Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9792
Title: | การเปรียบเทียบผลของการฝึกเต้นรำแบบบอลรูมกับแบบละตินอเมริกันที่มีต่อสมรรถภาพทางกายของนักเรียนมัธยมศึกษา |
Other Titles: | A comparison of the effects of ballroom dance and Latin American dance training on physical fitness of secondary school students |
Authors: | จิตรา หมั่นเฮง |
Advisors: | เฉลิม ชัยวัชราภรณ์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
Advisor's Email: | [email protected] |
Subjects: | การเต้นรำ สมรรถภาพทางกาย การเต้นรำแบบบอลรูม |
Issue Date: | 2544 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบผลของการฝึกเต้นรำแบบบอลรูมกับแบบละตินอเมริกันที่มีต่อน้ำหนัก ชีพจรขณะพัก ความดันโลหิตขณะหัวใจบีบตัวและคลายตัวขณะพัก แรงบีบมือ พลังกล้ามเนื้อหลัง พลังกล้ามเนื้อขา ความอ่อนตัว ความจุปอด ความสามารถในการทรงตัว ปฏิกิริยาตอบสนองต่อเสียง เปอร์เซ็นต์ไขมันในร่างกาย และสมรรถภาพการจับออกซิเจน สูงสุด กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการบางใหญ่ที่มีสุขภาพดี อาสาสมัครเข้าร่วมการทดลองครั้งนี้ จำนวน 60 คน โดยแบ่งเป็น 3 กลุ่ม ๆ ละ 20 คน ชาย 10 คน หญิง 10 คน โดยใช้วิธีการจับคู่จากการทดสอบสมรรถภาพการจับออกซิเจนสูงสุด กลุ่มที่ 1 กลุ่มควบคุม (ไม่มีการฝึกใด ๆ) กลุ่มที่ 2 กลุ่มฝึกเต้นรำแบบละตินอเมริกัน และกลุ่มที่ 3 กลุ่มฝึกเต้นรำแบบ บอลรูม ใช้เวลาในการทดลอง 12 สัปดาห์ ๆ ละ 3 วัน ครั้งละหนึ่งชั่วโมงโดยฝึกให้อัตราการเต้นของหัวใจอยู่ในช่วงเป้าหมาย ครั้งละ 20 นาทีติดต่อกันทำการทดสอบสมรรถภาพทางกาย ก่อนการทดลอง หลังการทดลอง 6 สัปดาห์และหลังการทดลอง 12 สัปดาห์ แล้วนำผลที่ได้มาวิเคราะห์ตามวิธีทางสถิติ หาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One - way Analysis of Variance) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวแบบวัดซ้ำ (One - way Analysis of Variance with Repeated Measurement ) การวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วมทางเดียว (One - way Analysis of Covariance) และเปรียบเทียบความแตกต่างเป็นรายคู่ตามวิธีของ ตูกี (เอ) (Tukey's a) ที่ระดับนัยสำคัญ .05 ผลการวิจัยพบว่า 1. การเปรียบเทียบการพัฒนาระหว่างกลุ่มการฝึกเต้นรำลีลาศแบบบอลรูมกับแบบละตินอเมริกัน หลังการทดลอง 12 สัปดาห์ มีผลทำให้สมรรถภาพทางกายบางตัวแปรดีขึ้น อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 1.1 เพศชาย สมรรถภาพทางกาย ด้านความสามารถในการทรงตัวของกลุ่มฝึกเต้นรำแบบบอลรูม มีการพัฒนาดีขึ้นกว่า กลุ่มฝึกเต้นรำแบบละตินอเมริกัน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 1.2 เพศหญิง สมรรถภาพทางกาย ด้านความดันโลหิตขณะหัวใจบีบตัวขณะพัก ของกลุ่มฝึกเต้นรำแบบบอลรูม ดีขึ้นกว่ากลุ่มฝึกเต้นรำแบบละตินอเมริกัน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 2. การเปรียบเทียบการฝึกเต้นรำลีลาศ ภายในแต่ละกลุ่ม ของกลุ่มควบคุม กลุ่มฝึกเต้นรำแบบบอลรูม และกลุ่มฝึกเต้นรำแบบ ละตินอเมริกัน ก่อนการทดลอง หลังการทดลอง 6 สัปดาห์ และหลังการทดลอง 12 สัปดาห์พบว่า สมรรถภาพทางกายบางตัวแปรดีขึ้น อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 2.1 เพศชายสมรรถภาพทางกาย ทุกตัวแปรของแต่ละช่วงของการทดลองของกลุ่มควบคุมและกลุ่มฝึกเต้นรำแบบละติอเมริกัน ไม่มีความเปลี่ยนแปลงแตกต่างกัน ส่วนในกลุ่มบอลรูม พบว่า ความดันโลหิตขณะหัวใจบีบตัวขณะพัก มีการพัฒนาดีขึ้นตั้งแต่หลังการทดลอง 12 สัปดาห์ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ0.5 เพศหญิงสมรรถภาพทางกาย ทุกตัวแปรของแต่ละช่วงของการทดลองของกลุ่มควบคุมไม่มีความเปลี่ยนแปลงแตกต่างกัน แต่ในกลุ่มละตินอเมิกัน พบว่าชีพจรขณะพัก และความสามารถในการทรงตัวมีการพัฒนาดีขึ้น หลังจากทดลอง 12 สัปดาห์ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนในกลุ่มบอลรูม พบว่า ชีพจรขณะพัก ปฏิกริยาตอบสนองต่อเสียง และเปอร์เซ็นต์ไขมันในร่างกาย มีการพัฒนาดีขึ้นตั้งแต่หลังการทดลอง 6 สัปดาห์ ส่วนความดันโลหิตขณะหัวใจบีบตัวและคลายตัวขณะพัก แรงบีบมือและความสามารถในการทรงตัวมีการพัฒนาดีขึ้น หลังการทดลอง 12 สัปดาห์ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 |
Other Abstract: | The purposes of this research were to study and compare the effects of ballroom dance and Latin American dance training upon the selected physical fitness variables. The subjects were 60 healthy volunteered male and female secondary school students of Triamudom Suksa Patthanakarn, Bangyai. They were equally divided into three groups by matched group from maximum oxygen uptake testing results: the control group, the Latin American dance group and the ballroom dance group. The experimental groups danced for 20 minutes a day and 3 days a week for 12 weeks. The physical fitness were measured before and after 6 weeks and 12 weeks in all groups. The obtained data were then statistically analyzed in term of means and standard deviations, one - way analysis of variance, one - way analysis of covariance, one - way analysis of variance with the repeated measure, and Tukey (a) method was employed to determine the significant difference at the .05 level, respectively. The results were as follow: 1. A comparison after the 12 weeks of training showed that : 1.1 In male group, balance in the ballroom dance group was significantly better than the Latin American dance group at the. 05 level. 1.2 In female group, resting blood pressure (systolic) in the ballroom dance group was significantly lower than the Latin American dance group at the. 05 level. 2. A comparison within group before, after 6 weeks and 12 weeks of training showed that : 2.1 In male group; after 6 weeks and 12 weeks of training, there were no significant differences in all physical fitness variables of the control group and Latin American dance group. However, in the ballroom dance group, resting blood pressure (systolic) was significantly lower after 6 weeks of training, resting blood pressure (diastolic) and balance were significantly better after 12 weeks of training at the. 05 level, respectively. 2.2 In female group; after 6 weeks and 12 weeks of training, there were no significant differences in all physical fitness variables of the control group. However, in the Latin American dance group, resting heartrate and balance were significantly better after 12 weeks of training at the. 05 level. In the ballroom dance group, resting heartrate, reaction time (sound), and percent body fat were significantly lower after 6 weeks of training and resting blood pressure (systolic and diastolic), handgrip strength, and balance were significantly better after 12 weeks of training at the. 05 level, respectively. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544 |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | พลศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9792 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2001.561 |
ISBN: | 9740309658 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2001.561 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Chittra.pdf | 7.45 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.