสร้างและแนวโน้มของตลาด | en |
dc.title.alternative | The reform of Thai television media and legal framework : a study on market structure and trend | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | นิติศาสตรมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | นิติศาสตร์ | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.email.advisor | [email protected], [email protected] | - |
Appears in Collections: | Law - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Setthabut.pdf | 4.65 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.