Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/969
Title: การสื่อความหมาย การสร้างอารมณ์ขัน และสัมพันธบทในการ์ตูนระกากับราณี
Other Titles: Signification, humour construction and intertextuality in Raka Kab Ranee cartoon
Authors: พุทธชาด สุขรอด, 2521-
Advisors: อวยพร พานิช
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์
Advisor's Email: [email protected]
Subjects: การ์ตูน--แง่สังคม
อารมณ์ขัน
สัญศาสตร์
การเชื่อมโยงเนื้อหา
Issue Date: 2545
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยเอกสารหลักที่ศึกษาคือการ์ตูนการเมือง "ระกากับราณี" ซึ่งตีพิมพ์ลงในนิตยสารมติชนสุดสัปดาห์ วัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อศึกษากลวิธีการสื่อความหมาย ค้นหากลวิธีการสร้างอารมณ์ขัน และศึกษาสัมพันธบทระหว่างการ์ตูนการเมืองระกากับราณี และแบบเรียนเร็วใหม่ เล่ม 1 ตอนต้น ผลการวิจัยสรุปได้ว่า (1) การ์ตูนการเมืองระกากับราณี ประกอบด้วยแก่นเรื่องแสดงทัศนะเกี่ยวกับสังคมมากที่สุด โดยภาษาที่ใช้เป็นภาษาในลักษณะไม่เป็นทางการ ใช้สื่อสารทั่วไปในชีวิตประจำวัน (2) ในเชิงสัญญวิทยา พบการใช้ทั้ง Metaphor และ Metonymy รวมทั้งปรากฏรหัสทางสังคมประเภท Games มากที่สุด (3) ในเชิงสัญญศาสตร์วรรณกรรม พบประพันธกรรมในลักษณะการล้อเลียนแฝงความตลกขบขันมากที่สุด และประกอบด้วยความหมายแฝงที่อิงอยู่กับรหัสสัญลักษณ์มากที่สุด (4) ในเชิงโครงสร้างนิยม สามารถแบ่งโครงสร้างที่พบได้เป็น 3 แบบคือ การตั้งคำถามเพื่อใช้คำถามเป็นเครื่องแสดงสภาวการณ์ของสังคม การตั้งคำถามเพื่อใช้คำตอบเป็นเครื่องแสดงสภาวการณ์ของสังคม และการใช้คำอธิบายเป็นเครื่องแสดงสภาวการณ์ของสังคม (5) ในส่วนของกฏเกณฑ์ พบกฏเกณฑ์ทั้งหมด 4 ข้อคือ เด็กไม่มีความผิดเสมอ นักการเมืองเป็นคนไม่ดีเสมอ ใช้หางดาบซึ่งเป็นสุนัขที่มีความคิดและสามารถพูดได้เหมือนมนุษย์ เป็นสื่อกลางเมื่อต้องการแสดงความคิดเห็นรุนแรง และสุดท้ายคือประเด็นปัญหาหรือความขัดแย้งใดๆ ก็ตามที่ปรากฏในการ์ตูน จะไม่มีการเปิดเผยโดยตรงว่าใครเป็นต้นเหตุ ในส่วนของการสร้างอารมณ์ขัน พบการเล่นตลกกับเรื่องในชีวิตประจำวันมากที่สุด และสามารถแบ่งกลวิธีการสร้างอารมณ์ขันออกได้เป็น 10 กลวิธี โดยกลวิธีที่พบมากที่สุดคือ การแสดงความจริงในอีกแง่มุมหนึ่งที่มักถูกมองข้ามหรือซ่อนเร้นอยู่ออกมา ในส่วนของสัมพันธบท สามารถแบ่งได้เป็น 8 ข้อคือ (1) การ์ตูนได้พลิกประเด็นจากในแบบเรียน ที่มุ่งสอนเด็กไปสู่การมุ่งสอนผู้ใหญ่ (2) การ์ตูนได้สลายลักษณะ "อุดมคติ" ของผู้ใหญ่ในแบบเรียน (3) ความถูกต้องในสังคมได้พลิกกลับจากผู้ใหญ่ในแบบเรียนไปสู่เด็กในการ์ตูน (4) การ์ตูนได้แสดงค่านิยมที่เปลี่ยนไปเกี่ยวกับรางวัลที่เด็กจะได้รับเมื่อประพฤติดี (5) การ์ตูนได้สลายอุดมคติ "ครอบครัวสุขสันต์" ที่ปรากฏในแบบเรียน (6) ลักษณะอุดมคติของสังคมในแบบเรียน ได้พลิกกลับจากแง่บวกกลายเป็นแง่ลบในการ์ตูน (7) การ์ตูนได้สลายอุดมคติ "ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว" ที่ฝังอยู่ในแบบเรียน (8) การ์ตูนได้พลิกกลับลักษณะการหวนหาอดีตที่ปรากฏในแบบเรียน
Other Abstract: This qualitative research used "Raka kab Ranee" political cartoon that printed on Weekly Matichon magazine. The research objective is to study significance, humour techniques and intertextuality between Raka kab Ranee political cartoon and New Speedy Textbook vol. 1. The result can be concluded that (1) Most of the themes of cartoon are concerned society. (2) In the way of semiology, both of metaphor and metonymy was used and the social codes "Games" was used the most. (3) In the way of literary semiotics, the parody ecriture was used the most and most of connotations was based on symbolic code. (4) In the way of strucuralism, three structures was found, To ask questions is for reflecting the current situation of the society, To ask questions and answers can reflect the current situation of the society. The explaination can reflect the current situation of the society. In the way of rules, it can be characterized in 4 points, childrens are always right, politicians are always dishonest, dog named "Hangdarp"which can think and talk like human is used for representing fierce criticism, finally, no matter what the problem is about, cartoon will not show who is the cause of the problem. In the way of humour techniques, humour about human lifestyles was used the most. Humour techniques can be characterized in 10 different techniques. To show the other side of the situation that is often overlooked is the technique that is used the most. In the way of intertextuality, it can be characterized in 8 points, (1) The cartoon has changed the objective of teaching children to teaching grown-ups. (2) The cartoon destroys the type of ideology of grown-ups in the textbook. (3) The social rightfulness divert from grown-ups in the textbook to children in the cartoon. (4) The cartoon shows the change of values in children when receiving prize for their good deeds. (5) The cartoon destroys family values in the textbook. (6) The social ideology in the textbook divert from positive to negative in the cartoon. (7) The cartoon destroys principle of "What you do is what you get" in the textbook. (8) The cartoon changes the way of thinking back in the textbook.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วาทวิทยา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/969
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2002.484
ISBN: 9741722028
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2002.484
Type: Thesis
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Phuttachard.pdf24.7 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.